http://www.tungsong.com
Home
| Guestbook
|Local Agenda 21
|Download Document

 
[ บทนำ ] [ LOCAL AGENDA 21 ]

        การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เนื่องจากแผนแม่บทของชาติยังไม่ได้กำหนดให้ชัดเจน แผนระดับภูมิภาคก็ยังไม่ได้เริ่มต้นการสนับสนุนต่อท้องถิ่นยังเป็นรูปแบบเดิม ที่ออกมาจากส่วนกลางในรูปของการสนับสนุน ให้เหมือนกันทุกเทศบาลและสุขาภิบาล โดยใช้หลักเกณฑ์ชี้นำในเรื่องความขาดแคลนตัวอย่างเช่น การจัดซื้อรถน้ำเพื่อแจกจ่ายให้กับท้องถิ่นที่ขาดแคลนน้ำ โดยส่วนกลาง จัดซื้อรวมส่งไปให้ หรือโครงการใหม่ที่นำเสนอโดยการจัดซื้อรถเก็บขนขยะขนาด 4 ลูกบาศก์หลา ให้ท้องถิ่น เป็นโครงการที่ดูแล้วยังขาดแผนยุทธศาสตร์ที่แท้จริง เพราะการได้เก็บขยะมาแล้วไม่ได้แก้ปัญหาให้ท้องถิ่นแต่กลับไปสร้างปัญหา ให้เกิดมลพิษซ้ำซ้อนขึ้นมาเพราะรถเก็บขยะแต่อย่างเดียว ไม่ได้กำจัดขยะให้หมดสิ้นไปอย่างถาวร การขนขยะแล้วไปทิ้ง (Dump) ที่อื่น โดยไม่มีการขุดกลบให้ถูกสุขลักษณะ (Sanitary Landfilled) ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องมีความรู้ในการขุดกลบ ต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือ และต้องมีที่ดินที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษซ้ำสอง การขนทิ้งแบบเปิด กลับสร้างมลภาวะก่อให้เกิดพาหะนำโรคขึ้นและในที่สุดเกิดโรคระบาด และกลิ่นเหม็นจนพื้นที่นั้น ๆ ขาดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ในประเทศเกาหลีใต้ใช้ระบบถมขึ้นเป็น ภูเขา มีดินกลบเพื่อสร้างเป็นภูเขา ในจุดมุ่งหมายเดิม
คือจะเป็นสวนสาธารณะ แต่จนบัดนี้ 20 ปีให้หลัง พื้นที่บริเวณนั้นมีกลิ่นเหม็น ที่พักอาศัยถูกทิ้งร้าง อพยพไปอยู่ที่อื่น เป็นที่ประจักษ์ว่า การวางแผนให้ใหญ่โต รวมไว้จุดเดียว (CENTRALIZATION) จะก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมชัดเจน ในประเทศไทย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เริ่มมีปัญหาการจัดการขยะแล้วเกิดปัญหามลภาวะที่เป็นพิษซ้ำซ้อนเพราะไม่ได้วางแผนพัฒนาอย่างยั่งยืน (SUSTAINABLE DEVELOPMENT) การกระจายการจัดการ (DECENTRALIZATION) จะเป็นการวางแผนยุทธศาสตร์ใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจกันให้ดีว่า การกระจาย การจัดการ การกระจายอำนาจในการจัดการ การกระจายงบประมาณไปให้ท้องถิ่น ได้มีโอกาส คิดเอง ทำเอง จะสร้างจิตสำนึกให้กับท้องถิ่น เทศบาล สุขาภิบาล และตำบล ให้ผู้บริหารท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนของตนเอง ต่างคนต่างทำ โดยแผนงานที่มีประสิทธิภาพ เพรียบพร้อมไปด้วยหลักวิชาการที่ทันสมัย และปรับปรุงนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

