ชื่อท้องถิ่น |
มักเกลือ(ตราด), เกลือ, ผีเผา, มะเกีย, หมากเกือ, มาเกือ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Diospyros mollis Griff |
วงศ์ |
EBENACEAE |
ชื่อสามัญ |
Ebony Tree |
ลักษณะ |
เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 30 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำแตกสะเก็ดเล็ก ๆ
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียว ผิวใบเรียบป็นมัน ดอกออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อสั้น ๆ ประมาณ 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง
ผลเป็นผลสด รูปกลมเกลี้ยง ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีดำ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ที่ขั้วผล |
การขยายพันธ์ |
โดยการเพาะเมล็ด |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ผลดิบสด |
สารเคมีและสาร อาหารที่สำคัญ |
ไดออสไพรอล(diospyrol) ซึ่งเป็นสารพวก naphthalene เป็นยาต้านเชื้อในทางเดินอาหาร และถ่ายพยาธิ |
สรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
ถ่ายพยาธิ : ใช้ผลมะเกลือดิบสด ไม่ช้ำไม่ดำ จำนวนเท่าอายุของคนไข้ในเด็ก10 ปี ใช้ 10 ผล แต่สูงสุดไม่เกิน 25 ผล(คนไข้ที่อายุเกิน 25 ปี ก็ใช้เพียง 25 ผล)
ตำให้แหลกกรองเอาเฉพาะน้ำผสมหัวกะทิ ประมาณ 2 ช้อนชา ต่อมะเกลือ 1 ผล (กะทิช่วยกลบรสเฝื่อน) ควรรับประทานขณะท้องว่าง รับประทานครั้งเดียวให้หมด ถ้าภายใน 3 ชั่วโมงไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำยาดีเกลือโดยใช้ผงดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะละลายน้ำประมาณครึ่งแก้ว เพื่อระบายตัวยาออกมาด้วย เพราะหากตัวยาค้างอยู่ในลำไส้จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดจนถึงระดับที่เป็นพิษได้
|
ข้อควรระวัง |
บุคคลต่อไปนี้ ห้ามถ่ายพยาธิด้วยมะเกลือ
เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดยังไม่เกิน 6 สัปดาห์
ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารเป็นแผลหรือมีอาการปวด ท้อง ถ่ายผิดปกติบ่อย ๆ
ผู้ที่กำลังเป็นไข้ตัวร้อน
การเตรียมยาต้องใช้ผลดิบ เตรียมแล้วรับประทานทันที
ไม่ควรเตรียมยาครั้งละมาก ๆ ควรแบ่งการเตรียมเป็นครั้งละน้อย ๆ การบดยาควรใช้วิธีการตำเพราะการใช้เครื่องบดไฟฟ้าจะทำให้ละเอียดมาก มีสารสำคัญละลายออกมากเกินไป และหากจะรินยาแบ่งใช้ ก่อนรินต้องคนยาให้กระจายตัว อย่าให้ยาตกตะกอนนอนก้นขณะรินยา
บางคนอาจแพ้ยานี้ ทำให้เกิดท้องเดินหลาย ๆ ครั้ง ตามัว ถ้ารุนแรงก็อาจถึงตาบอดได้ (มีน้อยราย) ถ้าเกิดอาการดังกล่าว ให้พาไปหาหมอด่วน
|