![]() |
![]() |
การเล่นหนังตะลุง มี 2 ลักษณะ คือ เล่นเพื่อความบันเทิง และเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรม การเล่นทั้งสองลักษณะ มีขนบนิยมที่ต่างกันหลายประการ |
![]() |
หนังตะลุงทุกคณะมีลำดับขั้นตอนในการเล่นเหมือนกัน คือ ตั้งเครื่องเบิกโรง โหมโรง ออกลิงหัวค่ำ ออกฤาษี ออกรูปฉะ ออกรูปพระอิศวร ออกรูปปรายหน้าบท ออกรูปบอกเรื่อง เกี้ยวจอ ตั้งนามเมือง แสดงเรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ |
1.1 ตั้งเครื่องเบิกโรง เป็นการทำพิธีเอาฤกษ์ขอที่ตั้งโรง ปัดเป่าเสนียดจัญไร และเชิญครูหนังมาคุ้มครองเริ่มพิธีด้วยนายหนังตีกลองนำและลูกคู่บรรเลงเพลงเชิด เรียกว่า ตั้งเครื่อง จากนั้นนายแผง (คนแบกแผงใส่รูปหนัง) แก้แผงเอารูปออกวางให้เป็นระเบียบ นายหนังทำพิธีเบิกโรง โดยนำเครื่องเบิกโรงที่เจ้าภาพจัดให้ คือ ถ้าเป็นงานทั่วไปใช้หมากพลู 9 คำ เทียน 1 เล่ม ถ้าเป็นงานอัปมงคล เพิ่มเสื่อ 1 ผืนหมอน 1 ใบ หม้อน้ำมนต์ 1 ใบ เงินค่าเบิกโรงตามแต่หนังจะกำหนด (3 บาทบ้าง 12 บาทบ้าง) มาวางหน้านายหนังแล้วร้องชุมนุมเทวดา เอารูปฤาษี รูปปรายหน้าบท รูปเจ้าเมือง ปักบนหยวก ร้องเชิญครูหมอหนังให้มาคุ้มครอง ขอที่ตั้งโรงจากพระภูมิและนางธรณี เสกหมาก 3 คำ เพื่อซัดเข้าไปในทับ 1 คำเหน็บตะเกียงหรือดวงไฟที่ให้แสงสว่างในการเล่นหนัง 1 คำ และเหน็บหลังคาโรง 1 คำ เพื่อกันเสนียดจัญไร เสร็จแล้วลูกคู่บรรเลงเพลงโหมโรง |
1.2 โหมโรง เป็นการบรรเลงดนตรีล้วนๆ เพื่อเรียกคนดูและให้นายหนังได้เตรียมพร้อม สุธิวงศ์ทับ คือ ใช้ทับเป็นตัวยืน เพลงที่บรรเลงมี 12 เพลง ได้แก่ เพลงเดิน เพลงถอยหลังเข้าคลอง เพลงยักษ์ เพลงสามหมู่ เพลงนางออกจากวัง เพลงนางเดินป่า เพลงสรงน้ำ เพลงเจ้าเมืองออกสั่งราชการ เพลงยกพล เพลงชุมพล เพลงยักษ์จับสัตว์ และเพลงกลับวัง ต่อมาหันมานิยมโหมโรงด้วยเพลงปี่ คือใช้ปี่เป็นหลัก เพลงที่บรรเลงสมัยก่อนเป็นเพลงไทยเดิม เริ่มด้วยเพลงพัดชาซึ่งหนังถือว่าเป็นเพลงครูแล้วต่อด้วยเพลงอื่น ๆ เช่น ลาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ จีนแส ลาวดวงเดือน ชายคลั่ง สุดสงวน นางครวญ สะบัดสะบิ้ง เขมรพวง ชะนีร้องไห้ เป็นต้น ปัจจุบันโหมโรงด้วยเพลงพัดชา จากนั้นมักบรรเลงเพลงลูกทุ่งเป็นพื้น |
