ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพธรณีวิทยา
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีธรณีสันฐานเป็นเทือกเขาสูงที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช ที่ทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือใต้ต่อเนื่องมาทางใต้ของเทือกเขาหลวงขนานไปกับชายฝั่งตะวันออก อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาพระสุเมรุ (ยอดเขาเหมน) สูงประมาณ 1,236 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ของเทือกเขาส่วนใหญ่จะมีระดับความสูงอยู่ในระหว่าง 200 - 1,000 เมตร ประกอบด้วย เขาหลวง เขาโยง เขาทง เขาเขมร เขาวังหีบ เขาพระ เขาเหม็น เขาลายเบิก เขาลำโรม เขาคูหา เขาห้วยมุด เขาปากแพรก เขาถ้ำ และควนทัง
|
ชนิดของหิน
หินอัคนี
- พื้นที่เกือบทั้งหมดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงเป็นหินชนิดที่ประกอบด้วย หินไบโอไทต์มัสโคไวต์แกรนิต หินแกรนิตชนิดเนื้อดอก หินฮอร์เบลนด์แกรนิต และพนังหินเพกมาไทต์ พบในพื้นที่เขาวังหีบ เขาโยง เขาปากแพรก และเขาห้วยมุด โดยปรากฎเป็นหย่อม ๆ กระจัดกระจายจากตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงลงมาตอนใต้
หมู่หินตะรุเตา
- ยุคแคมเบรียนออร์โตวิเชียน เป็นยุคแรกถึงยุคที่ 2 ของมหายุคทาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 570 - 437 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มพบซากสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง หมู่หินตะรุเตานี้ประกอบด้วย หินทรายสีเทาอมน้ำตาล สีน้ำตาล และสีน้ำตาลปนเหลือง หินดินดาน และหินควอร์ดไซด์ โดยมีหินพิลไลด์ แทรกสลับบางแห่งจะพบหินทราย และดินดานสีแดง ซึ่งมีซากบรรพชีวิน พบกระจายเป็นหย่อม ๆ บริเวณเขาวังหีบ และเขาห้วยมุด
หินทุ่งสง
- ยุคออร์โดวิเซียน เป็นยุคที่ 2 ของมหายุคทาลีโอโซอิกอยู่ระหว่างยุคแคมเบลี่ยน กับ ยุคโซลูเวียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 500 - 437 ล้านปีมาแล้ว ยุคนั้นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง หมู่หินทุ่งสงประกอบด้วย หินปูนสีเทาแก่ชั้นบางถึงหนามาก มีเนื้อดินเป็นชั้นบาง ๆ แทรกและหินดินดานสีน้ำตาลมีซากแบรคิโอพอด พบบริเวณ เขาเหมน ควนทัง และบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองจังกับคลองวังหีบ ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงจะพบแร่ดีบุกในบริเวณเขาห้วยมุด ทางตินใต้ของอุทยาน
|
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะแนวเทือกเขาหลวงซึ่งต่อเนื่องมายังเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตั้งอยู่ในเขตร้อนบริเวณใกล้เคียงเส้นศูนย์สูตรขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทยางด้านตะวันออก และมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลตลอดปี เป็นภูมิอากาศแบบโซนร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22.8 - 31.1 องศาเซลเซียส ซึ่งในแต่ละเดือนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมากนัก จากสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดฤดูกาล 2 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน
อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนเมษายน ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อน และอากาศจะร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม
ตารางแสดงอุณหภูมิเฉลี่ยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2539 - 2543
( สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครศรีธรรมราช )
เดือน / ปี |
อุณหภูมิ |
รวม |
เฉลี่ย |
2539 |
2540 |
2541 |
2542 |
2543 |
มกราคม |
26.10 |
25.75 |
27.42 |
25.89 |
25.81 |
130.97 |
26.19 |
กุมภาพันธ์ |
26.14 |
27.29 |
28.04 |
26.26 |
26.15 |
133.88 |
26.77 |
มีนาคม |
27.54 |
27.75 |
31.00 |
27.92 |
27.22 |
141.43 |
28.28 |
เมษายน |
28.78 |
27.71 |
30.65 |
27.79 |
27.65 |
142.53 |
28.52 |
พฤษภาคม |
28.95 |
29.20 |
30.44 |
28.24 |
28.75 |
145.58 |
29.12 |
มิถุนายน |
28.84 |
29.12 |
29.29 |
28.21 |
27.34 |
142.79 |
28.56 |
กรกฎาคม |
28.11 |
27.68 |
28.02 |
27.87 |
28.05 |
139.73 |
27.94 |
สิงหาคม |
28.33 |
27.61 |
28.47 |
28.18 |
28.15 |
140.74 |
28.15 |
กันยายน |
27.37 |
26.99 |
28.16 |
27.08 |
27.07 |
136.67 |
27.33 |
ตุลาคม |
26.59 |
26.93 |
27.68 |
27.13 |
- |
108.33 |
27.08 |
พฤศจิกายน |
26.13 |
26.39 |
23.17 |
26.62 |
- |
102.31 |
25.57 |
ธันวาคม |
25.28 |
26.53 |
25.44 |
24.55 |
- |
101.80 |
25.45 |
รวม / ปี |
328.1 |
328.95 |
337.78 |
325.74 |
246.191 |
1,566.81 |
328.96 |
เฉลี่ย |
27.34 |
27.41 |
28.15 |
27.14 |
27.35 |
130.56 |
27.41 |
2. ฤดฝน
อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและลมชื้นจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกทั่วไปและในช่วงฤดูฝนนี้ยังมีช่วงความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะ ๆ จึงทำให้มีฝนตกมาก นอกจากนี้ในระหว่างเดือนพฤศจิกาายน ถึง มกราคม ยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกมากในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน ธันวาคม
ตารางแสดงค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2539 - 2543
( สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครศรีธรรมราช )
เดือน / ปี |
อุณหภูมิ |
รวม |
เฉลี่ย |
2539 |
2540 |
2541 |
2542 |
2543 |
มกราคม |
176.0 |
12.0 |
37.6 |
273.6 |
184.1 |
683.3 |
136.66 |
กุมภาพันธ์ |
131.5 |
115.3 |
0.6 |
604.1 |
180.1 |
1,031.6 |
206.32 |
มีนาคม |
- |
60.6 |
5.9 |
216.1 |
306.6 |
139.2 |
97.3 |
เมษายน |
99.1 |
121.1 |
5.7 |
175.9 |
169.1 |
570.9 |
114.18 |
พฤษภาคม |
157.1 |
90.2 |
129.4 |
265.2 |
77.7 |
719.6 |
143.92 |
มิถุนายน |
147.5 |
248.6 |
97.1 |
77.4 |
59.8 |
657.3 |
131.46 |
กรกฎาคม |
116.2 |
140.4 |
206.8 |
99.4 |
74.8 |
637.6 |
127.52 |
สิงหาคม |
183.0 |
155.2 |
227.9 |
148.6 |
198.1 |
912.8 |
182.56 |
กันยายน |
123.6 |
221.4 |
247.5 |
189.6 |
140.7 |
922.8 |
184.56 |
ตุลาคม |
212.8 |
434.1 |
446.1 |
346.7 |
- |
1,439.7 |
359.92 |
พฤศจิกายน |
482.3 |
447.4 |
393.2 |
337.6 |
- |
1,439.7 |
359.92 |
ธันวาคม |
749.9 |
380.6 |
651.2 |
370.2 |
- |
2,151.9 |
537.97 |
รวม / ปี |
2,606.0 |
2,4268 |
2,449.02 |
2,904.4 |
1,391 |
11,777.2 |
2,637.49 |
เฉลี่ย |
217.16 |
202.23 |
204.08 |
242.03 |
154.5 |
981.43 |
219.79 |
ความชื้นสัมพัทธ์
มีความสัมพันธ์กับมวลอากาศและอิทธิพลกับลมมรสุมโดยตรง อิทธิพลของลมมรสุมตะวันอกเฉียงเหนือกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมทั้งสองนี้พัดผ่านทะเลและมหาสมุทรพัดพาความชื้นมาด้วยให้ความชื้นสัมพัทธ
ตารางแสดงค่าเฉลียของความชื้นสัมพัทธ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2539 - 2543
( สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครศรีธรรมราช )
เดือน / ปี |
อุณหภูมิ |
รวม |
เฉลี่ย |
2539 |
2540 |
2541 |
2542 |
2543 |
มกราคม |
81.76 |
