ชื่อท้องถิ่น


หมากแดง (แม่ฮ่องสอน) ; อำเปียล (เขมร) ; มะขามไทย,ม่วงโคล้ง (กระเหรี่ยง - กาญจนบุรี) ; ตะลูบ(ชาวบน - โคราช) ; ขาม(ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tamarindus indica L.

วงศ์

LEGUMINOSAE (FABACEAE) CAESALPINIOIDEAE

ชื่อสามัญ

Tamarind

ลักษณะ

เป็นไม้ต้น สูง 15 - 25 เมตร ลำต้นขรุขระ เปลือกต้นสีเทาเกือบดำ แตกกิ่งก้านมากมาย ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-1.5 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง มีลายม่วงแดง
ผล  เป็นฝักสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา รูปฝักเมื่อยังอ่อนจะแบนยาว เมื่อฝักแก่ขึ้นจะกลมยาว เนื้อแข็งเป็นสีขาวนวลอมเขียว และเปลือกจะติดแน่นเนื้อ ฝักเมื่อแก่จัดมากๆ เนื้อในฝักจะฝ่อลงไม่ติดกับเปลือก เนื้อจะนิ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเรียกว่ามะขามเปียกมีทั้งรสหวานและเปรี้ยว ช่วงนี้เปลือกฝักจะเปราะและแตกง่าย ขนาดฝักเมื่อโตเต็มที่จะกว้างราว 2 - 3 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลราว 3 - 12 เมล็ด

ขยายพันธุ์

ด้วยเมล็ด การใช้กิ่งทาบกิ่ง ติดตา หรือ ตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เมล็ด, ดอก, ใบ, เนื้อในฝัก, ราก, เปลือก

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

เนื้อในฝักที่แก่จัด มีกรดอินทรีย์ คือ กรดทาร์ทาริก ,กรดมาลิก และกรดซิตริก

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

 ถ่ายพยาธิ : เอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกระเทาะเปลือก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช้น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เมล็ด

 ลดความดัน : นำดอกสด ไม่จำกัด ใช้แกงส้ม หรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน

 ท้องผูก : ใช้เนื้อมะขามเปรี้ยวในฝักที่แก่จัด 10 - 20 ฝัก (70 - 80 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน หรือ ดื่มน้ำตามมากๆ หรือ คั้นน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม

 แก้หวัด : ต้มน้ำให้เดือดพลั่ก ทุบหัวหอมสัก 7 - 8 หัว ใบมะขามอ่อนและแก่ ลงไป พอควันขึ้นก็เอาผ้าขนหนูผืนใหญ่คลุมทั้งหัวและหม้อหัวหอม ใบมะขาม สูดเข้าสูดออกสัก 5 นาที ระวังอย่าสูดไอร้อนๆอย่างเดียวตลอด พอร้อนทนไม่ไหวก็เอาผ้าคลุมออก เอาผ้าคลุมสูดใหม่ จนพอใจ เติมน้ำเย็นลงไปในหม้อกลายเป็นน้ำอุ่นๆ เอาหัวหอมกับใบมะขามโกรกหัวหลายๆ ครั้ง

 ท้องเดิน : รากมะขาม 1 กำมือต้มกับน้ำพอประมาณ จนเดือดแล้วดื่ม 1 ถ้วยกาแฟ ก็จะบรรเทาอาการ

 เริมและงูสลัด : เอาเปลือกมาฝนฝาละมีหม้อดินกับน้ำทาแผล

 ไอ และมีเสมหะ : ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประท่นพอสมควร

ข้อควรระวัง

รับประทานมากไปอาจทำให้ท้องเสียได้

มะเกลือ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มะขามแขก