![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศทางธรรมชาติของเขตอบอุ่นและเขตร้อน | |
ความสมดุลที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศของป่าไม้เขตร้อน มีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตและความ |
|
ซับซ้อนมากกว่าระบบนิเวศของป่าไม้ในเขตอบอุ่น ที่เป็นดังนี้ อาจจะอธิบายได้จากความเหมาะสมของสภาพอากาศที่แตกต่างกันระหว่างเขตนิเวศทั้งสองคือ ในเขตอบอุ่น มีความเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศของฤดูกาลอย่างมากเช่น ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัดสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ หรือมีความต่อเนื่องในการจะมีชีวิตรอดต่อไปได้ยาก ฉะนั้น สิ่งมีชีวิตในเขตนี้จึงมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพอากาศในเขตร้อน ซึ่งไม่มีความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลมากนัก ความต่อเนื่องของฤดูกาลที่สิ่งมีชีวิตสามารถจะเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ ตลอดจนความอยู่รอดมีมากกว่า | |
จากปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้เอง ที่มนุษย์ได้นำมาใช้ประยุกต์เข้ากับระบบการเกษตรโดยการลอก |
|
เลียนแบบสภาพธรรมชาติมาเพื่อใช้ในการผลิตฉะนั้นระบบการเกษตรของประเทศในเขตอบอุ่น เช่น ในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฯลฯ ย่อมจะต้องแตกต่างจากระบบเกษตรในเขตร้อนเช่น ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว พม่า ฯลฯ ด้วยเหตุผลที่ว่าในเขตอบอุ่นนั้นมีช่วงระยะเวลาของความหนาวจัดในฤดูหนาวที่คัดเลือกเฉพาะชนิด (species) ของพืชและสัตว์ที่มีความทนทานต่อความหนาวเย็นให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น และช่วงดังกล่าวนี้แมลงศัตรูพืชโรคพืช และสัตว์อื่นๆ จะลดจำนวนหรือพักการขยายพันธุ์เนื่องจากความหนาวเย็นให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น และช่วงดังกล่าวนี้แมลงศัตรูพืชโรคพืชและสัตว์อื่นๆ จะลดจำนวนและลดการขยายพันธุ์ เนื่องจากความหนาวเย็น ด้วยสาเหตุนี้การเกษตรในเขตอบอุ่นจึงสามารถจะทำการเกษตรในเชิงเดี่ยว (monocultural practice) ได้โดยไม่มีปัญหาจากการระบาดของศัตรูพืชอย่างรุนแรง ส่วนระบบเกษตรในเขตร้อน เช่นของประเทศไทยนั้นสภาพอากาศมีความต่อเนื่องไม่มีช่วงใดที่จะหยุดยั้งการขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตจึงขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องมีความหลากหลายซับซ้อน เช่น สวนผลไม้ สมุนไพร นาข้าว ซึ่งปลูกอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศเกษตรที่มีความผสมผสาน (polycultural practie) ในลักษณะเช่นนี้ความสมดุลทางธรรมชาติก็จะเกิดขึ้น ศัตรูพืชและโรคพืชก็มีน้อย | |
ในปัจจุบันปัญหาเกิดขึ้นเมื่อมีผู้นำเอาวิธีการปฏิบัติโดยใช้เทคโนโลยีการลอกเลียนแบบมาจากการ |
|
เกษตรในเขตอบอุ่น เพื่อใช้ในเขตร้อนโดยขาดความตระหนักว่า สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น การปลูกพืชเดี่ยวทำให้ดินเสื่อมสภาพความอุดมสมบูรณ์ ศัตรูพืชเกิดระบาดมากขึ้น เพราะระบบนิเวศของการปลูกพืชเดี่ยวเอื้ออำนวยให้ศัตรูพืชเกิดระบาดมากขึ้น เพราะศัตรูธรรมชาติที่คอยควบคุมศัตรูพืชลดจำนวนลง เนื่องจากขาดพืชที่อาศัย ฉะนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ยาปราบศัตรูพืช เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียสมดุลทางธรรมชาติ และต้องประสบกับปัญหาดินเสื่อมโทรม โรคและศัตรูพืชระบาดเพิ่มมากขึ้นไม่มีวันจบสิ้นและจะตองใช้สารเคมีที่มีพิษรุนแรงเพิ่มมากขึ้นต่อไป จนความเป็นพิษจะมีต่อมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ | |
จากข้อแตกต่างระหว่างนิเวศทางธรรมชาติในเขตอบอุ่นและเขตร้อนนี้เองที่บ่งบอกให้ทราบว่าการใช้ |
|
เทคโนโลยีทางการเกษตรย่อมต้องแตกต่างกันบางท่านได้ร่ำเรียนจากสถานศึกษาของประเทศในเขตอบอุ่นหากจะได้คำนึงถึงความแตกต่างกันในสภาพแวดล้อมและปรับความรู้ของท่านมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศอีกต่อไป | |
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างระบบนิเวศในเขตอบอุ่น (temperate)* กับเขตร้อน (tropical)** |
||
ประเด็นเปรียบเทียบ | เขตอบอุ่น temperate |
เขตร้อน tropical |
1. ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ | น้อย | มาก |
2. ความรุนแรงของสภาพอากาศในรอบปี | หนาวจัดในฤดูหนาว | ไม่รุนแรง ค่อนข้างสม่ำเสมอ |
3. การทำเกษตรกรรม | เพาะปลูกได้เฉพาะฤดูร้อน | ปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี |
4. ศัตรูพืช | มีน้อยชนิดเกิดระบาดเพียงบางช่วงและชนิด | มีศัตรูธรรมชาติคอยควบคุมมาก (หากไม่ทำให้เสียสมดุล) |
5. ระบบเกษตรที่เหมาะสม | พืชเดี่ยวแบบอุตสาหกรรม | พืชผสมผสานให้เกิดความหลากหลายในระบบ |
*ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ | |
**ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว เขมร ฯลฯ |
หน้าแรก |