Untitled

http://www.tungsong.com



ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

การปรับใช้หลักของนิเวศธรรมชาติเพื่อการผลิตในระบบนิเวศเกษตร

 

คงจะต้องยอมรับกันว่า มนุษย์ยังมีกิเลส ตัณหา ยกเว้นผู้ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งก็หาได้น้อย เมื่อ
เปรียบเทียบกับประชากรของมนุษย์ในปัจจุบันฉะนั้นตราบใดที่มนุษย์ยังมีความต้องการปัจจัยที่มากกว่านั้น พื้นฐานที่จำเป็นเช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหารและยารักษาโรค มนุษย์ก็คงจะต้องทำการผลิตให้ได้ผลผลิต เพื่อสามารถให้ได้เงินตรามาแลกเปลี่ยนกับปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่มนุษย์ต้องการ

 

ตัวกิเลส ตัณหา ที่มนุษย์ยังไม่สามารถจะขจัดให้หมดไปจากกมลสันดานของมนุษย์ได้นี้ จึงเป็นสาเหตุ
ประการสำคัญที่ให้มนุษย์มองการเกษตรแต่เพียวให้ได้ผลผลิตที่นำมาซึ่งกำไรสูงสุด สร้างความร่ำรวยให้แก่ตัวเองหรือกลุ่มของตน โดยขนาดความระแวดระวังต่อสภาพแวดล้อมที่ได้ถูกทำลายไปโดยวิถีการเกษครที่เรียกว่า "ปฏิวัติเขียว" (the green revolution) ซึ่งในที่สุดการเกษตรในวิธีการดังกล่าวนั้น ได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้เสื่อมโทรมพร้อมกับทำให้เกษตรซึ่งแบกรับความเสี่ยงของผลพวงดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นสภาพของฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ศัตรูพืชเกิดระบาด น้ำท่วมฉับพลัน รวมไปถึงราคาผลผลิตการเกษตรที่สตกต่ำอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดความอดยากยากจน หนี้สิน ครอบครัวแตกแยก ดังที่เกิดขึ้นในชนบทไทยปัจจุบัน จากสาเหตุดังกล่าวนี้ต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง โดยให้หันมาสนใจกับการเกษตรที่ใช้หลักการของการพึ่งพิงธรรมชาติให้มากขึ้น

 

การเกษตรที่พึ่งพิงธรรมชาตินั้น ต้องทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่การเกษตรที่ขาดการเอาใจใส่ ปล่อยให้เป็น
ไปตามธรรมชาติเท่านั้น หรือเรียกว่า เกษตรปล่อยปละละเลย แต่ในทางตรงข้ามการเกษตรแบบนี้ต้องใช้ความรู้ทางธรรมชาติที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวงต้องพึ่งพาและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในป่าธรรมชาติ ฉะนั้นมนุษย์จึงลอกเลียนแบบธรรมชาติที่เกิดขึ้นในป่านั้นมาจัดระบบการเกษตรที่มีความหลากหลายเกื้อหนุนและควบคุมซึ้งกันและกัน ดังข้อพิจารณาที่เป็นหลักการดังนี้

1. ประโยชน์ของการสร้างความหลากหลาย (diversity)
  การสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเกษตรที่คล้ายกับระบบนิเวศตามธรรมชาตินั้น จะ
ช่วยทำให้เกิดผลดีต่อการผลิตได้ดังนี้

 

1.1 การป้องกันการระบาดศัตรูพืช ความหลากหลายของทั้งพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใดๆ จะทำให้
เกิดความหลากหลายของชนิดและปริมาณศัตรูธรรมชาติที่ช่วยให้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีวภาพบังเกิดผลสำเร็จได้มาก ทั้งนี้เพราะการปลูกพืชหลายชนิดผสมผสานกันในระบบ ซึ่งมีทั้งพืชอายุสั้น อายุยาว พืชยืนต้นพืชสมุนไพร พืชไล่แมลง ฯลฯ พืชต่างๆเหล่านี้เป็นทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูธรรมชาติให้มีชนิดและปริมาณมากขึ้น และมีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน (continuity)

 