ถ้าหากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับกระทรวง ระดับภูมิภาค จังหวัด ไม่ดูถูกภูมิปัญญาของท้องถิ่น
เทศบาล สุขาภิบาล ตำบล โดยหันหน้าเข้าหากัน เจ้าหน้าที่กระทรวงส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดได้ลงไปสัมผัสกับท้องถิ่น อย่างจริงจัง ข้อมูลข่าวสารและการประสานงานให้สอดคล้องมีประสิทธิภาพ สนับสนุนท้องถิ่นด้วยความจริงใจ โดยการกระจายอำนาจและกระจายทรัพยากร โดยเฉพาะทางด้านการเงินและวิชาการที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่แพงจนเกินไป และมีประสิทธิภาพเต็มคุณลักษณะ โดยการตรวจสอบจากผู้ใช้จริง สามารถเรียกร้องเมื่อมีข้อขัดข้อง ได้รวดเร็วเพียงพอ ยุทธศาสตร์กระจายหน้าที่ กระจายความรับผิดชอบ กระจายอำนาจเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรื่องการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (DECENTRALIZATION) ไปยังภูมิภาค ไปยังกลุ่มเทศบาลที่รวมตัวเป็นภาค เป็นกลุ่มย่อยในภาค 7-8 เทศบาลและกระจายไปยังเทศบาล สุขาภิบาลแล้วการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SUSTAINABLE DEVELOPMENT) จะเกิดขึ้นทั่วทุกหนทุกแห่ง การสร้างภาพจินตนาการจากบนไปล่างจากล่างขึ้นบน จะต้องสอดคล้องด้วยระบบสารสนเทศ (INFORMATION TECHNOLOGY) จะต้องสร้างภาพของความคิดทกว้างไกล แล้วนำมาปฏิบัติในท้องถิ่นให้เกิดผล (THINK GLOBALLY ACT LOCALLY) แผนของกระทรวงมหาดไทยโดยสำนักพัฒนาเมืองได้เขียนไว้บนหนังสือที่สวยงามมีคุณภาพ แต่ยังเป็นแผนงานกระดาษ การนำมาปฏิบัติจริง โดยกำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติของท้องถิ่น ศตวรรษที่ 21 (LOCAL AGENDA 21) จะต้องเริ่มต้นในปีนี้ให้ได้ (พ.ศ.2538) ทุกเทศบาลจะต้องร่วมมือร่วมใจทำความเข้าใจในแผนยุทธศาสตร์ ทุกเทศบาลจะต้องออกทุนรอนกันพอสมควร เพื่อให้ได้รับวิทยาการที่ถูกต้องต้องพัฒนาบุคลากรภายในเทศบาลและในชุมชนเอง

ปัญหาต่าง ๆ ของมลภาวะที่เกิดขึ้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสม และมีประสิทธิผลที่สุด
ต้องมีการพัฒนาคน (HUMAN RESOURCE) ทรัพยากรมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อม รถขนขยะพันคันหมื่นคัน ก็เก็บขยะไม่หมดถ้าคนยังทิ้งขยะ ยังสร้างขยะมากมาย แนวคิดการใช้แล้วทิ้งเพียงครั้งเดียวอย่างอเมริกัน (DISPOSIBLE) เริ่มเปลี่ยนแปลงโดยชาวอเมริกันเองมาเป็นนำกลับมาใช้ใหม่ (REUSE RECYCLING) หนทางรอดของมวลมนุษย์ในโลกนี้ ต้องรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ ให้มีประโยชน์มากที่สุด ใช้จนไม่สามารถใช้ได้ แล้วเปลี่ยนไปรูปอื่น ให้เกิดประโยชน์จนเป็นธุลีอยู่ในเชิงตะกอน เป็นเศษเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่กลายเป็นอากาศธาตุไป ปัญหาต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยความรู้สึก แต่จะแก้ได้โดยการวางแผนที่ดีมีศิลปะ ในการนำยุทธวิธีมาดำเนินการ โดยการคาดคะเนอนาคตได้แม่นยำแล้วมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางโดยการจัดการดำเนินการตามแผนด้วยความตั้งใจจริงจากทุกฝ่าย ตั้งแต่ ท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติ และระดับโลก

