![]() |
![]() |
วัฒนธรรมการเล่นหนังหรือละครเงา (Shadow Plays) ปรากฏในแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่ของโลกมาแต่โบราณ เช่น อียิปต์ จีน อินเดีย และเกือบทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปหนังที่ใช้เล่นมี 2 แบบ คือ ชนิดที่ส่วนแขนติดกับลำตัว มีขนาดใหญ่ เช่น หนังใหญ่ของไทย และหนังสเบก (Nang Sbek) ของเขมร และชนิดที่ส่วนแขนฉลุแยกจากส่วนลำตัวแต่ร้อยหมุดให้ติดกัน เคลื่อนไหวได้ เช่น หนังอยอง (Nang Ayong Jawa) ของชวา และหนังตะลุงของไทย หนังตะลุงเป็นการเล่นที่มีมาแต่โบราณ จึงไม่ทราบประวัติความเป็นมาที่แน่ชัด และมีข้อสันนิษฐานต่างกันหลายกระแส เช่น |
เสริมวิทย เรณุมาศ เห็นว่าเรารับวิธีการแสดงหนังตะลุงมาจากชวา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย) โดยชวารับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง หนังชวาผ่านมาทางมลายูและมาเริ่มขึ้นในภาคใต้ที่บ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง อนึ่ง เหตุที่ได้ชื่อว่าหนังตะลุงน่าจะสันนิษฐานได้ 3 ทาง คือ |
1. มาจาก หนังไทลุง (ไทลุง คือ ไทยที่อพยพมาอยู่ทางภาคใต้) |
2. มาจาก หนังฉะลุง ฉะลุง หมายถึง เสาผูกช้าง ครั้งแรกที่หนังแขกเข้ามาแสดงได้ขึงจอกับเสาผูกช้าง ต่อมาเพี้ยนเสียง ฉะลุง เป็นตะลุง |
3. มาจาก หนังพัทลุง คือ เมื่อ พ.ศ.2419 พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ (วร บุนนาค) นำหนังจากพัทลุงไปแสดงถวายทอดพระเนตรที่บางปะอิน ชาวภาคกลางทราบว่าหนังไปจากพัทลุงจึงเรียกว่า หนังตะลุง จาก บทกาศครูหนังตะลุง หลายสำนวนกล่าวถึงความเป็นมาของหนังตะลุงไว้ทำนองเดียวกันว่า ตาหนักทอง (บางสำนวนว่า ตาฟักทอง) ตาก้อนทอง (บางสำนวนว่า ตาหนุ้ย) ทหารประจำกองช้างเมืองนครศรีธรรมราชได้เห็นหนังแขกที่เมืองยะโฮร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย) เกิดชอบใจจึงนำมาเล่นในกองช้าง ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า ตะลุง หรือ หลุง เช่น |
"ครูฝักทองก้นทองสองครูเฒ่า |
เป็นครูแรกเดิมกล่าวนานหนักหนา |
||
เลียนเอาอย่างอ้างเอาแบบแอบเอามา | จากชวาคิดเล่นเป็นทำนอง | ||
ตามภาษาปราชญ์รักในปักษ์ใต้ | เมื่อมีงานการแล้วได้เล่นฉลอง | ||
แบบครั้งกรุงศรีวิชัยได้ปกครอง | ด้ามขวานทองเมืองนครโบราณกาล | ||
กองช้างศึกนครศรีก็มีครบ | ครั้นว่างรบแล้วบรรดาโยธาหาญ | ||
สร้างตะลุงหลุงลำประจำการ | พนักงานหนังตะลุงสนุกกลาง | ||
เอาไม้ไผ่สี่ลำทำจอหนัง | ผ้าขาวบังข้างในไฟสว่าง | ||
รูปสมมติขุดกับหนังโคบางบาง | เอาตัวอย่างแบบวายังหนังชวา" |
(จากนายรื่น เชื้อแหลม ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา) |
"ตะลุงหมายถึงหลักปักล่ามช้าง |
โบราณอ้างเรียกว่าตะลุงหลุง |
||
ที่ช้างพักหลักตั้งหนังตะลุง | แรกคราวกรุงศรีวิชัยเมืองนคร | ||
ราชธานีนครศรีธรรมราช | ประวัติศาสตร์แห่งธานีมีนุสรณ์ | ||
ประเทศไทยปักษ์ใต้ฝ่ายนคร | สมัยก่อนถึงยะโฮร์แรกโบราณ | ||
ทางการไทยไปยะโฮร์ต้องขี่ช้าง | การเดินทางเป็นกระบวนล้วนทหาร | ||
ถึงที่นั้นต้องรับเป็นทางการ | ต้องมีงานสนุกทุกครั้งไป | ||
เห็นหนังแขกขับขานการละเล่น | จำเชิงเช่นจอมจิตคิดเลื่อมใส | ||
ตาหนักทองก้อนทองกองช้างไทย | ความสนใจลองเล่นเป็นพิธี | ||
เริ่มแรกเล่นเป็นตะลุงช้าง | จะต้องอ้างเอาเป็นหลักเป็นสักขี | ||
คำไหว้ครูผู้เฒ่าเข้าพิธี | ผ้าขาวสี่มุมตึงขึงจอบัง | ||
ใช้ไม้ไผ่สี่ลำทำเป็นจอ | ขึงสี่มุมหุ้มห่อเรียกจอหนัง | ||
ข้างภายในห้อยตะเกียงเหวี่ยงระวัง | แล้วใช้หนังโคทำจำลองคน" |
(จากหนังจู่หิ้น เสียงเสน่ห์ "ชุมนุมหนังตะลุงคำกลอน" ในวันชุมนุมตะลุง หน้า1 - 2) |
เขมะชาติ กาฬสุวรรณ มีความเห็นว่า หนังตะลุงเกิดขึ้นที่เขายาโฮ้ง ตำบลชะรัตน์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ภูเขานี้บางคนออกเสียงเพี้ยนเป็น ยะโฮ ดังปรากฏใน บทพลายงาม ของโนราว่า |
"ฝนตกข้างเหนือเหว |
โดนมันลงมาฉาฉา |
||
แทงท่อลงมา | โถกเขาพระยากรุงจีน | ||
โถกข้างหัวนอน | ทะลายไปข้างเกาะตีน | ||
โถกเขาพระยากรุงจีน | ต่อด้วยเชิงเขา"ยะโฮ | ||
พี่จะบ้าไปตามน้อง | เหมือนเจ้าพลายทองมันตามโขลง | ||
ช้างก็ไปไม่ลืมโรง | โขลงไปไม่ลืมน้องหนา" |
เมื่อเป็นดังนี้จึงเข้าใจว่าเป็นยะโฮร์ ในมาเลเซีย จริงๆ แล้วหนังตะลุงเกิดที่เขายะโฮ หรือยาโฮ้ง นี้เอง อนึ่งใกล้ๆ กับเขานี้ยังมีเขา หลักโค เล่าเป็นตำนานว่า พระอิศวรทรงล่ามโคอศุภราชที่เขานี้แล้วเริงระบำ เหตุนี้จึงเป็นที่มาของการออกรูปพระอิศวรที่หนังตะลุงเรียกว่า ออกโค |
ธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวว่า "มหรสพหน้าขึ้นตาของชาวไทยในสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือ หนัง ซึ่งเราเรียกกันในภายหลังว่า หนังใหญ่ เพราะหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็ก เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงเติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป สำหรับหนังใหญ่ตามหลักฐานที่ปรากฎในสมุทรโฆษคำฉันท์บอกว่ามีมาก่อนสมัยพระนารายณ์ฯ" ดังนั้น ตามทรรศนะของธนิต อยู่โพธิ์ หนังตะลุงจึงเกิดขึ้นหลังรัชกาลดังกล่าว แต่จะเป็นช่วงใดไม่ได้สันนิษฐานไว้ |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นของใหม่ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวบ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง คิดเอาอย่างหนังชวามาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วแพร่หลายไปยังที่อื่น และในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เองที่หนังตะลุงได้แสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรก เมื่อปีชวด พ.ศ.2419 |
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ มีความเห็นว่า หนังตะลุงคงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีวัฒนธรรมอินเดียปนอยู่ด้วยโดยยกเหตุผลประกอบดังนี้ |
1. การออกรูปฤาษีและรูปพระอิศวรของหนังตะลุงมักขึ้นต้นด้วย โอม ซึ่งเป็นคำแทนเทพเจ้าสามองค์ของพราหมณ์ (โอม มาจาก อ + ม อ = พระวิษณุ, อุ = พระศิวะ, ม = พระพรหม) |
2. รูปหนังตัวสำคัญ ๆ มีชื่อเป็นคำสันสกฤต เช่น ฤาษี อิศวร ยักษ์ นุด (มนุษย์ = รูปที่เป็นพระราชโอรสของเจ้าเมือง) ชื่อตัวประกอบที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤตก็มี เช่น ทาสี เสหนา (เสนา) |
3. ลักษณะรูปหนังตัวสำคัญๆ มีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระราชาทรงศรหรือไม่ก็ทรงพระขรรค์เครื่องทรงของกษัตริย์ก็เป็นแบบอินเดีย รูปประกอบก็บอกลักษณะวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ปราสาท ราชวัง ต้นรัง (ต้นสาละ) |
4. ลักษณะนิสัยตัวละครบางตัวมีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระอินทร์คอยช่วยเหลือผู้ตกยาก มียักษ์เป็นตัวมาร ตัวละครบางตัวมีความรู้ทางไสยศาสตร์ |
5. เนื้อเรื่องแบบโบราณจริงๆ นิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ตอนหลังแม้จะเล่นเรื่องอื่นๆ แต่ในพิธีแก้บนจะเล่นเรื่องรามเกียรติ์ |
อุดม หนูทอง มีทรรศนะเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงว่า หนังตะลุงเป็นการเล่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากขนบนิยมในการแสดงและหลักฐานอื่นๆ ดังนี้ |
1. เรื่องที่แสดง ปรากฏจากคำบอกเล่าและบทกลอนไหว้ครูหนังหลายสำนวนว่า เดิมทีหนังตะลุงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ดังตัวอย่างกลอนไหว้ครูของหนังอนันต์ตอนหนึ่งว่า |
"เรื่องรามเกียรติ์เล่นแต่ตอนปลาย หนุมานพานารายณ์ไปลงกา" |
2. ลำดับขั้นตอนในการแสดง มีการออกลิงดำลิงขาวหรือ ออกลิงหัวค่ำ (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ออกฤาษี ออกโค (ออกรูปพระอิศวรทรงโค) ออกรูปฉะ คือ รูปพระรามกับทศกัณฐ์ต่อสู้กัน (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ธรรมเนียมเหล่านี้แสดงร่องรอยของอิทธิพลพราหมณ์ทั้งสิ้น |
![]() ประวัติความเป็นมา |
![]() |
![]() องค์ประกอบในการแสดง |