Doutt (1965) และ Doutt and Nakata (1965) ได้รายงานว่าการทำให้เกิดความหลากหลายและ
ซับซ้อนในระบบนิเวศของการปลูกองุ่น ซึ่งช่วยให้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Control) ประสบผลสำเร็จ Cole (1964) ได้สรุปไว้ว่า ในระบบนิเวศเกษตรปัจจุบันมีความหลากหลายและซับซ้อนน้อยเนื่องจากการปลูกพืชเดี่ยวในสภาพดังกล่าวจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดระบาดของศัตรูพืชได้ LeRoux (1960)พบว่าพืชจำนวน 144 ชนิด ที่ขึ้นปะปนอยู่ในสภาพของรั้วริมสวนแอปเปิ้ลในรัฐควีแบค คานาดา เป็นแหล่งสะสมศัตรูธรรมชาติที่ช่วยกำจัดแมลงศัตรูแอปเปิ้ลได้อย่างมีประสิทธิภาพ Voute (1946) ได้อรรถาธิบายให้เห็นว่ามาม่วงที่ปลูกผสมผสานกับพืชต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซียจะไม่มีการระบาดทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น แต่มะม่วงที่ปลูกชนิดเดียวตลอดทั้งสวนจะเกิดเพลี้ยจั๊กจั่น แต่มะม่วงที่ปลูกชนิดเดียวตลอดทั้งสวนจะเกิดเพลี้ยจั๊กจั่นระบาดทุกปี Doutt (1964) ได้รายงานการปรับเปลี่ยนสภาพของระบบนิเวศโดยเน้นการให้เกิดความซับซ้อนอย่างเหมาะสมจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้นักนิเวศวิทยาส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าการเพิ่มความซับซ้อนในระบบนิเวศจะก่อให้เกิดความมีเสถียรภาพและยั่งยืนในระบบนิเวศนั้นๆ ศัตรูพืชจะไม่เกิดระบาด (Burnett 1960,Elton 1958,Odum 1964,Pimentel 1961 b;) Pimentel, (1961a) ได้รายงานว่าความซับซ้อนและความยั่งยืนของระบบนิเวศเกษตรที่มีอยู่จะถูกทำลายลง ได้โดยง่ายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและจะเปิดโอกาสให้ศัตรูพืชระบาดมากขึ้น

 

1.2 การปรับปรุงบำรุงดิน ความหลากหลายทำให้เกิดความเกื้อกูลซึ่งกันและกันของสังคมพืช ถ้าหาก
เกษตรกรสามารถจะเลือกสรรพืชเศรษฐกิจที่ต้องการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ต้องการปลูกให้ได้ผสมกลมกลืนกัน เช่น ในสวนมะพร้าว แทนที่จะปล่อยพื้นที่ว่าวไว้ก็ปลูกพืชเศรษฐกิจ อื่นๆ แซม เช่น พืชตระกูลถั่วคลุมดินหรือพืชที่ต้องการร่มเงา เช่น โกโก้ กาแฟ หรือชา เป็นต้น เช่นเดียวกัน ในสวนผลไม้แทนที่จะปลูกผลไม้หลายชนิดที่มีความผสมกลมกลืนกันได้ เช่น ลองกอง มังคุด เงาะ พืชสมุนไพร และพืชตระกูลถั่วคลุมดินในสวนที่มีลักษณะผสมผสานดังกล่าวนี้ ผลผลิตจะสูงและมีความต่อเนื่องของรายได้ไม่ขาดตอน ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์จากอินทรีย์วัตถุและธาตุไนโตรเจนจากการตรึงโดยพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ตัวอย่างเช่น คะนอง คลอดเพ็ง(2532) ได้รายงานว่า มะพร้าวที่ปลูกเป็นพืชเดี่ยวถึงปีละ 378 ผล/ไร่ หรือมากกว่าร้อยละ 72.5

 

วัชพืชชนิดต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในไร่-นา-สวน หากไม่ทำการกำจัดถากถางจนหมดสิ้นจนเหลือแต่ดินที่ไม่มี
อะไรปกคลุม วัชพืชก็จะเป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน เช่น สมพงษ์ คงจันทร์ (2536) ได้อธิบายว่า วัชพืชที่ขึ้นหนาแน่นหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว จะเป็นประโยชน์โดยไม่ต้องทำการกำจัดให้เสียค่าใช้จ่าย และแรงงาน วิธีปฏิบัติก็คือ ก่อนจะปลูกพืชฤดูต่อไป ให้ทำการหว่านเมล็ดแล้วตัดหญ้าวัชพืชให้คลุมดินทับเมล็ดที่หว่าน อาจจะใช้ฟางข้าวคลุมเพิ่มเติม ก็จะทำให้พืชเจริญงอกงามเพราะมีความชื้นดี เศษวัชพืชเมื่อเน่าเปื่อยก็เป็นอินทรีย์วัตถุให้เป็นปุ๋ยกับพืชและดินก็อุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นวัชพืชที่แข่งขันกับพืชน้อยลงเพราะถูกเศษพืชบังแสงไม่ให้เจริญเติบโต