1.3 ออกลิงหัวค่ำ หรือ ออกลิงขาวลิงดำ เป็นขนบนิยมในการเล่นหนังตะลุงในสมัยก่อน ปัจจุบันเลิกไปแล้วเข้าใจว่าจะได้รับอิทธิพลจากหนังใหญ่ เพราะรูปที่ใช้เชิดส่วนใหญ่เป็นรูปจับ คือมีฤาษีอยู่กลาง ลิงขาวมัดลิงดำอยู่เบื้องล่าง แต่มีบ้างเหมือนกันที่แกะแยกเป็นรูปเดี่ยวๆ 3 รูปในกรณีที่แกะรูปแยกเป็น 3 รูปเช่นนี้มีวิธีเล่นคือ ขั้นแรกจะออกลิงขาวก่อน แล้วออกลิงดำสลับเสร็จแล้วออกพร้อมกันเอาหัวชนกัน เอาก้นชนกัน แล้วเข้าฟัดกัน ซึ่งตอนนี้ดนตรีจะทำเพลงเชิด จบแล้วมีบทพากย์ประกอบประกอบ เช่น |
" สองต่อสองสู้กันเป็นโกลา |
ขบกัดไปมา |
||
บ่ได้หยุดหย่อนผ่อนแรง | |||
สองกระบี่มีฤทธิ์เข้มแข็ง |
สู้กันกลางแปลง |
||
ว่องไวเสมือนหนึ่งจับผัน | |||
อ้ายลิงดำพลิกพลาดลง |
อ้ายลิงขาวใจฉกรรจ์ |
||
ขยิบขยับจับกร" | |||
ฯลฯ |
1.4 ออกฤาษี ฤาษีเป็นรูปครู ออกเชิดเพื่อคารวะครู และปัดเป่าเสนียดจัญไรต่างๆ วิธีเชิดใช้ไม้เท้าออกล่องจอตรงมุมขวา มุมซ้าย และกลางจอจุดละครั้ง แล้วเหาะผ่านจอจากขวาไปซ้าย ถอยหลังช้าๆ เป็นจังหวะจากมุมจอซ้ายกลับมาขวา |
1.5 ออกรูปฉะ คือออกรูปฉะพระรามและทศกัณฐ์ต่อสู้กัน มีบทพากย์ดังนี้ "ข้าจะไหว้พระราเมศวร์รัศมี ต่อต้านไพรี ด้วยเจ้าพระนครลงกา |
"ข้าจะไหว้พระราเมศวร์รัศมี |
ต่อต้านไพรี |
||
ด้วยเจ้าพระนครลงกา | |||
แจ้งเรื่องอสุรกายยักษา |
ทศเศียรอสุรา |
||
พร้อมด้วยอิทรชิตฤทธิรอน | |||
ข้าจะไหว้พระลักษณ์พระรามผู้ทรงศร |
นิลเพชรจะเห็จจร |
||
พร้อมด้วยหนุมานชาญชัย" |
1.6 ออกรูปพระอิศวร เพื่อบูชาพรอิศวรผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการบันเทิง ธรรมเนียมการออกรูปพระอิศวรจะเริ่มด้วยเชิดรูปให้ผ่านจอส่วนบนอย่างช้าๆ โดยให้เห็นเงาเพียงรางๆ อวดท่าเชิดให้เห็นความมีอำนาจของศิวเทพและความพยศของโคทรง แล้วปักรูปกลางจอ ร่ายมนตร์ไหว้เทพเจ้าและครูหนัง จบแล้วเชิดเข้าโรง สำหรับบทพากย์ร่ายมนตร์มีหลายสำนวน ในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียงสำนวนเดียว ดังนี้ |
"โอมนะข้าจะไหว้พระบาทเจ้าทั้งสามพระองค์ |
||||
พระอิศวรผู้ทรง | พระยาโคอุสุภราชฤทธิรอน | |||
เบื้องขวาเบื้องขวาข้าจะไหว้พระนารายณ์สี่กร |
||||
ทรงครุฑระเหิรจร | พระชินรินทร์เริงรงค์ | |||
เบื้องซ้ายข้าจะไหว้ท้าวจตุรพักตร์ผู้ทรง |
||||
พระมหาสุวรรณเหมหงส์ | ทรงศักดิ์พระอิทธิฤทธิ์เรืองนาม | |||
