ชื่อท้องถิ่น

พลูจีน(ภาคกลาง), ซีเก้อ, พลูเป้ายวน, ซีเก(ใต้), พลู(ทั่วไป), ปู(พายัพ), ซีเกะ(นราธิวาส), กื่อเจี่ย(แต้จิ๋ว), จวี้เจี้ยง(จีนกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper betle Linn.

วงศ์

PIPERACEAE

ชื่อสามัญ

Betel Vine

ลักษณะ

ูเป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง เลื้อยไปตามค้าง เกาะโดยใช้รากฝอยที่แตกตามข้อ ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 8-12 ซม. ยาว 12-16 ซม. ปลายใบแหลม หน้าใบมัน ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะ รสเผ็ดร้อน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอก แยกเพศ สีขาว ผล เป็นผลสดกลมเล็กเบียดอยู่บนแกน ใน 1 ผล จะมีเพียงเมล็ดเดียว พลูมีหลายพันธุ์ เช่นพลูเหลือง พลูทองหลาง

การขยายพันธุ์

ใช้วิธีปักชำ โดยตัดเถาพลูเป็นท่อน แต่ละต้นให้มีข้อ 3 - 5 ข้อ โดยใช้ส่วนที่เป็นเถาแก่ นำไปปักชำบริเวณที่มีความชื้น ปักชำจนรากออกดีแล้วจึงย้ายลงปลูกในหลุม ควรหาหลักให้เถาเลื้อยขึ้นไป โดยใช้ไม้ปัก หรือปลูกพืชโตเร็ว คอยดูแลความชุ่มชื้น มีการระบายน้ำที่ดี ใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบสด

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ประกอบด้วย chavicol ,chavibitol, cineol, eugenoi, carvacrol, caryophyllene และ B-sitosterol

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   รักษาอาการคัน เนื่องจากลมพิษหรือแมลงกัดต่อย : ใช้ใบสด 1 -2 ใบ (ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่) ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น (ห้ามใช้กับแผลเปิดเพราะจะทำให้แสบมาก) หรือใช้ใบพลูขยี้ทาบริเวณที่เป็นก็ได้


   แก้โรคผิวหนัง กลาก : ใช้ใชสด 3 -4 ใบขยี้หรือตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อย คั้นเอาน้ำทา หรือใช้ทั้งน้ำและกากทาบริเวณที่คันหรือเป็นกลากทาอย่างน้อยวันละ 3 -4 ครั้ง นาน 3 -4 อาทิตย์ เมื่อทายาไม่ควรให้โดนลมควรใส่เสื้อปิดไว้


   แก้เล็บขบ ปวดบวมจนเล็บถอด : ใช้ใบพลูสด 1 - 2 ใบ ตำกับเกลือ 1 -2 หยิบมือ ใส่น้ำพอชุ่มพอกแผล (ถ้าแผลปิดปากตกสะเก็ดมีหนองข้างในต้องล้างหรือขูดหนองออกก่อน)

ข้อควรระวัง

ชาวเอเซียและอัฟริกานิยมใช้ใบพลูเคี้ยวกับหมากและปูน นับเป็นยาเสพติดชนิดอ่อน เช่นเดียวกับบุหรี่

พญาปล้องทอง สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน เพกา