 

เกษตรกรผู้ปลูกพืชสวน เช่น ส้ม มะม่วง ได้เห็นประโยชน์ของวัชพืชในการยึดดินป้องกันการชะล้างหน้า
ดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุ เป็นที่อาศัยของแมลงเบียฬที่ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น เกษตรกรสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สวนมะม่วงในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เกษตรกรนอกจากจะไม่กำจัดแล้วยังปลูกและดูแลรักษาวัชพืช เช่น หญ้าแห้วหมูและอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วย

 

1.3 การสร้างเสถียรภาพในรายได้และความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม ความหลากหลายที่มีพืช
สัตว์ และประมงเข้ามามีส่วนผสมผสานให้เหมาะสมตามหลักการทางธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตจะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและหากมนุษย์สามารถจะจัดให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นไปในทางเกื้อกูลกันแล้วก็สามารถจะเพิ่มผลผลิตและแรับปรุงสภาพแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นได้มากตัวอย่างเช่น ในแปลงนาข้าวหากได้มีการนำปลาไปเลี้ยงหรือการปลูกพืชตระกูลถั่วควบคู่หรือปลูกก่อนหลังฤดูการทำนา ก็จะทำให้ดินนาดีขึ้น ผลผลิตสูงขึ้น การขุดบ่อเลี้ยงปลา โดยให้มีสัตว์บางชนิด เช่น สุกร เป็ด ไก่ ขังเลี้ยงไว้ในเล้าบนบ่อก็จะช่วยให้ปลาได้รับมูลและเศษอาหารของสัตว์เลี้ยงเป็นผลผลิตได้การเลี้ยงเป็ดไก่ให้เก็บเศษข้าว พืชไร่ที่ร่วงหล่นในไร่นาเป็นอาหารก็จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ปกติจะไม่มีค่าแล้ว ให้เกิดมีมูลค่า นอกจากนี้เป็ด ไก่ ห่าน จะช่วยทำลายศัตรูพืชในไร่นาได้ดีอีกด้วย การยกร่องสวนจากพื้นที่เดิมมีรายได้แต่เพียงข้าวอย่างเดียว ก็จะมีรายได้จากสวนผลไม้ และปลาที่เลี้ยงในร่องที่ขุดขึ้น เศษของมูลปลาที่ถ่ายไว้ในร่องสวนเมื่อถึงเวลาก็ขุดลอกขึ้นมาใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นพืชมูลสัตว์ที่ได้จากวัว ควาย สุกร เป็ด ไก่ ที่เลี้ยงโดย ใช้เศษเหลือของพืชผลตลอดจนวัชพืชที่เป็นสิ่งไม่ต้องการให้มีอยู่ในนา ในสวน ก็จะสามารถนำมูลของสัตว์ดังกล่าวมาเป็นปุ๋ยของพืช เป็นต้น

 

1.4 สร้างความร่มรื่นให้เกิดขึ้น ในระบบเกษตรที่มีความหลากหลายเช่นเดียวกับธรรมชาติจะ
มีความร่มรื่นและยั่งยืน กล่าวคือ ถ้าเกษตรกรปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นให้มีสัดส่วนพอดีกับความต้องการ ก็จะเกิดความร่มรื่น ความชื้นในไร่-นาจะมีมากขึ้น และโดยส่วนรวมของประเทศ หากทุกไร่-นาของเกษตรกรทำการปลูกพืชยืนต้นกันมากขึ้น ประเทศไทยก็จะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล

 

1.5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ความหลากหลายจะทำให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น มี
รายได้จากพืชหลายชนิดในพื้นที่ดินเท่าเดิม และดินจะมีสภาพความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากการอยู่ร่วมกันของพืชและสัตว์ที่เกื้อกูลกันจะทำให้มวลชีวภาพ (biomass) มีปริมาณมากขึ้นและเมื่อพืชและสัตว์ตายเน่าเปื่อย ก็จะเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน นอกจากนี้พืชตระกูลถั่ว หากนำมาปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ ก็จะช่วยให้ดินมีธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชอื่นมากขึ้น

 

1.6 ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ความหลากหลายจะช่วยทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะผลผลิต
ที่ได้จะเพียงพอกับความต้องการบริโภคในครอบครัวเป็นเบื้องต้น สำหรับผลผลิตที่ได้เพื่อการค้านั้น เกษตรกรจะมีรายได้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอตลอดปี ไม่กระทบกระเทือนว่าผลผลิตใดจะราคาตกต่ำเพราะมีผลผลิตอื่นที่มีราคาดีมาทดแทนได้

 

ผลการวิจัยของสถาบันวิจัยการทำฟาร์ม กรมวิชาการเกษตร และสถาบันวิจัย ต่างๆ ได้ยืนยันว่า เกษตรกร
ที่เดิมทำการเกษตรในเชิงเดี่ยว (monoculture) มีหนี้สินที่ไม่สามารถจะปลดเปลื้องได้ซึ่งหนี้สินกลับพอกพูนเพิ่มมากขึ้นจากดอกเบี้ยทบต้น แต่เมื่อเกษตรกรเหล่านั้นหันมาทำการเกษตรผสมผสานพืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ ซึ่งได้เพิ่มความหลากหลายให้เกิดขึ้นในไร่-นา-สวน เกษตรกรทุกรายสามารถจะปลดเปลื้องหนี้สิน และเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ครอบครัวมากขึ้น อย่างต่อเนื่องดังตัวอย่างเช่น

 

ประยูร ทรงไตร (2532) รายงานว่า การปลูกข้าวอย่างเดียวจะให้รายได้ต่ำกว่าการปลูกข้าว+ปลา เป็น
เงิน 842.50 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.3 และต่ำกว่า ข้าว+ปลา+ถั่วลิสง ถึง 1,692.50 บาท คิเป็นร้อยละ 71.8 สำนักวิจัยระบบการทำฟาร์มสุพรรณบุรี (2533) รายงานสรุปผลการวิจัยระบบการทำฟาร์มผสมผสานข้าว+สุกร+ปลา+ไม้ผล+พืชผักสวนครัว ในพื้นที่อาศัยน้ำฝน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เกษตรกรทุกครอบครัวมีรายได้เพิ่มและความมั่นคงขึ้นเป็น 80,022-174,880 บาท/ปี/ครอบครัว ทั้งนี้โดยมีพื้นที่ทำกินระหว่าง 29--81 ไร่/ครอบครัว วิเศษธัญญานุวัตร (2533) รายงานว่าเกษตรกร ตำบลป่าแดงอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เดิมมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 10,807 บาท/ปี/ครอบครัว ในเวลา 6 ปีหลังจากการปรับเปลี่ยนชาญชัย อ่อนสอาด และคณะ (2533)รายงานว่าในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เกษตรกรมีรายได้จากเดิม 7,992 บาท/ครอบครัว/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 34,759 บาท/คน/ครอบครัว/ปี นิรันดร์ ทองพันธ์ และชนวน รัตนวราหะ (2532) รายงานว่าในการเลี้ยงปลาในนาข้าว นอกจากเกษตรกรจะได้ปลาเป็นรายได้ เพิ่มแล้วยังได้รับผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก 13.9 เปอร์เซ็นต์

 

ในส่วนของเกษตรกรที่มีประสบการณ์ เปลี่ยนแปลงจากการทำอาชีพโดยปลูกพืชเดี่ยว มาปลูกพืช เลี้ยง
สัตว์ และการประมง รวมทั้งการปลูกไม้โตเร็วในลักษณะของการผสมผสานนั้น มีผลการดำเนินงานที่ชัดเจนว่าเกษตรกรเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งในด้านรายได้ โภชนาการ และสิ่งแวดล้อม สามารถจะปลดเปลื้องหนี้สินที่เคยมีมาในอดีตได้อย่างน่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างก็คือ เกษตรกรหมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เกษตรกรบ้านแสงวิมาน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาอยู่ สุนทรไทย ตำบลสลักใด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรหมู่บ้านพรสวรรค์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดขอนแก่น เกษตรกรหมู่บ้านสระคูณ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ตำบลเกาะขนุน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ป๊ะหรน หมัดหลี อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นประจักษ์ว่าเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายในการผลิต ล้วนแต่ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงและมีความเป็นอยู่ที่ดี สภาพแวดล้อมดีขึ้น

