Untitled

http://www.tungsong.com



ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

คุณสมบัติของระบบนิเวศเกษตร

 

โดยทั่วไป Conway G. 1986 ได้บรรยายไว้ว่า โดยทั่วไประบบนิเวศเกษตรมีคุณสมบัติต่างๆ ที่สำคัญ
อยู่ 4 ลักษณะ คือ

1. ผลิตภาพ (Productivity)
  หมายถึง ปริมาณสุทธิของผลิตผลต่อหน่วยของทรัพยากร ซึ่งได้แก่ ที่ดิน แรงงาน พลังงานหรือเงินทุน
ส่วนมากมักจะวัดผลิตภาพในช่วงของปีว่ามีมูลค่าผลผลิตมากน้อยเพียงใด หรือรายได้สุทธิต่อพื้นที่ 1 ไร่ หรือต่อแรงงาน 1 คน หรือต่อพลังงาน 1 กิโลแคลอรี่หรือต่อเงินทุน 100 บาท เป็นต้น

2. เสถียรภาพ (Stability)
  หมายถึง ระดับความมั่นคงของการผลิตที่ไม่ผันแปรจนเกินไป ถึงแม้จะมีการผันแปรอยู่บ้าง อันเนื่องมา
จากปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม สภาพทางเศรษฐกิจ และสภาพของการตลาดบ้างก็ตาม โดยทั่วไปจะวัดด้วยค่าเศษส่วนของค่าสัมประสิทธิของการเบี่ยงเบน (Coeficient of variation) ของผลิตภาพ ตัวอย่างเช่น ค่าสัมประสิทธิของความเบี่ยงเบนในการผลิตข้าวพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศที่มีค่าเท่ากับ 0.5 ย่อมจะมีเสถียรภาพน้อยกว่า ค่าสัมประสิทธิของการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.10 เป็นต้น หากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ ความผันแปรในการผลิตมากเท่าใดค่าความเบี่ยงเบนก็จะสูงเสถียรภาพในการผลิตก็จะน้อย (ต่ำ) ในทางตรงข้าม ความผันแปรน้อย ค่าความเบี่ยงเบนก็จะต่ำ เสถียรภาพก็จะมาก (สูง) หรืออธิบายให้ชัดเจนก็คือ การผลิตข้าวโพดลูกผสมต่างประเทศ ใน 100 ครั้งจะมีโอกาสที่สูญเสียผลผลิตเนื่องมาจากโรคแมลงศัตรูพืช ความแห้งแล้ง 50 ครั้ง แต่ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (ถึงแม้จะผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ) จะมีโอกาสสูญเสียผลผลิตด้วยสาเหตุเดียวกันเพียง 10 ครั้งใน 100 ครั้ง

3. ถาวรภาพหรือความยั่งยืน (Sustainability)
  หมายถึง การรักษาระดับความมั่นคงของผลิตภาพในระยะยาวอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะมีเหตุแห่งปัจจัยภาย
นอกเข้ามากระทบก็ไม่ทำให้เกิดการผันแปรของผลิตภาพ ปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบนั้นอาจจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเช่น น้ำท่วมฉับพลัน ศัตรูพืชระบาด ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หรือสภาพที่เกิดขึ้นเป็นประจำของท้องถิ่น เช่น ดินเป็นกรด ดินขาดธาตุอาหาร
  ความหมายของเสถียรภาพกับถาวรภาพนั้นใกล้เคียงกัน ที่ต่างกันก็คือ ถาวรภาพนั้นจะเกิดจากความมี
เสถียรภาพที่ต่อเนื่องระยะยาว ซึ่งสามารถจะวัดได้ด้วยค่าสัมประสิทธิของความเบี่ยงเบน (coefficient of variance) เช่นเดียวกัน

4. สมภาพ (Epuitability)
  หมายถึง การกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจากผลิตภาพให้เกิดขึ้นกับประชาชนในท้องถิ่นของการผลิตว่า
ได้รับมากน้อยและทั่วถึงเพียงใด การผลิตใดที่ผลผลิตที่เกิดขึ้นนั้นมีประโยชน์กับคนต่างถิ่นมากกว่าคนในท้องถิ่นย่อมมีระดับสมภาพต่ำ ในทางตรงข้ามการผลิตที่มีผลผลิตที่เกิดขึ้นนั้นคนในท้องถิ่นในใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย พลังงาน อย่างทั่วถึงย่อมจะมีสมภาพที่สูง เป็นต้น

 

ตัวอย่างเช่น คนในภาคอีสานบริโภคข้าวเหนียว ฉะนั้นการปลูกข้าวเหนียวของคนอีสานย่อมจะมีสมภาพ
ดีกว่าการปลูกข้าวจ้าว การทำไร่นาสวนผสม พืช สัตว์ ปลา ไม้ยืนต้นเร็ว ย่อมจะมีสมภาพดีกว่าการปลูกพืชเดี่ยว

 

เพื่ออธิบายคุณสมบัติของระบบนิเวศเกษตรทั้ง 4 ประการ ให้เห็นชัดเจนจึงขอแสดงตารางดังนี้:

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบระบบนิเวศที่มีผลผลิตที่แตกต่างกัน จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
ระบบนิเวศวิทยา ผลิตภาพ เสถียรภาพ ถาวรภาพ สมภาพ
การปลูกสวนผลไม้
ชนิดเดียวกัน
สูง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง
การปลูกสวนผลไม้
ผสมผสาน
ปานกลาง สูง สูง สูง
การปลูกข้าว (พันธุ์พื้นเมือง) ต่ำ ปานกลาง สูง ปานกลาง สูง
การปลูกข้าว (พันธุ์ลูกผสม) สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
การทำไร่นาสวนผสม ปานกลาง สูง สูง สูง
การปลูกข้าวโพด(พันธุ์ลูกผสมเปิด) สุวรรณ 1-2 ปานกลาง ปานกลาง ต่ำ ต่ำ
การปลูกข้าวโพด (พันธุ์ลูกผสม) สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
การปลูกป่าเศรษฐกิจ สูง ปานกลาง ปานกลาง ต่ำ
การปลูกป่าชุมชน ปานกลาง สูง สูง สูง
ที่มา : จาก Conway ,G.(1986)

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบ ข้าว ไม้ผลและยางพาราในการปลูกในลักษณะพืชเดี่ยว
และปลูกผสมในระบบไร่นาสวนผสม
คุณสมบัติ ข้าว ไม้ผล ยางพารา ไร่นาสวนผสม
ข้าว+ไม้ผล+ยางพารา
ผลิตภาพ
  ผลผลิต
  รายได้
ต่ำ - - >สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
เสถียรภาพ
   ผลผลิต
  ราคา
ผันแปร
ผันแปร
มั่นคง
มั่นคง
มั่นคง
ผันแปร
มั่นคง
มั่นคง
ถาวรภาพ
   ความแห้งแล้ง
  ศัตรูพืช
   น้ำท่วม
อ่อนไหว
อ่อนไหว
ปานกลาง
มั่นคง
ปานกลาง
ปานกลาง
มั่นคง
ปานกลาง
ปานกลาง
มั่นคง
มั่นคง
ปานกลาง
สมภาพ
  การใช้บริโภค
สูง สูง ต่ำ สูง
ที่มา : จาก Conway ,G.(1986)

หน้าแรก