![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น | มะระขี้นก ผักไห |
ชื่อวงศ์ | CUEURBITACEAE |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Momordica Charantia Linn. |
ลักษณะลำต้น | เป็นไม้ย่านเถาอ่อนเลื้อยเกาะพันไม้อื่น |
ลักษณะใบ | ใบแตกออกจากเถา ขอบใบมีลักษณะเป็นแฉก 6-7 แฉก แต่ละแฉกเป็นหยัก |
ลักษณะดอก | ดอกสีเหลืองขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกออกจากข้อเถา เมื่อดอกแก่เต็มที่จะเป็นผล |
ลักษณะผล | ผลผิวขรุขระเหมือนมะระบ้าน ลูกกลมรี หัว-ท้ายแหลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-2.5 นิ้ว ยาว ประมาณ 2 นิ้ว |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ยอดอ่อน ผล |
ใช้เป็นอาหารประเภท | แกงเลียง(ยอด) แกงเผ็ด (ยอด ผล) หรือลวกจิ้มน้ำพริก (ยอด ผล) |
รสชาติ | ขม |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ | เมล็ด |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี | ที่ชื้นแฉะ |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต | มียอดทุกๆ ฤดูกาล ส่วนผลออกในฤดูแล้ง |
ส่วนที่เป็นพิษ | ไม่มี |
ประโยชน์ใช้สอย | ไม่มี |
ความเชื่อ | ไม่มี |
สรรพคุณทางสมุนไพร | ใบ ยอด ผล มีสรรพคุณแก้ปากขมเวลาเป็นไข้ โดยทำเป็นแกงเลียง ทั้งต้น บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี แก้ไข้ดีซ่าน แก้โลหิตพิการ เจริญอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ(ผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรกินยานี้
แสลงโรคหัวใจ) นอกจากนี้ จากรายงานผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง (กมลาภรณ์ เสราดี, พ.ศ.2536) ได้ระบุไว้ว่ามะระขี้นก ชาวบ้านในจังหวัดภาคเหนือ แห่งหนึ่งนำไปใช้เป็นสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้
1. เนื้อในช่วยลดน้ำตาลในเส้นเดือด (โรคเบาหวาน) 2. แก้ไข้ หรือร้อนใน ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออกหั่นฝอยต้มน้ำกิน 3. แก้บิด ใช้น้ำคั้น จากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำกิน 4. แก้แผลบวม ใช้ผลสมตำพอก 5. แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผง ชงเหล้ากิน หรือใบสดตำคั้นเอาน้ำทา บริเวณที่เป็นฝี 6. ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก 7. เป็นแผสสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก 8. ขับพยาธิ ใช้ใบสด 120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำกินหรือเอาเมล็ด 2-3 เมล็ด กินขับพยาธิตัวกลม |