2. ประโยชน์ของการใช้หลักการคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
  ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา พันธุ์ไหม ฯลฯ กันอย่างมากมายก็ตาม
ปัญหายังเกิดขึ้นในด้านของพันธุ์เหล่านั้นเมื่อนำไปปลูกเลี้ยงในสภาพไร่-นา ของเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน จะให้ผลแตกต่างกัน ทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากนั้น พันธุ์ที่คัดเลือกต่างๆ เหล่านั้น มักจะไม่ทนทานต่อโรค แมลง และศัตรูอื่นๆ ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง แต่ถ้าหากเกษตรในแต่ละท้องถิ่นได้มีพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้น มาทำการคัดเลือกซ้ำในสภาพไร่-นาของตนเองตามหลักการของการคัดเลือกตามธรรมชาติ ก็จะทำให้เกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีความแตกต่างกันพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้น ภายหลังการคัดเลือกในไร่นาของแต่ละคนแล้ว ก็จะเกิดความเหมาะสม ทนต่อสภาพแวดล้อม โรคและศัตรูพืช สำหรับวิธีการคัดเลือกพันธุ์เช่นนี้เกษตรกรไทยได้ทำการคัดเลือกพันธุ์กันมานาน ตั้งแต่โบราณกาลหลายชั่วอายุคนจนได้พันธุ์พืชและสัตว์ที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่ดีเฉพาะท้องถิ่นของแต่ละแห่ง เช่น ข้าวพันธุ์สายหยด พันธุ์ข้าวมดริ้น ไก่พันธุ์คอล่อน ของจังหวัดพัทลุง ข้าวขาวดอกมะลิ ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ข้าวพันธุ์เสาไห้ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้ถูกลืมไปอย่างน่าเสียดาย

 

ป๊ะหรน หมัดหลี ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม มหาอยู่ สุนทรไทย นายคำเดื่อง ภาษี เกษตรกรไทย รวมทั้ง
นายมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกษตรกรญี่ปุ่นที่เชื่อมั่นการเกษตรที่ใช้หลักการธรรมชาติ จนประสบความสำเร็จล้วนใช้หลักการคัดเลือกพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับไร่-นา-สวน ของตนเอง ทั้งนี้เมื่อปลูกพืชได้แล้วหากพืชนั้นตายหรืออ่อนแอก็คัดทิ้งให้เหลือแต่ชนิด และพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพไร่นาสวนของตน ด้วยเหตุผลนี้เองพืชที่คัดเลือกตามธรรมชาติจึงไม่เกิดโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดทำลายเสียหาย

 

ฉะนั้น จึงเห็นสมควรที่จะแนะนำให้เกษตรกรได้รู้จักการคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ สำหรับความเหมาะสม
ต่อสภาพในไร่-นาของตนซึ่งนอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องซื้อพันธุ์จากพ่อค้าแล้ว ยังจะได้พันธุ์ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณการทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคศัตรูพืชอีกด้วย

3. การใช้ประโยชน์ของหลักการปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศ
  จากหลักการของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกหน่วยที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศใดๆ ก็ตาม จะอยู่อย่างโดด
เดี่ยวปราศจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิติอื่นๆ ในระบบนิเวศเดียวกันไม่ได้ การมีปฏิสัมพันธ์นั้นอาจจะเป็นโดยทางตรง (direct interaction) หรือทางอ้อม (indirect interaction) ในเชิงเกื้อกูลสนับสนุน (symbiosis) หรือในทางแข่งขันทำลาย (antagonist) และในทางที่เป็นอาหาร เพื่อบริโภคในวงจรอาหาร (food chain) ซึ่งล้วนแต่มีความปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งสิ้น

 

ในระบบนิเวศของการเกษตรก็เช่นเดียวกัน สิ่งมีชีวิตที่มนุษย์นำมาเพาะเลี้ยงให้เกิดการขยายพันธุ์และ
เจริญเติบโต เพื่อให้ได้เป็นผลผลิตในการบริโภคหรือเพื่อการค้าก็ตาม สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเดียวกันก็จะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้จะต้องเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตนั้นจะหมายรวมทั้งที่มนุษย์ได้นำมาเพาะเลี้ยงกับสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมอยู่แล้ว เช่น จุลินทรีย์ในดินวัชพืชต่างๆ แมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีส่วนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับพืชและสัตว์ที่มนุษย์ต้องการเพาะเลี้ยงให้ได้ผลผลิตอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ฉะนั้นในระบบนิเวศการเกษตรใดก็ตามมนุษย์จะต้องศึกษาทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติในพื้นที่ซึ่งมนุษย์จะไปทำการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตให้เจริญงอกงามอย่างใดผลดีต่อไป

