![]() |
![]() |
กลอนหรือคำประพันธ์ที่หนังตะลุงใช้มีหลายชนิดการขับร้องก็มีทำนองและมีที่ใช้ต่างกัน คือ |
1. ร่ายโบราณ ใช้ในบทตั้งธรณีสาร ตอนออกรูปฤาษี การร้องกลอนออกเสียงพึมพำ มีลีลาเหมือนร่ายมนตร์ |
2. กาพย์ฉบัง ใช้ในบทออกลิงหัวค่ำ ออกรูปฉะ และออกรูปพระอิศวร การร้องกลอนออกเสียงเต็มเสียงในบทออกลิงหัวค่ำและออกรูปฉะ ส่วนบทออกรูปพระอิศวรจะมีท่วงทำนองแบบเดียวกับออกฤาษี |
3. กลอนแปด ใช้ตอนออกลิงหัวค่ำ ออกรูปปรายหน้าบท บทบรรยายความทั่วไป และอาจใช้ในบทพรรณนาความบ้าง กลอนแปดนิยมใช้กันมากในหมู่หนังตะลุงในจังหวัดสงขลา ทำนองการร้องกลอนแบบสงขลาจะค่อนข้างช้า หนังตะลุงทางนครศรีธรรมราชเรียกทำนองการร้องกลอนแบบสงขลาว่า ทำนองสงขลา ส่วนการร้องกลอนของหนังตะลุงทางนครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง จะมีทำนองเร็ว และกระชับกว่า เรียกว่า ทำนองสงขลากลาย |
4. กลอนกลบท คือกลอนแปดนั่นเอง แต่มีลักษณะบังคับเพิ่มขึ้น มีหลายชนิด ยึดแบบอย่างจากกลบทสิริวิบุลกิติ (ทางภาคใต้เรียก ยศกิต) ของหลวงศรีปรีชา ( เซ่ง )บ้าง ดัดแปลงขึ้นเองบ้าง แต่ละชนิดเลือกใช้ตามลีลาและบทบาทของตัวละครเช่น |
กลบทคำตาย นิยมใช้ตอนออกรูปยักษ์ โดยเฉพาะตอนตั้งเมืองเริ่มจับบทยักษ์ และบทพญาครุฑ เช่น |
"ขอสาธกยกเรื่องถึงเมืองยักษ์ |
อาณาจักรตั้งติดทิศพายัพ |
||
ในเมืองหัดทหารชำนาญฝึก | ได้ปราบศึกสำเร็จไว้เสร็จสรรพ | ||
ทหารบกทหารเรือเหลือจะนับ | แม่ทัพร้ายกายชาตินักรบ | ||
ขึ้นปีใหม่ใครไม่ถือน้ำพิพัฒน | จะต้องตัดเศียรศอตามข้อกฎ | ||
แผ่ผดุงรุ่งเรืองกระเดื่องยศ | ปราบหมดทั่วดีทั้งสิ่ทิศ" | ||
(หนังปรีชา สงวนศิลป์ จังหวัดนครศรีธรรมราช) |
นอกจากนี้หนังตะลุงอาจจะใช้กลอนกลบทหลายๆ ชนิดแทรกเพียงบางวรรคบางตอนในขณะว่ากลอนแปด ทั้งนี้เพื่อให้ลีลากลอนมีชั้นเชิงชวนฟัง กลบทอื่นๆ ที่หนังทั่วๆ ไปนิยมใช้ เช่น กลบทนาคบริพันธ์ กลบทกบเต้นต่อยหอย กลบทวัวพันหลัก กลบทงูกลืนหาง เป็นต้น |
5. กลอนสี่ นิยมใช้ในหมู่หนังตะลุงจังหวัดนครศรีธรรมราช ในบทที่ต้องการให้อารมณ์หรรษา เช่น บทชม (ชมโฉม ชมธรรมชาติ) บทโต้ตอบแบบสนุกๆ ระหว่างตัวละคร บทสอนใจ บทเกี้ยว บทสมห้อง (บทสังวาส) ดังตัวอย่าง |
"เข้าป่าระหง ชมดงไม้ดอก งอกเคียงเรียงรก หลุมนกหว้าหวัง |
|
ไม้เคี่ยมไม้เคียน ไม้เรียนไม้รัง สาเกหนุนหลัง ไม้ทังไม้ทูง | |
ไม้สวยไม้แซะ ไม้แบกไม้เบื่อ ไม้เดื่อลูกดก นกนั่งเป็นฝูง | |
ไม้ปริงไม้ปราง ไม้ยางไม้ยูง ไม้แคต้นสูง เห็นฝูงชะนี" | |
(หนังทวงศ์ เสียงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช) |
6. กลอนลอดโหม่ง ใช้ในบทพรรณนาความโศกเศร้าลีลากลอนจะมีความเนิบช้า เมื่อนายหนังว่ากลอนได้จังหวะหนึ่งๆ ลูกคู่จะตีโหม่งตาม 4 ที โดยตีลูกเสียงแหลมนำ 2 ที ตามด้วยเสียงทุ้ม 2 ที เสียงดัง โหม่งๆ ทุ้มๆ และเมื่อว่ากลอนจบบทหนึ่งจะตีโหม่งเสียงทุ้มยาวเป็นเสียง โหม่งๆ ทุ้มๆๆๆ รูปแบบกลอนจะมีลักษณะคล้ายกับกาพย์ยานี ดังตัวอย่าง |
"ดังไฟสุมอกแม่ แม่แลแลลูกน้อย ในดวงตาละห้อยเจ้าไร้สุขทุกข์แสน แม่ป่วยไข้ให้อนาถ ประยูรญาติก็ดูแคลน มองแม่แม้นกากี ไม่มีดีสักนิดเดียว |
ถึงแม่ชั่วผัวร้าง แม่ไม่ห่างลูกแม่ จะดูแลประสาจน ไม่หวังคนแลเหลียว หายเสียเถิดแก้วตา จากกายาซูบเซียว จงโตวันโตคืน ให้แม่ได้ชื่นใจ" |
![]() ขนบนิยมในการเล่น |
![]() |
![]() ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง |