www.tungsong.com
คำขวัญ
นโยบายและแนวทางปฎิบัติทางราชการ
        1. นครฯ เป็นเมืองพระต้องเอาธรรมะเข้าแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาทุกอย่าง หากใช้ธรรมะเข้าแก้ไขจะสำเร็จได้ด้วยดี ธรรมะคือการปฏิบัติหน้าที่
        ในรอบปีที่ผ่านมา อำเภอร่อนพิบูลย์ได้ปฏิบัติตอบสนองนโยบายดังกล่าว ดังต่อไปนี้
        1.1 การไกล่เกลี่ยข้อพิพากในหมู่บ้าน ตำบล ในหมู่บ้าน ตำบล มีปัญหาขัดแย้งในเรื่องที่ดินทำกินเขตแดน อำเภอประสานให้กรรมการหมู่บ้าน ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หากเกินความสามารถ จะให้เจ้าหน้าที่ตำบลหรือระดับอำเภอ ออกไปไกล่เกลี่ย เป็นการสร้างความเข้าใจอันดี และรักษาความสามัคคี ของประชาชนในระดับหมู่บ้านตำบลไปด้วย
        1.2 การแก้ไขความเดือนร้อนของราษฎร ในการเรียกร้องขอความเป็นธรรมด้วยต่าง ๆ เช่นการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การเรียกร้องชุมชนของราษฎร อำเภอได้แก้ไขปัญหาด้วยยุทธศาสตร์ป้องกันเชิงรุก ภายใต้ระบบประชารัฐ ให้ทุกส่วนราชการถือว่า ปัญหาความเดือดร้อนของราฏฎร เป็นเรื่องสำคัญ จะต้องดำเนินการทันทีที่เกิดเหตุ ให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชี้แจง และรับฟัง พิจารณาปัญหาด้วยความโปร่งใส
        1.3 การแก้ไขปัญหาในลักษณะ "พหุภาคี" ให้ส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรหลักในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแทนส่วนกลาง
        1.4 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ช่วยเหลือการรวมกลุ่ม โดยเร่งรัดจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และใช้หลักเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว
        1.5 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน โดยจัดให้มีระบบประชาสัมพันธ์ เสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการร้องเรียน อุปสรรคข้อจำกัด แล้วให้สาธารณชน ได้เข้าใจอย่างถูกต้อง รายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาผ่านสื่อมวลชน
        2. ข้าราชการมีหน้าที่สำคัญคือ การให้บริการประชาชน ต้องต้อนีรับและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการให้ดีที่สุด เพื่อสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อ ให้ได้การให้การต้อนรับ ต้องกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้ เป็นการเฉพาะ และนำแบบอย่างของภาคเอกชนมาใช้ในรอบปีที่ผ่านมาอำเภอได้ปฏิบัติตอบสนองนโยบายดังกล่าว ดังนี้
        2.1 อำเภอถือว่าการบริการประชาชน คือการต้อนรับ การสงเคาะห์ อำนวยความสะดวกด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม ด้วยอัธยาศรัยอันดี เป็นมิตร เพื่อนำความพอใจไปสู่ประชาชนด้วยถือหลัก "พบเจ้าหน้าที่ มีคำตอบ ชอบธรรม สำเร็จ"
        2.2 กำหนดให้หน่วยงานราชการทุกส่วนราชการ จัดบริการประชาชน ให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันไม่ต้องกลับไปกลับมา ติดต่อซ้ำหลายครั้ง และให้ระยะเวลาในการติดต่อขอรับบริหารน้อยที่สุด เช่น สำนักงานทะเบียนอำเภอ สำนักงานที่ดินอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ ฯลฯ
        2.3 กำหนดให้มีการจัดบริการบนสำนักงานที่ว่าการอำเภอ และจัดบริการนอกสำนักงานที่ว่าการอำเภอ เช่น งานปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบล งานศูนย์ราชการประจำตำบล อำเภอเคลื่อนที่ ฯลฯ