 

การขาดความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการมีปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศอย่างดีพอ
มนุษย์มักจะได้รับผลตอบแทนจากการกระทำที่ไม่ชาญฉลาดและรอบคอบด้วยบทเรียนที่จะมีผลกระทบโดยทางตรงและทางอ้อมกับมนุษย์อย่างร้ายแรง และเป็นปัญหาที่ไม่สิ้นสุด

 

ตัวอย่างของความผิดพลาดที่มนุษย์ได้กระทำโดยขาดการระมัดระวังและความเข้าใจในการปฏิสัมพันธ์
ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ในระบบนิเวศเดียวกันมีอยู่มาก และที่ตัวอย่างให้เห็นชัดเจน เช่น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ระมัดระวังจะมีผลทำให้ประชากรของแมลงศัตรูธรรมชาติที่ช่วยกำจัดศัตรูพืชลดจำนวนลงมาก จนเป็นสาเหตุทำให้ประชากรของแมลงเหล่านี้มีอยู่น้อยจนเปิดโอกาสให้ศัตรูพืชชนิดที่เคยระบาดอยู่แล้ว และชนิดที่ไม่เคยเกิดระบาดมาก่อน (เพราะเดิมถูกควบคุมด้วยแมลงศัตรูธรรมชาติ) เกิดระบาดติดตามอย่างรุนแรงตามมา เกษตรกรก็ต้องเพิ่มการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชมากขึ้น เพื่อป้องกันผลผลิตให้รอดพ้นจากการทำลายเมื่อใช้สารปราบศัตรูเพิ่มมากขึ้น แมลงศัตรูพืชก็จะสร้างความต้านทานมากขึ้นจนในที่สุดก็ใช้ยาปราบศัตรูพืชชนิดเดิมไม่ได้ต้องเปลี่ยนสารเคมีชนิดใหม่ไปเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น ผลกระทบที่ติดตามมาก็คือมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องอยู่กับระบบนิเวศก็จะได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือ ผู้ใช้สารเคมีอาจจะได้รับอันตรายจากการสัมผัสโดยตรงในขณะที่พ่นสารกำจัดศัตรูพืชและผู้บริโภคพืชผลที่มีพิษตกค้างของสารเคมีปราบศัตรูพืช

 

ในด้านการใช้ประโยชน์ของความรู้ความเข้าใจในการมีปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นอาจจะ
ยกตัวอย่างให้เห็นว่า การที่มนุษย์จัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงปลาในลักษณะของการสร้างความหลากหลายให้มีปฏิสัมพันธ์ในเชิงเสริมสร้างต่อกันและกัน โดยให้แตละชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันโดยไม่เกิดการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยของความจำเป็นในการดำรงชีพ แต่ในทางกลับกันการอยู่ร่วมกันนั้นจะเป็นการเกื้อกูล เสริมสร้างซึ่งกันและกัน และให้ประโยชน์ในทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งกันและกันดังนี้คือ

 