สามเอยสามองค์ทรงภพไปทั้งสาม |
||||
สามโลกเกรงขาม | พระเดชพระนามลือขจร | |||
เรืองเอยเรืองเดชเรืองเวทย์เรืองพร |
||||
ทั่วฟ้าและดินดอน | ขจรทั่วจบภพไตร | |||
ราเอ๋ยราตรีอัคคีมาจ่อแจ่มใส |
||||
หนังส่องกับแสงไฟ | ดูวิจิตรลวดลาย | |||
โอบพร้อมมหาพร้อมพร้อมด้วยดนตรีปี่เป่าทั้งหลาย |
||||
ชูชื่นแสนสบาย | ยักย้ายอรชรอ่อนออ | |||
เอาหนังโคมาทำเป็นรูปพระอิศวรนารายณ์เจ้า |
||||
อาทิตย์เมื่อลับเล่า | แสงสว่างกระจ่างไป | |||
เอาไม้ไผ่สี่ลำเข้ามาทำมุมจอ |
||||
สี่มุมหุ้มหอ | ตรงกลางใช้คาดด้วยผ้าขาว | |||
เอาหนังโคมาทำเป็นรูปพระอิศวรนารายณ์เจ้า |
||||
อาทิตย์เมื่อลับเล่า | แสงสว่างกระจ่างไป | |||
ศรีศรี สวัสดีมีชัย |
||||
เล่นสถานแห่งใด | มีลาภล้นโดยหวัง | |||
และขอให้มีจิตตาพลัง |
||||
ห่อหุ้มคุมขัง | อันตรายอย่าให้มีมา บัดนี้" |
1.7 ออกรูปกาศ รูปกาศเป็นตัวแทนของนายหนังทำเป็นรูปชายหนุ่มถือดอกบัว วิธีเล่น จะร้องกลอนสั้นๆ เป็นทำนองไหว้พระก่อน เชิดรูปออกจอทำท่าสวัสดีผู้ชม เชิดรูปในท่าเดิน แล้วปักรูปในท่าสวัสดี จากนั้นร้องกลอนไหว้ครูสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่หนังเคารพนับถือ เป็นทำนองฝากเนื้อฝากตัว ดังตัวอย่างกลอน |
"บูชาพระเจ้าทั้งห้าพระองค์ |
|||
ผู้ประเสริฐเลิศหล้าบุญญาทรง | เป็นมิ่งมงคุณธรรมล้ำโลกา | ||
หนึ่งพระกกุสันโธเจ้า | พระโคดมท่านเฝ้ารักษา | ||
พุทธกัสปะเจ้าเฝ้าบูชา | ทั่วทั้งพระสมณะโคดม | ||
พระศรีอริยเมตไตรยัง | พระระวังเหนือเกล้าให้อยู่เฝ้าผม" | ||
ฯลฯ |
1.8 ออกรูปบอกเรื่อง หนังส่วนใหญ่ใช้รูป อ้ายขวัญเมือง เป็นรูปบอกเรื่องถือเป็นตัวแทนของนายหนัง เช่นเดียวกับรูปกาศ การออกรูปบอกเรื่องจะให้รูปโผล่หัวขึ้นกลางจอ ยกมือไหว้ผู้ชม ๓ครั้ง แล้วบอกเรื่องทั่วๆ ไปกับผู้ชม เช่น แนะนำคณะหนัง สาเหตุที่ได้มาเล่น ขอบคุณผู้ชม เป็นต้นตอนสุดท้ายจะบอกให้ผู้ชมทราบว่า ในคืนนี้หนังจะแสดงเรื่องอะไร ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นหน้าที่หลักของการออกรูปบอกเรื่อง จากนั้นอวยพรแก่ผู้ชม แล้วเข้าโรง |
1.9 เกี้ยวจอ เป็นการร้องกลอนสั้นก่อน ตั้งนามเมือง กลอนส่วนใหญ่จะเน้นให้เป็นคติสอนใจแก่ผู้ชมบางครั้งมีการชมธรรมชาติบ้าง หรือพรรณนาความในใจบ้างก่อนร้องกลอนนายหนังจะเอารูปเจ้าเมืองกับนางเมือง (กษัตริย์และพระมเหสี) ออกมาปักไว้หน้าจอ ตัวอย่างกลอนเช่น |
"อาทิตย์ ดับลับฟ้าภาณุมาศ |
พระจันทร์สาดลอยสว่างกลางเวหา |
||
น้ำค้างติดปลิดปรอยย้อยลงมา | พระพายพากลิ่นสุคนธ์วิมลมาลย์ | ||
มาลาน้อยลอยลมค่อยชมรส | ดอกยังสดน่าถนอมทั้งหอมหวาน | ||
มีผ้าคลุมหุ้มห่อช่อโพตาน | ห่อไว้นานขาวขำดังสำลี" |
1.10 ตั้งนามเมือง เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องโดยสมมุติขึ้นเป็นเมืองแห่งหนึ่งตามนิยายที่นำมาแสดง การตั้งนามเมือง นายหนังจะนำรูปเจ้าเมืองและมเหสีออกมาปักหน้าจอแล้วว่ากลอนบรรยายสภาพบ้านเมือง บอกนามเมืองและชื่อตัวละคร ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังตัวอย่าง |
"นครังยังมีนคเรศ |
เป็นขอบเขตใหญ่โตรโหฐาน |
||
กำแพงป้อมล้อมรอบมาช้านาน | ทั่วสถานรุ่งโรจน์ปราโมทย์ใจ | ||
สมณะชีพราหมณ์ยามสงบ | เฝ้าเคารพพระธรรมประจำนิสัย | ||
มีทหารอยู่พร้อมเพรียงล้วนเกรียงไกร | นอกและในถือปืนบ้างยืนยุทธ" | ||
ฯลฯ |
หลังจากตั้งนามเมืองแล้ว หนังตะลุงจะเล่นดำเนินเรื่องไปตามนิยายที่นำมาแสดง สำหรับเรื่องที่แสดง เดิมทีเล่นเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมาเล่นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งผูกขึ้นเองบ้างได้จากชาดกบ้างเช่น ลักษณวงศ์ โคบุตร หอยสังข์ พระรถเสน แก้วหน้าม้า โคคาวี (เสือโค) และนางแตงอ่อน เป็นต้น ต่อมาเมื่อภาพยนตร์และนวนิยายได้รับความนิยมจากชาวบ้าน หนังตะลุงก็หันมานิยมแสดงเรื่องแบบภาพยนตร์และนวนิยายด้วย |
ลำดับขั้นตอนในการเล่นหนังตะลุงดังกล่าวมานี้ สมัยก่อนถ้าออกรูปฉะก็ไม่ต้องออกรูปพระอิศวร ถ้าออกรูปพระอิศวรก็ไม่ต้องออกรูปฉะ ส่วนปัจจุบันหนังตะลุงเลิกออกลิงหัวค่ำและเลิกออกรูปฉะ ส่วนขั้นตอนอื่นยังคงเดิมทุกประการ |
การเล่นหนังตะลุงเพื่อความบันเทิงที่ถือว่าให้ความสนุกที่สุดก็คือตอนประชันที่เรียกกันในภาษาถิ่นใต้ว่า แข่งขันเพราะหนังทุกคณะที่เข้าประชันจะเล่นเพื่อเอาชนะจนสุดความสามารถ สมัยก่อนการแข่งขันหนังมักจะชิงจอ ชิงโหม่ง ชิงขันน้ำ พานรอง แต่ระยะหลังมีรางวัลแปลกๆ เช่น ฤาษีทองคำ พระพิฆเนศทองคำ พระอิศวรทองคำ อินทรีทองคำ และแหวนเพชร เป็นต้น |