79.47 |
81.44 |
85.57 |
84.72 |
421.96 |
82.59 |
กุมภาพันธ์ |
82.69 |
81.03 |
77.23 |
82.27 |
82.39 |
405.61 |
81.12 |
มีนาคม |
77.41 |
79.57 |
94.44 |
79.94 |
83.22 |
414.58 |
82.91 |
เมษายน |
80.07 |
80.33 |
71.89 |
80.11 |
83.12 |
395.52 |
79.10 |
พฤษภาคม |
81.16 |
77.94 |
76.87 |
82.01 |
79.49 |
397.47 |
79.49 |
มิถุนายน |
81.96 |
79.49 |
78.71 |
77.86 |
81.30 |
399.32 |
79.86 |
กรกฎาคม |
77.64 |
79.53 |
80.30 |
76.77 |
76.36 |
390.60 |
78.12 |
สิงหาคม |
80.31 |
79.43 |
83.55 |
76.47 |
75.16 |
394.92 |
78.98 |
กันยายน |
79.24 |
85.08 |
84.34 |
82.26 |
78.31 |
409.23 |
81.84 |
ตุลาคม |
85.84 |
86.12 |
86.68 |
84.61 |
- |
343.25 |
85.81 |
พฤศจิกายน |
86.94 |
88.06 |
90.31 |
85.40 |
- |
350.71 |
87.67 |
ธันวาคม |
85.45 |
86.37 |
87.31 |
84.91 |
- |
344.04 |
86.01 |
รวม / ปี |
953.47 |
982.42 |
993.07 |
978.17 |
724.07 |
4,658.21 |
983.5 |
เฉลี่ย |
79.45 |
81.86 |
82.75 |
81.51 |
80.45 |
388.18 |
81.95 |
|
สภาพแวดล้อมโดยรอบอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
การใช้ที่ดิน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย และตามที่ราบเชิงเขารอบอุทยาน ฯ มีราษฎร์ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นหย่อม ๆ ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทำการเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา นอกจากนี้จะพบป่าที่มีการปลูกมะพร้าว กาแฟ มังคุด ลางสาด ขนุน เงาะ สะตอ จำปาดะ หมาก ฯลฯ
ทางด้านทิศใต้ของอุทยาน ฯ ยังมีการทำเหมืองแร่ และในบางส่วนของพื้นที่ได้มีการออก สทก. โดยสำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชให้แก่ราษฎร์ไปแล้ว ทำให้พื้นที่บางจุดได้กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎร์ในพื้นที่
แผนที่แสดงที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งขาติน้ำตกโยง

ฝ่ายอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
|
ลักษณะประชากรในท้องถิ่นใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท ในชุมชนเมืองยังมีค่อนข้างน้อยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ยังมีลักษณะชาวพุทธเป็นสำคัญ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาปักษ์ใต้ มีการเล่นหนังตะลุง มโนราห์ ให้เห็นอยู่บ้าง รวมทั้งการชนวัว มีประเพณีทางศาสนา คือ ประเพณีบุญสาทรเดือนสิบ ประเพณีชักพระ และประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นต้น
|
ประวัติประชากรทำกินในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อัตราการเพิ่มชองประชากรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เป็นเหตุให้มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นเรือกสวน ไร่นา และที่อยู่อาศัย ประกอบกับความเจริญทางด้านวัตถุที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นมีการผลิตอาวุธแบบใหม่ ๆ เป็นผลให้มีการทำลายทรัพยากรและสัตว์ป่าอย่างไม่มีเขตจำกัด สัตว์ป่าหลายชนิดต้องลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย บางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี ในที่สุดรัฐบาลในฐานะผู้รับผิดชอบก็ได้มองเห็นความสำคัญของการที่จะให้คุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่าจึงให้ดำเนินการจัดตั้ง สวนรุกขชาติ วนอุทยาน รวมถึงอุทยานแห่งชาติ เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองรักษาธรรมชาติ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป
|
|