|
|
 |
ถ้ำตลอด
|
วัดไตรวิทยาคม |
วัดถ้ำใหญ่ |
แหล่งโบราณคดีถ้ำช้างเขาสำโรง (วัดสำโรง)
|
แหล่งโบราณคดีเขาเทียมป่า
แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาพลู
|
ถ้ำไม่มีชื่อใกล้ถ้ำแรด |
|
แหล่งโบราณคดีถ้ำช้างเขาสำโรง |
|
ที่ตั้ง |
หมู่ที่
6 ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ประวัติ |
จากการสอบถามได้ความว่าแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นวัดร้าง
ต่อมาจึงได้ตั้งเป็นวัดเขาสำโรง (วัดเขาโหฺมฺรง) เมื่อราว 70
ปีที่ผ่านมา (พระครูรัตนพิศาล : ให้สัมภาษณ์ 2529)
วัดแห่งนี้มีลายแทงปริศนาโบราณความว่า |
"วัดโหฺมฺรง |
ยังมีถ้ำช้าง |
ทั้งลึกทั้งกว้างได้ 15 วา |
|
มีรอยมีกูบ |
มีรูปคชา |
วัดเข้าสามศอก |
วัดออกสามวา |
มีพระปัญญา |
ผินหน้าลงตก" |
|
|
|
บริเวณที่เรียกว่าถ้ำช้างนั้นพบว่าถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำอยู่ในภูเขาหินปูน
อยู่สูงจากระดับ น้ำทะเลประมาณ 30-40 เมตร
หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยทางขึ้นมีถ้ำมีสภาพเป็นเพิงหิน ภายในถ้ำแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
มีรายละเอียดดังนี้ |
1.
ห้องทางด้านทิศตะวันตก เป็นห้องโล่งๆ ตัวถ้ำกว้างประมาณ 30
เมตร ลึกประมาณ 7-9 เมตร ลักษณะของเพดานถ้ำโค้ง
พื้นถ้ำมีความลาดเอียงจากด้านเหนือลงมาด้านใต้
พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย |
2.
ห้องทางด้านทิศตะวันออก เป็นห้องที่เชื่อมต่อจากห้องแรก
โดยทางเชื่อมเป็นทางลาดลงมาทางทิศตะวันออก
ห้องนี้จึงมีระดับต่ำกว่าห้องแรก ลักษณะเพดานถ้ำโค้งยาวประมาณ
15 เมตร กว้างประมาณ 5 เมตร และลึกประมาณ 37 เมตร
พื้นถ้ำมีความเรียบมากกว่าถ้ำแรก
พบเศษหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปและพบเศษภาชนะดินเผาประปราย
พบโบราณวัตถุประเภทต่างๆ ดังนี้ คือ |
1.
เศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ
มีทั้งแบบผิวเรียบ แบบลายเชือกทาบ และลายกดประทับ |
2.
เศษภาชนะดินเผาเคลือบเขียวไข่กา |
3.
พระพุทธรูปศิลปพม่าสมัยหลัง ทำด้วยหินขาว (alabaster)
ประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญในปัจจุบัน |
ปัจจุบันทางวัดได้ทำบันไดทางขึ้นถ้ำ
เพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้นไปชมภายในถ้ำ
และบริเวณลานเพิงฝาปากากถ้ำได้มีการลาดปูนซีเมนต์และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ |
สิ่งสำคัญ |
1.
เศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ
มีทั้งแบบผิวเรียบ แบบลายเชือกทาบ และลายกดประทับ |
2.
ชิ้นส่วนขาหม้อสามขา |
3.
เศษภาชนะดินเผาเคลือบเขียวไข่กา |
4.
กระดูกและฟันสัตว์ |
5.
พระพุทธรูปศิลปพม่าสมัยหลัง ทำด้วยหินขาว (alabaster)
ประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญในปัจจุบัน |
6.
พระไสยาสน์ ปูนปั้น ทาสีทอง ยาว 9.70 เมตร สูง 2.40 เมตร หนา
1.50 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานบริเวณเพิงผา
ใกล้ถ้ำช้าง |
การกำหนดอายุสมัย |
ก่อนประวัติศาสตร์,อยุธยา,รัตนโกสินทร์ |
การประกาศขึ้นทะเบียน |
ยังไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน |
ประวัติการอนุรักษ์ |
พ.ศ.
2529 โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคใต้) สำรวจ |
พ.ศ.
2552 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช
ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการขุดดินและหินในถ้ำใกล้ถ้ำช้างเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว |
|
 |