![]() |
![]() |
ชื่อท้องถิ่น | ดอกคำ, คำ, คำยอง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Carthamus tinctorius Linn. |
วงศ์ |
COMPOSITAE (ASTERACEAE) |
ชื่อสามัญ |
Safflower, american Saffron |
ลักษณะ |
เป็นพืชล้มลุก สูงราว 50-150 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสันเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดอก ออกรวมกันเป็นช่อที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้งไม่แตกมีรูปคล้ายไข่กลับเบี้ยวๆ ขนาดผลยาว 0.6-0.8 เซนติเมตรสีขาวงาช้าง ปลายตัด มีสัน 4 สัน มีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก |
การขยายพันธ์ |
เมล็ด โดยการเพาะเมล็ด นำเมล็ดแช่น้ำไว้ 1-2 คืน แล้วหยอดลงในดินลึก 2-3 ซม. ห่างกัน 30-40 ซม. กลบดินให้เรียบรดน้ำให้ชุ่ม ไม่นานก็จะงอก ควรปลูกต้นฤดูหนาว และคอยดูแลกำจัดวัชพืช |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ดอก |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
กลีบดอก ประกอบด้วยสารสีแดงชื่อ carthamin และสารสีเหลืองชื่อ แซฟฟลาวเวอร์เยียลโลว์ safflower yellow ละลายน้ำได้ เมล็ด มีน้ำมันประมาณร้อยละ 20-30 ซึ่งในน้ำมันประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด เช่นกรดเมอริสติก myristic acid กรดปาล์มิติก palmitic acid และกรดไลโนเลอิก linoleic acid |
สรพคุณทางยาและวิธีใช้ |
![]() |
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|
ข้อควรระวัง |
ดอกคำฝอยมักใช้ปนปลอมในหญ้าฝรั่น เนื่องจากมีสีและลักษณะคล้ายกัน แต่ราคาถูกกว่าหญ้าฝรั่นมาก |
ขี้เหล็ก | ![]() |
![]() |
![]() |
คำแสด |