![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น |
ฟ้าทะลาย น้ำลายพังพอน, สามสิบดี (ร้อยเอ็ด), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง), เมฆทะลาย (ยะลา), คีปังฮี,ชวงชิมน้อย, โข่งเช่า (จีน) ขุนโจรห้าร้อย ยากันงู |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees |
วงศ์ |
ACANTHACEAE |
ชื่อสามัญ |
Kariyat, The Creat |
ลักษณะ |
เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 30-60 ซม. ลำต้นตั้งตรงเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม ดอกออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ เป็นดอกเล็ก ๆ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลับ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝักแบนสีเขียวอมน้ำตาล มีร่องลึกตามยาว ฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีหลายเมล็ด |
การขยายพันธุ์ |
โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ทั่วไปในดินทุกชนิด ปลูกได้ทุกฤดูกาล การปลูกควรปรับดินให้เรียบ หยอดเมล็ดลงในดินและกลบให้เรียบร้อย รดน้ำให้ชุ่ม |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ใบ หรือ ทั้งต้น (ตัดรากทิ้ง) |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
เป็นสารรสขมชื่อ แอนโดรกราโฟรไลด์ (andrographolide) และพานิโคไลด์ (panicolide) เถ้าของฟ้าทะลายโจรมีสารโปตัสเซียมสูง |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() ![]() เอาใบตากแดดให้แห้งใส่ขวดผสมกับเหล้าขาว แช่ให้ท่วมยาเล็กน้อยเขย่าขวดหรือคนยา วันละ 1 ครั้ง จนครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ![]() ![]() ![]() |
ข้อควรระวัง |
|
ฟักทอง | ![]() |
![]() |
![]() |
มะเกลือ |