![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น | เดื่อชุมพร |
ชื่อวงศ์ | TIEACEAE |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
- Ficus Schwarzi Koord. - Ficus Clomerata,Rox - Ficus Racemosa Linn. |
ลักษณะลำต้น | เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ สูง 8-10 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร |
ลักษณะใบ | เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบยาวรีปลายแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีเขียวนวล (เขียวอมขาว) หน้าใบลื่น |
ลักษณะผล | คล้ายลูกฉิ่ง แต่ขนาดผลโตประมาณ 1 นิ้ว ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดงเข้มมีรสหวาน |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ยอด ผลอ่อน (มียางสีขาวแต่ไม่อันตราย) หรือผลสุก |
ใช้เป็นอาหารประเภท | ยอดและผลอ่อนใช้เหนะสดและแกงกะทิ หรือ ยอดใช้แกงเลียงรวมกับผักอื่นๆ ส่วนผลสุกใช้กินเล่น |
รสชาติ | ฝาด มัน อมเปรี้ยว |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี | ที่ราบ ป่าเขา ริมคลอง |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต | ยอดมีตลอดปี ผลมีเฉพาะฤดูแล้ง |
ส่วนที่เป็นพิษ | ไม่มี |
ประโยชน์ใช้สอย | ไม่มี |
ความเชื่อ | ไม่มี |
สรรพคุณทางสมุนไพร | ใช้รากมาเคี่ยวกับน้ำในอัตราน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวเหลือ 1 ส่วน รับประทานดับพิษร้อนถอนพิษไข้ครั้งละครึ่งแก้ว เปลือกจากต้นแก่ต้มกับน้ำ ใช้รับประทานแก้ท้องเสีย เป็นตัวยาหลักชนิดหนึ่งในการปรุงยาแผนโบราณ เปลือกต้น แก้ท้องร่วง ต้ม ล้างชะบาดแผล สมานแผล แก้ประดงผื่นคัน แก้ไข้ท้องเสีย ไข้รากสาดน้อย-ใหญ่ แก้ธาตุพิการ ราก แก้ไข้ และพิษไข้ กล่อมเสมหะ ไข้กาฬ แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ ผล แก้ท้องร่วง สมานแผล |