        2.4 การจัดให้มีเวรบริการประชาชน โดยให้ปลัดอำเภอเป็นหัวหน้าเวร เจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่าง ๆ ทำหน้าที่ผู้ช่วยหัวหน้าเวร เช่น เจ้าหน้าที่สรรพากรอำเภอ สรรพสามิตอำเภอ ศึกษาธิการอำเภอ ฯลฯ
        2.5 การขยายเวลาให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องข้อจำกัดเวลา เช่น บริการหลังเวลาราชการปกติบริการพักกลางวัน หรือบริการช่วงวันเสาร์อาทิตย์ นอกนั้นอาจมีกิจกรรมเปิดบริการเป็นพิเศษ ในวันหยุด หรือช่วงการเลือกตั้ง ส.จ. อบต. ส.ว. ส.ส. ฯลฯ เช่น สำนักงานทะเบียนอำเภอ สำนักงานสัสดีอำเภอ สำนักงานสรรพากรอำเภอ เป็นต้น
        2.6 การจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ โดยเจ้าหน้าที่ทุกส่วนราชการ ร่วมกันออกไปให้บริการประชาชนในห้องที่ต่าง ๆ นอกเวลาราชการปกติ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารทางราชการ การตรวจติดตามงานและรับฟังสถาพปัญหาของประชาชนในพื้นที่ ได้อย่างแท้จริง อำเภอได้ออกโครงการฯ อย่างน้อยเดือนละครั้งโดยเน้นท้องที่หมู่บ้าน ตำบลห่างไกล
        2.7 การให้บริการที่ทันสมัย รวดเร็ว กระทัดรัด ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน เช่นคอมพิวเตอร์ วิทยุสื่อสาร ปรับบทบาทของข้าราชการมาเป็นผู้ให้บริการ ตลอดจนจัดสภาพภูมิทัศน์ให้สะอาดสวยงาม สะดุดตาประทับใจ แก่ผู้มาติดต่อราชการ
        3.ข้าราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปัจจุบันการปฏิบัติงานของข้าราชการถูกตรวจสอบจากทุกฝ่ายอยู่ตลอดเวลา ข้าราชการยุคใหม่ จึงต้องปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ต้องสามารถอธิบายต่อประชาชนได้โดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ปัญหาการร้องเรียนก็จะไม่มี ในรอบปีที่ผ่านมาอำเภอได้ปฏิบัติงานสนองนโยบายดังกล่าว ดังนี้
        3.1 กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานงบประมาณโครงการต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด เช่น การจัดซื้อ การจัดจ้าง การประกาศสมัคสอบคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในองค์กรต่าง ๆจัดให้มีการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของทางราชการเป็นต้น
        3.2 การจัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านต่าง ๆ เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพ ให้ชำนาญในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ตลอดจนกวดขันการปฏิบัติงาน การรายงานผลงานอยู่เสมอ
        4. ข้าราชการคือผู้ช่วยเหลือประชาชนและแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง ต้องออกท้องที่ และสดับรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนของราษฏร อยู่ตลอดเวลา และเข้าไปช่วยเหลือ แก้ไขความเดือดร้อนของราษฏรอย่างทันท่วงที อย่าปลอยให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตได้ การแก้ไขปัญหาต้องแก้ไขที่สาเหตุ ทันต่อเวลาและสถานการณ์โดยเฉพาะปัญหาสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก เช่น ปัญหาน้ำท่วม ในรอบปีที่ผ่านมา อำเภอได้ปฏิบัติงาน สนองนโยบายดังกล่าว ดังนี้
        4.1 .ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เช่น ฝ่ายป้องกัน ฝ่ายตำรวจ ปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบลเจ้าหน้าที่ 4 กระทรวงหลัก ระดับตำบล ศึกษาปัญหาที่มีอยู่ในพื้นที่ เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหามาพิจารณาให้ได้ข้อยุติ ออกไปสร้างความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อเลี่คลายสถานการณ์ มิให้มีการเกิดการชุมนุม ติดตามสถานการณ์ในทางลับและตรวจสอบสถานการณ์ในทางลับ โดยต่อเนื่องทุกระยะ หากเกินขีดความสามารถจะรายงานหน่วยเหนือดำเนินการต่อไป ปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่ เช่นผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การคมนาคมไม่สะดวก การว่างงาน ขาดที่ดินทำกิน ยาเสพติด โรคภัยไข้เจ็บ สารหนู เป็นต้น
        4.2 การปฏิบัติเมื่อมีปัญหาเบื้องต้นใช้ชุดปฏิบัติการสร้างความเข้าใจ จำนวนประมาณ 4-5 คนเกาะติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว รับฟังข้อเรียกร้องและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รับฟังปัญหาความต้องการเบื้องต้น เพื่อมิให้เกิดการชุมนุมขึ้นในพื้นที่ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดแก้ไขปัญหาให้ยุติโดยเร็ว
        4.3 การปฏิบัติงานเมื่อมีการชุมนุมเรียกร้องเกิดขึ้นใช้กำลังเจ้าหน้าที่ ดูแลรักษาความสงบ อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสถานที่ และสาธารณูปโภคตามความจำเป็น เจรจารับข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอ มาพิจารณาดำเนินการแก้ไข เพื่อยุติการชุมนุม และรายงานสถานการณ์ให้หน่วยเหนือทราบ
        4.4 การปฏิบัติงานเมื่อปัญหายุติ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ได้ข้อยุติโดยเร็วเร่งรัดให้มีการติดตามผลประชาสัมพันธ์ถึงความคืบหน้า โดยการแก้ไขปัญหาทุกระยะ ประเมินผลการปฏิบัติ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป
        4.5 แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี โดยผู้นำชุมชน หรือระบบพหุภาคี 3 ฝ่าย ผู้แทนภาครัฐ ผู้เรียกร้องและผู้ชำนาญการ และดำเนินการโดยกระบวนการทางกฏหมาย
        5. ข้าราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ อุทิศตนถวาย กำลังใจ สติปัญญา และต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มความรู้ ความสามารถ โดยไม่เห็นแก่ตัว และแสวงหาความร่ำรวย จาการปฏิบัติ
        5.1 กำชับให้ข้าราชการและพนักงานทุกคน ยึดถือพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลในวาระโอกาศต่าง ๆ
หน้าที่สำคัญ 3 ประการ
        1. สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหาร คือการป้องกันตามอธิปไตย การเสริมสร้างความมั่นคงต่อประชาชน
        2. ส่งเสริมให้คนดี ที่ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
        3. ข้าราชการต้องตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่ให้คำปฏิญาณ
ภายใต้หลักการสำคัญ 3 ประการ มีวิธีการ 7 ประการ
        1. การบริการต้องเข้าถึงประชาชน
        2. ประชาชนต้องให้ความร่วมมือกับฝ่ายข้าราชการ
        3. การปกครองต้องยืดหยุ่นในทางที่ดี
        4. การปกครองต้องยุติธรรม
        5. การปกครองต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
        6. การปฏิบัติงานของข้าราชการ เป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของชาติ
        7. ประชาชนประสพภัย ทางราชการต้องไปอย่างทันท่วงที
        5.2 กำชับข้าราชการและพนักงานตหนักในหน้าที่ 5 ประการ
        1. สำนักในการป้องกันชาติ
        2. มีคุณธรรมเพื่อความสามัคคี
        3. สำนึกในหน้าที่ ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง รักชาติ ชื่อสัตว์ สุจริต สามัคคี บริสุทธิ์ใจ และเสียสละ
        4. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
        5. ต้องมีความรู้ความสามารถและหลักปฏิบัติงาน

กลับหน้าแรก