ชื่อท้องถิ่น

พญายอ, เสลดพังพอนตัวเมีย, พญาปล้องดำ, ผักลิ้นเขียด, ผักมันไก่, ลิ้นมังกร (เชียงใหม่), พญาปล้องคำ (ลำปาง), โพะไซ่จ้าง (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau

วงศ์

ACANTHACEAE

ชื่อสามัญ

 

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มแกมเลื้อย สูง 1-3 เมตร ลำต้นกลมผิวเรียบเป็นปล้อง สีเขียว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผล เป็นผลแห้ง แตกได้ มีลักษณะเป็นฝักมี 4 เมล็ด

การขยายพันธุ์

ใช้ลำต้นปักชำ โดยเลือกกิ่งที่แก่ ตัดกิ่งละประมาณ 1-2 คืบ ปักชำให้ออกราก แล้วย้ายลงปลูกในแปลง ดูแลรักษาเช่นเดียวกับพืชทั่วไป

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบสด

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

ประกอบด้วย Lupeol, B-sitosterol, stimasterol, flavonoid

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

 แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย อาการอักเสบที่เกิดจากเริม และงูสวัด : ใช้ใบสด 5-10 ใบ ขยี้หรือตำให้ละเอียด แล้วนำมาทาทับบริเวณที่เกิดอาการ
        ใช้ใบสด 1 กิโลกรัม ต่อเหล้าขาว 1 ลิตร คนให้บ่อย ๆ ให้ตัวยาละลาย ใช้ใบแห้ง 1 กิโลกรัม ต่อเหล้าขาว 4 ลิตร ใส่ขวดโหลดองทิ้งไว้ แล้วนำมาทาทับบริเวณที่เกิดอาการ


 แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก : ใช้ใบสดตำ เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวน้ำมันงา เอากากพอกแผล แผลจะแห้ง

ข้อควรระวัง

ควรใช้ใบสด และใช้เฉพาะที่ เพราะสารเคมีที่ออกฤทธิ์ในใบไม่คงตัว ฤทธิ์จะลดลงตลอดเวลา และหมดไปภายใน 1 ปี

ฝรั่ง สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน พลู