การเล่นแข่งหนังมีขนบนิยมเช่นเดียวกันกับที่กล่าวแล้วมีกติกาที่คู่แข่งขันต้องปฏิบัติ คือ เมื่อ ตีโพนลาแรก (เวลาประมาณ 20.30 นาฬิกา) หนังจะ เริ่มลงโรง ตีโพนลาสองออกฤาษี ตีโพนลาสาม พักเที่ยงคืน ตีโพนลาสี่ แสดงต่อ ตีโพนลาห้า(เวลาประมาณ 0.5.00 นาฬิกา) กรรมการเริ่มการ เริ่มลงโรง ตีโพนลาสองออกฤาษี ตีโพนลาสาม พักเที่ยงคืน ตีโพนลาสี่ แสดงต่อ ตีโพนลาห้า(เวลาประมาณ 05.00 นาฬิกา) กรรมการเริ่มการตัดสินในตอนนี้หนังตะลุงจะปล่อยทีเด็ดเพื่อเรียกคนดูให้ได้มากที่สุดเรียกว่า ชะโรง หนังตะลุงคณะใดคนดูมากที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ |
![]() |
พิธีที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุง มี 2 อย่าง คือ พิธีครอบมือ และ พิธีแก้บนหรือแก้เห.ม.รย |
![]() |
เป็นพิธีกรรมที่หนังตะลุงจัดขึ้นเพื่อแสดงการยอมรับนับถือครูหนังแต่ครั้งบุพกาล โดยเชื่อว่าวิญญาณครูหนังแต่เก่าก่อน อันได้แก่ พระพิราบหน้าทอง ตาหนุ้ย ตาหนักทอง ตาเพชร และครูหนกครูลาย (ครูแกะสลัก) ยังคงดูแลวนเวียนดูแลทุกข์สุขของนายหนังตะลุงทุกคณะ หนังที่ออกโรงแสดงโดยไม่ผ่านพิธีครอบย่อมถูกลงโทษทัณฑ์จากครูดังกล่าวนี้ ในทางตรงข้าม หากผ่านพิธีโดยสมบูรณ์ย่อมได้รับการคุ้มครองให้มีความสุขสวัสดีและรุ่งเรืองในอาชีพ |
การประกอบพิธีครอบมืออาจมีขึ้นหลังจากผู้ประสงค์จะหัดเล่นหนังตะลุงเข้ามอบตัวต่อนายหนังอาวุโสซึ่งรับเป็นอาจารย์สอนวิชาเล่นหนังให้ หรืออาจจัดหลังจากหัดแสดงจนชำนาญพอโดยเลือกจัดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นของเดือน 4 เดือน 6 เดือน 9 หรือเดือน 11 วันใดวันหนึ่ง อุปกรณ์ในการประกอบพิธี นอกเหนือจากการแสดงอย่างธรรมดา ๆ แล้ว ยังมีธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม หมากพลู 9 คำ ดอกไม้ 9 ดอก ใบยอ ใบเงิน ใบทอง ไม้แกระ 1 คู่ ผ้าขาว 1 คู่ เครื่องสิบสอง บายศรี ไก่ปากทอง เป็ดปากทอง รูปหนังเพื่อเสี่ยงจับ 5 ตัว มีรูปพระ นาง ฤาษี ยักษ์ และเสนา ขันใส่น้ำ ภายในขันใส่มีดและหินลับมีด บนโรงดาดพาดเพดานลงมายังพื้นโรงที่วางเครื่องสังเวย บางแห่งยังโยงสายสิญจน์จากดาดเพดานขึ้นไปยังหิ้งครูหมอหนังบนเรือนผู้จัดพิธีอุปกรณ์ต่างๆ ที่จัดขึ้นนอกจากใช้เพื่อสังเวยครูแล้ว ยังจัดขึ้นเพื่อเอาเคล็ด เช่น ใช้ใบยอเพื่อความมีชื่อเสียงเป็นขวัญใจประชาชน ใช้ใบเงินใบทองเพื่อความมั่งคั่ง คือมีเงินทอง ไหลมาเทมาจากการแสดง ใช้มีดโกนและหินลับมีดเพื่อความเฉียบแหลม คมคาย สติปัญญาไหวพริบดี เป็นต้น |