แผนยุทธศาสตร์ (STRATEGIC PLANS) เป็นแผนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ท้องถิ่นจะต้องรู้
สิ่งที่ตีพิมพ์ออกมา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น คือพนักงานเทศบาลจะต้องรับรู้แผนยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงภายใน การควบคุมการปฏิบัติภายในสำนักงานจะต้องถูกยกเครื่อง (REENGINEERING) การควบคุมการปฏิบัติงานจะต้องเป็นไปโดยตนเอง การรอคำสั่งนาย หรือการรอการเสนอจากลูกน้อง จะต้องถูกปรับเปลี่ยนจิตสำนึก (CONCEPTS) มีการฝึกอบรมโดยวิทยากรที่ทันสมัย โดยมีวิธีการที่จะสร้างความคิด หรือจิตใจสร้างสรรค์ (CREATIVE MIND) จะต้องเกิดขึ้นกับพนักงานเทศบาลทุกคน ทุกกอง ทุกฝ่าย การวิ่งเต้นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ต้องถูกกำจัดให้หมดไป แรงจูงใจต่าง ๆ ต้องเกิดขึ้นเพื่อให้ทุกคน ทุกเทศบาล มีบุคลากรที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน การกระจายหรือเผยแพร่สารสนเทศ หรือข้อมูลข่าวสารที่ดีพอ จะต้องมีจุดเริ่มต้นที่มีคุณภาพ สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เป็นจุดรวมของเทศบาล 140 แห่ง จะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยคณะทำงานที่ผสมผสานกัน ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ความร่วมมือกันในส่วนต่าง ๆ นี้จะต้องเป็นกระบวนการ (PROCESS) ที่ต่อเนื่องยั่งยืน กุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ความสำเร็จ ของการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะต้องเริ่มต้นด้วย ทรัพยากรมนุษย์กลุ่มนี้ก่อน การยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นยุทธปัจจัยที่จะต้องถูกปรับเปลี่ยน ความคิดริเริ่มต่าง ๆ จะต้องได้รับการพินิจพิจรณา วิเคราะห์แล้วแปรผลออกมาให้เร็ว สิ่งใดได้ผลต้องนำไปเผยแพร่กระจายออกไปยังส่วนต่าง ๆ

การกระจายหรือเผยแพร่สารสนเทศ หรือข้อมูลข่าวสารที่ดีพอ จะต้องมีจุดเริ่มต้นที่มีคุณภาพสันนิบาต
เทศบาลแห่งประเทศไทย เป็นจุดรวมของเทศบาล 140 แห่ง จะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยคณะทำงานที่ผสมผสานกัน ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ความร่วมมือกันในส่วนต่าง ๆ นี้จะต้องเป็นกระบวนการ (PROCESS) ที่ต่อเนื่องยั่งยืน กุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ความสำเร็จ ของการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะต้องเริ่มต้นด้วย ทรัพยากรมนุษย์กลุ่มนี้ก่อน การยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นยุทธปัจจัยที่จะต้องถูกปรับเปลี่ยน ความคิดริเริ่มต่าง ๆ จะต้องได้รับการพินิจพิจรณา วิเคราะห์แล้วแปรผลออกมาให้เร็ว สิ่งใดได้ผลต้องนำไปเผยแพร่กระจายออกไปยังส่วนต่าง ๆ

โครงสร้างที่เริ่มแบ่งเป็นภาค ๆ แต่ละภาคประมาณ 30 เทศบาล จะต้องจับมือประสานกันให้แน่น
การประชุมระดับภาคจะต้องมีคุณภาพให้มากพอที่จะมีกิจกรรม สร้างสรร พนักงานเทศบาล ผู้บริหารของเทศบาลระดับ หัวหน้ากอง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม และระเบียบการปฏิบัติการของท้องถิ่นในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศตวรรษที่ 21 (LOCAL AGENDA 21) จะต้องได้รับความสนใจจากทุกคนในท้องถิ่น ในภูมิภาค ในระดับชาติ แต่กุญแจสำคัญที่สุดอยู่ที่บุคลากรในท้องถิ่น ต้องมียุทธวิธี ยุทธภัณฑ์ และยุทธปัจจัย ที่จะนำเทศบาลไปสู่เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์อะไรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะต้องมีหลายปัจจัยที่เป็นกุญแจ
ไปสู่ความสำเร็จที่จะต้องนำมาพูดก่อนก็คือ ชุมชน คนในชุมชนต้องร่วมมือ ต้องเป็นหุ้นส่วน (PARTNERSHIP) เพราะทุกคนเป็นผู้ที่ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเลวลง ทุกคนจึงต้องมีส่วนเข้ามาเกื้อหนุนให้สภาพแวดล้อมของตนเองคืนสู่สภาพที่ดี เศรษฐกิจพัฒนาไปตามวิถีของการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของโลกแต่ทุกคนต้องคำนึงถึงว่าจะต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมจนเลวร้าย

คนเรามีความจำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัย จะต้องสร้างบ้านมีเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ถ้าต้องตัดไม้ให้หมดทั้ง
ประเทศเพื่อให้ทุกคนมีที่อยู่อาศัยแล้วเกิดเหตุเภทภัยให้อากาศวิปริต ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน และฝนตกหนักน้ำท่วมในหน้าฝน มีอากาศที่แสนจะเลวร้าย ถ้าทุกคนนำไม้มาใช้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อหุงต้ม เพื่อเผาอิฐ เพื่อเผาหินปูน เพื่อเผาดิน และอื่น ๆ ที่เป็นความต้องการใช้พลังงาน ความเข้าใจเหล่านี้ จะมีไปทั่วทุกคน จึงต้องมีการทำความเข้าใจ

การอบรม สัมนา การสอน และฝึกหัดให้ทุกคนรู้จักคิด และใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ
การอบรมต่าง ๆ ใช้งบประมาณมากมายครั้งหนึ่ง ๆ หลายล้านบาท ถ้ารวมทั้งเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทางที่เทศบาลต้องออกเองด้วยความสำคัญในการอบรม จึงต้องนำกลับไปใช้ได้จริง การอบรมเพื่อให้ไปพักผ่อน นั่งฟังเลคเชอร์ ซึ่งบรรยายจากวิทยากรที่เก่งบ้าง ตัวแทนบ้าง แล้วกลับไป พร้อมกับเก็บแฟ้มบนหิ้งหนังสือเพิ่มขึ้นไป เพราะไม่ได้นำเสนอ ผู้บริหารระดับสูงไม่เข้าใจประชาชน การที่เข้ามาอบรมสัมนาก็ไม่สามารถจับประเด็นความสำคัญ ความต้องการของผู้บริหารได้ ความเข้าใจในการสัมนา เพื่อมาพบปะสังสรร หรือการหาเสียงจะต้องถูกปรับเปลี่ยนไป

การวางแผนนโยบาย เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองในประเด็นของคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ที่ดีเพื่อลูกหลานในอนาคตจะอยู่รอดและสุขสบายได้

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SUSTAINABLE DEVELOPMENT) คือวิถีของการพัฒนาเศรษฐกิจที่
สามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น เกื้อกูลความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของคนในชุมชน ให้ได้ประโยชน์ระยะยาว และจะต้องป้องกันความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวให้คงสภาพอยู่ได้นานอย่างถาวร คือเป้าหมายสำคัญที่สุดของมวลมนุษย์ปัจจุบัน ความคิดของคนในปัจจุบันต้องกว้างไกลไปทั่วโลก การทำเหมืองแร่ หรือตัดไม้ทำลายป่า นอกจากจะก่อให้เกิดผลเสียต่อท้องถิ่นแล้ว ยังทำให้เกิดมลพิษต่อโลกทั้งโลกด้วย การวางแผนยุทธศาสตร์แพร่หลายในภาคเอกชนการกำหนดเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ การกำหนดยุทธปัจจัย ทรัพยากรต่าง ๆ ได้ถูกกำหนดให้เกิดผลกำไร ให้ภาคเอกชนอย่างมากมาย สติปัญญาต่างหลั่งไหลไปยังภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งในส่วนตน จนบางครั้งการมองวิสัยทัศน์ที่แคบ เพื่อกลุ่ม เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของโลกมากจึง มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องให้ทุกท้องถิ่น ได้สร้างหุ้นส่วนหรือผู้มีส่วนร่วม ที่มีวิสัยทัศน์ร่วม (COMMON VISION) และจะต้องมีกระบวนการเพื่อจัดตั้ง และแสวงหาหุ้นส่วนเหมือนกับการแสวงหาหัวคะแนนร่วม (BYE-IN PROCESS) การสร้างความสัมพันธ์ในจิตใจของภาคเอกชนต่อท้องถิ่นจะต้องแสวงหา ไม่มีที่จะได้กันมาอย่างง่าย ๆ หรือลาภลอยมา

