www.tungsong.com
คำขวัญ
1. ประวัติความเป็นมา
        ร่อนพิบูลย์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแผ่นดิน เป็นแบบเทศาภิบาล อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นแขนงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้น ในมณฑลนครศรีธรรมราช โดยประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2439 ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเขตการปกครองจากแขวงเป็นอำเภอ
        คำว่า "ร่อนพิบูลย์" มีคำอธิบายเป็นสองนัย คือ
        1)นาม "อำเภอร่อนพิบูลย์" ได้มาจากชื่อหมู่บ้านของอำเภอร่อนพิบูลย์ ชื่อว่า "บ้านร่อน" ด้วยเหตุที่ราษฎรส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน มีอาชีพรอ่นแร่ขาย เมื่อมีการจัดตั้งอำเภอขึ้น จึงได้ใช้ชื่อว่า "อำเภอร่อนพิบูลย์"
        2) นาม "อำเภอร่อนพิบูลย์" มีความหมายบ่งบอกถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยสินแร่ ซึ่งเดิมทีการทำเหมืองแร่ เป็นประเภทเหมืองขุดเจาะ
วิสัยทัศน์อำเภอร่อนพิบูลย์
    ร่อนพิบูลย์พัฒนา    ประชาเรียนรู้   เคียงคู่คุณธรรม
1.1  ลักษณะที่ตั้งและขนาด
        อำเภอร่อนพิบูลย์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยทางรถยนต์ระยะทางประมาณ 32กิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 12 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีทางหลวงหมายเลข 403 ตอนอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ ตัดผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอ เนื้อที่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ ตัดผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอ เนื้อที่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ประมาณ 341.226 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 4.48% ของพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
1.2  อาณาเขต
  ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพระพรหม และอำเภอลานสกา
  ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอชะอวด
  ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจุฬาภรณ์
  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอทุ่งสง
1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
        สภาพภูมิประเทศของอำเภอร่อนพิบูลย์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
        (1)  บริเวณที่เป็นเทือกเขา ได้แก่บริเวณทิศตะวันตก ติดเทือกเขาบรรทัดตลอดแนว
        (2)  ได้แก่พื้นที่ตำบลร่อนพิบูลย์ และทิศเหนือติดเทือกเขาหลวง ได้แก่ท้องที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์และตำบลหินตก
        (3)  บริเวณที่ราบตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลควนเกย ตำบลควนพัง ตำบลควนชุม ตำบลเสาธง และตำบลหินตก
        (4)  บริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะพื้นที่จะเป็นดินพรุ ได้แก่ พื้นที่ส่วนของตำบลควนพัง ตำบลเสาธง
1.4 พื้นที่และการใช้ประโยชน์
        พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ ใช้ในการเกษตรกรรม ส่วนที่เหลือจะเป็นพื้นที่ป่าพรุ ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ราบลุ่ม
        การถือครองที่ดินอำเภอร่อนพิบูลย์ การออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรมีรายละเอียดดังนี้
        -  โฉนดที่ดิน จำนวน 17,091 แปลง
        -  หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก) จำนวน 13,148 แปลง
        -  หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จำนวน 3,888 แปลง
        -  หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 2 แปลง
1.5 ภูมิอากาศ
        ลักษณะอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ
          - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - สิงหาคม
          - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม
          - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
1.6 เขตการปกครอง
        แบ่งเขตการปกครอง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 เป็น 6ตำบล 54 หมู่บ้าน ดังนี้
1) ตำบลร่อนพิบูลย์ แบ่งเป็น 16 หมู่บ้าน
2) ตำบลหินตก แบ่งเป็น 11 หมู่บ้าน
3) ตำบลเสาธง แบ่งเป็น 7 หมู่บ้าน
4) ตำบลควนพัง แบ่งเป็น 7 หมู่บ้าน
5) ตำบลควนชุม แบ่งเป็น 7 หมู่บ้าน
6) ตำบลควนเกย แบ่งเป็น 6 หมู่บ้าน
1.7 ประชากร
        อำเภอร่อนพิบูลย์ มีประชากรทั้งสิ้น 86,642 คน แบ่งเป็นชาย 43,011 คนหญิง 43,631 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 253.76 คน/ตารางกิโลเมตร
ประชากรแยกเป็นรายตำบล ได้ดังนี้
ลำดับที่ ตำบล ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน) ครัวเรือน
1 ร่อนพิบูลย์ 14,626 15,090 29,725 6,305
2 หินตก 9,843 9,627 19,470 4,601
3 เสาธง 5,715 5,825 11,540 2,504
4 ควนเกย 2,135 2,268 4,403 951
5 ควนพัง 6,408 6,444 12,852 2,481
6 ควนชุม 4,284 4,368 8,652 1,706
รวม   43,011 43,631 86,642 18,548
(ข้อมูลสิ้นสุดเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2543)
อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากร
ข้อมูลประชากร(คน) 2540 2541 2542
- อัตราการเกิดของประชากร 1,000 คน 15.10 17.24 15.20
- อัตราการตายของประชากร 1,000 คน 4.70 4.44 4.06
- อัตราการเพิ่มประชากร (ร้อยละ) 1.04 1.28 1.11

กลับหน้าแรก