ในการประกอบพิธีนุ่งขาวห่มขาวส่วนผู้ที่เข้าพิธีแต่งธรรมดา การประกอบพิธีเริ่มแต่หัวค่ำ คือประมาณเวลาที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยามนกชุมรัง" โดยลูกคู่โหมโรงไปพักหนึ่ง ผู้ประกอบพิธีทำพิธีเบิกโรง นำดอกไม้ ธูป เทียนวางบนแกระ จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกเครื่องเซ่นสังเวยครู การตั้งเซ่นจะแยก 2 ที่ สำหรับพระพิราบหน้าทองซึ่งมีศักดิ์เป็นเทพที่หนึ่ง และครูต้นอื่นๆ ซึ่งเป็นบริวารอีกทีหนึ่งจากนั้นเริ่มไหว้สัดดีเชื้อครู เชิญพระพิราบหน้าทองและบริวารเข้าสู่พิธีเบิกบายศรี เสร็จแล้วเข้าพิธีกราบครู 9 ครั้ง อาจารย์ผู้ประกอบพิธีให้พรแล้วเสี่ยงจับรูป โดยเอาผ้าห่อรูปสำหรับเสี่ยงจับให้โผล่แต่ไม้ตับ ให้ผู้เข้าพิธีปิดตา เลือกจับเอาเพียงตัวเดียว ได้รูปใดก็ทำนายตามคำโบราณ ซึ่งมีว่า |
- ถ้าจับได้รูปพระ (รูปพระราม) ต่อไปจะเป็นหนังดี มีชื่อเสียง มีชัยชนะแก่หนังทั้งปวง |
- ถ้าจับได้รูปนาง จะเป็นหนังที่อยู่ในความนิยมของสตรี แสดงหนังได้อ่อนหวาน แต่มีชื่อเสียงไม่เท่าที่ควร |
- ถ้าจับได้ฤาษี จะเป็นหนังที่ดีแต่สอนผู้อื่น แต่ตัวเองทำได้ไม่เท่าที่สอน |
- ถ้าจับได้รูปยักษ์ จะไม่ค่อยมีชื่อเสียง และชอบใช้วิชาไสยศาสตร์กลั่นแกล้งหนังโรงอื่น |
- ถ้าจับได้รูปเสนา จะดีทางตลกขบขัน |
เมื่อเสร็จการทำนายทายทักแล้ว อาจารย์จะยื่นรูปที่จับได้นั้นให้ผู้เข้าพิธีเชิดออกจอ เป็นเสร็จพิธี หลังจากนั้นก็อาจให้แสดงซึ่งถือเป็นเรื่องสนุกกันมากกว่า ไม่นับเนื่องในพิธีดังกล่าวแล้ว |
![]() |
เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ซึ่งเรียกว่า เห.ม.รย หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเห.ม.รย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบ |
ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มารับ |
เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเห.ม.รย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดต่อเห.ม.รย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เรียกว่า ตัดเห.ม.รย เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป |
![]() โอกาสและกำหนดเวลา |
![]() |
![]() กลอนและลีลากลอน |