การลงทุนร่วมในความคิด ในทุนทรัพย์โดยจิตสำนึกที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมถอย จะต้องได้รับ
การสนองตอบจะต้องได้รับการชำระโดยกำหนดเป็นภาษี หรือจะต้องโดยการลงขัน หรือการบริจาคร่วม เพื่อสร้างสรรธรรมชาติให้คืนมา

ในประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่น ที่จังหวัดไซตามาเมืองหรือเทศบาลอูรามา มีโครงการอนุรักษ์
ป่าสงวนในกลางเมืองจะต้องได้รับ การสนับสนุนจากภาคเอกชนอย่างยิ่งเพราะสิทธิครอบครองที่ดินถูกจับจองหมดในภาคเอกชนเทศบาลจะต้องซื้อกลับคืนมาเป็นแนวคิดที่ถูกต้อง เทศบาลมีงบประมาณ 3,000 ล้านบาท จากภาษีที่ได้รับส่วนแบ่ง จากส่วนกลาง 45% เทศบาลจ่ายเงิน เพื่อซื้อที่ดินคืนได้ เทศบาลญี่ปุ่นมีเงินที่จะเสียค่าไฟฟ้าสาธารณะ ได้อย่างเหลือเฟือเพราะการกระจายรายได้นั้น ส่วนกลางได้แบ่งให้กับท้องถิ่นมากพอ มากกว่าประเทศไทย ที่แบ่งให้ท้องถิ่น 2% ในเงื่อนไขเดียวกัน คือเทศบาลต้องซื้อที่ดินเอง ต้องเสียค่าไฟสาธารณะในการบริหารพื้นฐานทางด้านสาธารณะสุข ทางด้านสิ่งแวดล้อม การศึกาา งบประมาณของญี่ปุ่นมากแล้วในเมืองไซตามา ได้รับเงินบริจาค จากภาคเอกชน 3,000 ล้านเยน หรือ 700 กว่าล้านบาท เพื่อสร้างความเขียวในเนิน เขากลางเมือง เพื่อให้นก สัตว์ป่า และแมลงได้อาศัยอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ภาคเอกชนท้องถิ่น ภูมิภาค และรัฐบาลกลาง ซึ่งแผนการปฏิบัติการท้องถิ่น 21 ได้ถูกกำหนดชัดเจน แล้วนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ข้อจำกัดของกฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี ได้ถูกพัฒนา ได้มีการอบรมสั่งสอน กันตั้งแต่ในโรงเรียน ในชุมชน ในโรงงาน ในท้องถิ่น ทุกคนต้องมีจิตสำนึก มีส่วนร่วมของทุกคน วิสัยทัศน์ของชุมชนชัดเจนมีการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเมือง กรรมการสิ่งแวดล้อมชุมชน กลุ่ม อนุรักษ์สีเขียว มีการกำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมายอย่างชัดเจน โดยประชาชนเอง มีแผนปฏิบัติของภาคเอกชน ของท้องถิ่น ของภูมิภาค ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน จับมือกันระหว่างท้องถิ่น แล้วลงขันจ่ายเงินเข้าส่วนกลาง เพื่อให้ได้แผนงาน นโยบาย สิ่งตีพิมพ์ การอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง การลงทุนเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ได้มีหุ้นส่วนในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเรา จะต้องเริ่มกันในปี 2538 ให้ได้ แผนปฏิบัติการของชาติจะต้องถูกกำหนดแผนการและระเบียบ ปฏิบัติการของท้องถิ่น ในปีนี้ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน สันนิบาตเทศบาลฯ ที่เป็นแกนกลางแบ่งกันเป็น 5 ภาค ร่วมมือกันลงทุน เพื่อให้ได้สิ่งตีพิมพ์ ได้ให้วิทยากรที่ชำนาญในทางอบรมให้เกิดผลทาง ปฏิบัติอย่างจริงจังในทุกภาค ทุกครั้งที่มีการประชุมภาค และนำไปสร้างหุ้นส่วนในท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กร มูลนิธิต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะต้องสร้าง ต้องแสวงหา ท้าทาย นายกเทศมนตรีทั่วประเทศ


back LOCAL AGENDA 21