3.1 ปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูล
3.1.1 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช
1)  พืชตระกูลถั่วช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับพืชชนิดอื่น
2)  พืชยืนต้นให้ร่มเงากับพืชที่ต้องการแสงน้อย เช่น กาแฟ โกโก้ ชา สมุนไพร
3) พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยกำจัดศํตรูพืชไม่ให้เกิดกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น การปลูกถั่วลิสงระหว่างแถวในแปลงข้าวโพด จะช่วยทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้มาอาศัยอยู่ในถั่วลิสงมากและช่วยกำจัดแมลงศัตรูของข้าวโพด
4) พืชยืนต้นเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารแก่พืชประเภทเถาและกาฝากเช่น พริกไทย พลู ดีปลี กล้วยไม้ ฯลฯ
5)  พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวของพืชหลัก จะช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแย่งอาหารกับพืชหลักที่ปลูก เช่น การปลูกถั่วเขียวและแซมข้าวเป็นต้นพืชแซมระหว่างแถวไม้ยืนต้นในระยะเริ่มปลูกจะช่วยบังลม บังแดดและเก็บความชื้นในดินให้กับพืชยืนต้น เช่นปลูกกล้วยแซมยางพารา จะช่วยให้ยางพาราเติบโตได้เร็วขึ้นกว่ายางพาราที่ไม่มีกล้วยปลูกแซม
6) พืชแซมระหว่างแถวไม้ยืนต้นในระยะเริ่มปลูกจะช่วยบังลม บังแดดและเก็บความชื้นในดินให้กับพืชยืนต้น เช่นปลูกกล้วยแซมยางพาราจะช่วยให้ยางพารา เติบโตได้เร็วขึ้นกว่ายางพาราที่ไม่มีกล้วยปลูกแซม
7) พืชช่วยไล่และทำลายแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่ต้องการอารักขาเช่น ตะไคร้หอม ถั่วลิสง ดาวเรือง ต้นหอม แมงลัก โหระพา และหม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ ช่วยไล่และกินแมลงศัตรูพืช เช่น จรัส ชื่นราม แบะคณะรายงานว่า ถั่วลิสง ดาวเรือง เป็นพืชที่สามารถจะช่วยลดประชากรของไส้เดือนฝอยศัตรูพืชชนิด Meloidogyne spp. โดยเฉพาะเมื่อนำพืชทั้งสองปลูกสลับกับพืชอื่น เช่น ปอคิวบา ข้าวโพด ถั่วเหลือง และปอเทือง จะทำให้ประชากรของไส้เดือนฝอยชนิดลดลงอย่างชัดเจน ดังปรากฏในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 จำนวนไส้เดือนฝอย M.incognita ในระบบ 2 พืช
ระบบปลูก จำนวน M.incognita1/ ต่อดิน 500 กรัม
ปอคิวบา-ปอคิวบา 12,530
ปอคิวบา-ถั่วลิสง 3,580
ปอคิวบา ดาวเรือง 2,038
ถั่วลิสง-ถั่วลิสง 4
ถั่วลิสง-ข้าวโพด -
ถั่วเหลือง-ถั่วลิสง 6
ปอเทือง-ถั่วลิสง 520
ปอเทือง ข้าวโพด 530
ดาวเรือง-ถั่วลิสง 24
ดาวเรือง-ถั่วลิสง 16

1/ ตัวเลขเฉลี่ย 5 ปี (2520-2524)
ที่มา : จรัส ชื่นรามและคณะ (2534)

 

3.1.2 ปฏิสัมพันธ์เกื้อกูลระหว่างพืช สัตว์ ประมง
1) เศษเหลือของพืชจากบริโภคของมนุษย์ใช้เป็นอาหารและปลา
2)  พืชยืนต้นช่วยบังลม บังแดด บังฝนให้กับสัตว์
3) ืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคให้กับสัตว์
4) ปลาช่วยกินแมลงศัตรูพืช วัชพืช ให้กับพืชที่ปลูกในสภาพน้ำท่วมขัง เช่น ข้าว
5)  ปลาช่วยให้อินทรียวัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลาซึ่งสามารถจะลอกขึ้นมาเป็นปุ๋ยกับพืช และการเลี้ยงปลาในนาข้าว
6) เป็ด ห่าน แพะ วัว ควาย ฯลฯ ช่วยกำจัดวัชพืชในสวนผลไม้แปลงปลูกหม่อน
7) มูลสัตว์ทุกชนิดสามารถใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยกับต้นพืช
8) ผึ้งช่วยผสมเกสรในการติดผลของพืช
9) แมลงที่มีประโยชน์หลายชนิดได้อาศัยพืชเป็นอาหาร และที่อยู่อาศัย
10) จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืช และสัตว์ให้เป็นปุ๋ยกับต้นไม้
11) แมลงศัตรูธรรมชาติจำนวนมากช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธุ์จนเกิดระบาด

 

3.2 ปฏิสัมพันธ์เชิงแข่งขันทำลาย
3.2.1 ปฏิสัมพันธ์เชิงแข่งขันทำลายระหว่างพืชกับพืช
1)  พืชแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดดกับพืชอื่น เช่น การปลูกยูคาลิปตัสร่มกับพืชไร่และข้าว Craig (1989) รายงานว่าในสภาพที่น้ำในดินมีอยู่จำกัด ยูคาลิปตัสแย่งน้ำ และธาตุอาหารจากพืชไร่ เช่น ปอ จนกระทั่งพืชไร่ให้ผลผลิตลดลงมาก ส่วนในนาข้าวซึ่งมีประมาณน้ำค่อนข้างมาก จ้าวก็ยังถูกผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลงด้วย จากประสบการณ์ของผู้เขียนได้ติดตามสังเกตมะม่วงปลูกแซมในป่าไม้ธรรมชาติ กับปลูกแซมในยูคาลิปตัส ที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ตามพระราชดำริอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มะม่วงปลูกแซมในป่าไม้ธรรมชาติได้ แต่ไม่สามารถปลูกแซมในต้นยูคาลิปตัส ด้วยเหตุผลของการแย่งน้ำ และธาตุอาหารโดยเฉพาะในช่วงฤดูการแล้งที่ขาดน้ำ
2)  พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของศัตรูพืชของพืชในนิเวศเดียวกัน เช่น ข้าวโพด เป็นพืชอาศัยของหนอนเจาะสมออเมริกัน (Helothis spp.) และเพลี้ยอ่อน (Aphid) ของฝ้าย
3.2.2 ปฏิสัมพันธ์เชิงแข่งขันทำลายระหว่างพืช สัตว์ ประมง
1)  การเลี้ยงสัตว์จำนวนมากเกินไปจะทำให้ประมาณพืชทั้งในสภาพที่ปลูกเลี้ยง และในสภาพธรรมชาติไม่เพียงพอ จะเกิดสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ดินถูกชะล้างด้วยลมและฝน จนเกิดสภาพทะเลทราย
2)  มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาจากการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากเกินไป เช่น การเลี้ยงสุกร ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำให้เกิดน้ำเน่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในหลายท้องที่ เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา นาครศรีธรรมราช สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย มีผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งที่เกิดโรคระบาด ผลผลิตตกต่ำจนผู้เพาะเลี้ยงซึ่งเคยได้กำไรมากมาย ต้องขาดทุนถึงขั้นล้มละลายมีหนี้สินล้นพ้นตัว
3)  การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะเกิดพิษตกค้างในน้ำ และผลิตผลที่เป็นพิษต่อสัตว์และปลา
4)  การปลูกพืชเดี่ยว หรือเน้นการปลูกพืชเพื่อให้ผลผลิตอย่างใดอย่างหนึ่งสูงสุด กำไรสูงสุด ก็จะทำให้สภาพแวดล้อมของสัตว์ที่เป็นประโยชน์ เช่น แมลงศัตรูธรรมชาติหมดไปด้วย เปิดโอกาสให้ศัตรูพืชซึ่งมีอาหารบริบูรณ์ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และเกดระบาดทำลายพืชผลเหล่านั้น

 

ดังจะเห็นว่าในระบบนิเวศตามธรรมชาติก็ดี หรือระบบนิเวศที่มนุษย์ได้จัดทำขึ้นก็ดีการมีปฏิสัมพันธ์ของ
สิ่งมีชีวิตที่ร่วมกันอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ มีความสำคัญที่จำเป็นต้องทำการศึกษา ทำความเข้าใจ และใช้ความรู้ ความเข้าใจมาพิจารณาจัดระบบการผสมผสานของสิ่งมีชีวิต ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้เอื้ออำนวยผลผลิตให้แก่มนุษย์มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องไม่โลภมากจนเกินไป จนขาดการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อสภาพแวดล้อมดังตัวอย่างที่ได้ยามาชี้ให้เห็นแล้ว

ตารางที่ 5 เปรียบเทียบระหว่างการเกษตรแบบปลูกพืชเดี่ยวในระบบที่ใช้วิทยาการแผนใหม่ กับการปลูกพืชผสมผสานโดยใช้หลักการนิเวศธรรมชาติ
ประเด็นเปรียบเทียบ พืชเดี่ยว พืชผสมผสาน
1. ศัตรูพืช มีโอกาสระบาดรุนแรง น้อย
2. การปรับปรุงดิน ไม่มีการปรับปรุง มีการปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ
3. สภาพแวดล้อม แห้งแล้ง ร่มรื่น
4. ความยั่งยืน เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เสี่ยงน้อยมีความยั่งยืนมาก
5. ความมั่นคงของเกษตรกร เสี่ยงต่อราคาตกต่ำ มีความเสี่ยงน้อย
6. การใช้ประโยชน์ที่ดิน ต่ำ สูง



หน้าแรก