Untitled

http://www.tungsong.com



ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

ลักษณะทั่วไปของระบบนิเวศธรรมชาติ

 

ในสภาพของระบบนิเวศตามธรรมชาติโดยเฉพาะในเขตร้อนแถบศูนย์สูตรของโลก เช่น ประเทศไทย
อินโดนีเซีย มาเลเซีย เขมร ลาว บราซิล ฯลฯ มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการดังนี้คือ

 

1. ความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์ (diversity of species)
  ในสภาพธรรมชาติในโลกนี้จะประกอบด้วยชนิดพืช และสัตว์มากมายนับเป็นล้านชนิด เฉพาะที่ได้มี
การศึกษา ค้นคว้า บันทึก และให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันมีอยู่ถึง 1.4 ล้านชนิด แยกออกเป็นแมลงประมาณ 750,000 ชนิด สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังประมาณ 41,000 ชนิด พืชที่มีท่อลำเลียงและจำพวก bryophytes ประมาณ 250,000 ชนิด ที่เหลือเป็นพวกสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เห็ดรา สาหร่าย และจุลินทรีย์ต่าง ๆ

 

ในป่าเขตร้อนของโลก (tropical forests) ถึงแม้จะมีพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่บนโลก แต่มีสิ่งมี
ชีวิตอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด เช่น ในประเทศเปรู ต้นไม้ตระกูลถั่ว 1 ต้น มีมดอยู่ถึง 43 ชนิด มากกว่าจำนวนชนิดของมดบนเกาะอังกฤษ ซึ่งอยู่ในเขตอบอุ่น (temperate) ทั้งเกาะบนเกาะบอร์เนียวพื้นที่ 625 ไร่ พบต้นไม้ถึง 700 ชนิด มากกว่าชนิดของต้นไม้ที่พบในอเมริกาเหนือทั้งทวีป และในป่าเขตร้อนเช่นเดียวกันพบว่ามีนกอีกหลายร้อยชนิด ซึ่งเป็นแหล่งของการสะสมความหลากหลายของชนิดและพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (biological diversity ) (สมศักดิ์ สุขวงศ์ 2534)

 

2. ความซับซ้อนของระบบ (complexity of ecosystem)
  ความหลากหลายของชนิด สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเดียวกันจะมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ซึ่งกัน
และกัน ระบบนิเวศใดที่มีความหลากหลายมาก เช่น ในป่าไม้พรหมจารี (virgin forest) ในเขตร้อน (tropical) จะมีความซับซ้อน (complexity) มากกว่าสิ่งมีชีวิตซึ่งอยู่ในป่าพรหมจารีในเขตอบอุ่น (temperate) ซึ่งมีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตที่น้อยกว่า และความซับซ้อนซึ่งเปรียบได้กับใยแมงมุมนี้เอง เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศที่ตามธรรมชาติ

 

3. ความมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ (Interaction in ecosystem)
  ในความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศตามธรรมชาติสนั้นจะมีทั้งในทางเกื้อกูล ขัดแย้ง และ
ควบคุมซึ่งกันและกัน ดังนี้

 

      3.1  ความมีปฏิสัมพันธ์ในทางเกื้อกูล (Positive interaction) ได้แก่การที่มีสรรพสิ่งมีชีวิตมี
กิจกรรม ผลผลิต ผลพลอยได้จากการเกษตรที่ยังประโยชน์ให้แก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่อยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน เช่น ผึ้งช่วยผสมเกษรให้กับต้นไม้ทำให้เกิดผลพืชสมุนไพรที่ต้องการร่มเงาจากพืชใหญ่ที่มีใบกันแดด พืชตระกูลถั่วช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับพืชอื่น อินทรีย์วัตถุจาการเน่าเปื่อยของใบพืชและซากสัตว์จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ เป็นต้น

 

     3.2  ความมีปฏิสัมพันธ์ในทางขัดแย้ง (Negative interaction) ได้แก่ การที่สิ่งมีชีวิตในระบบ
นิเวศที่ทำลาย หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอื่นโดยการบริโภค (consume) แข่งขัน (competition) และการทำลาย (anragonism) เช่น สัตว์กินพืช สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก แมลงกินแมลง พืชกินแมลงหรือการแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ เช่น พืชแข่งกับพืช เพื่อต้องการธาตุอาหารในดินอากาศแสงแดด สัตว์ชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดจากสิ่งที่ต้องการร่วมกันที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น พื้นที่อาหารและการผสมพันธุ์เป็นต้น

 

4.  การคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection
  โดยธรรมชาติสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีสัญชาติญาณของการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด การดิ้นรนต่อสู้
ทั้งจากภัยที่เกิดขึ้นรอบตัวที่เป็นธรรมชาติ ความร้อน ความหนาว ความชื้น หรือจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูคู่แข่งที่ต่างชนิด (interspecies) หรือชนิดเดียวกัน (intra species) เช่น โรค ศัตรู ฯลฯ โดยที่ธรรมชาติจะคัดเลือกให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในนิเวศหนึ่งๆ มีชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะที่เป็นอยู่อย่างมีสมดุล ฉะนั้น ชนิดและพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ดิ้นรนและถูกธรรมชาติคัดเลือกให้คงอยู่และขยายพันธุ์ได้ในสภาพนิเวศธรรมชาติใดก็ตามก็จะมีความเหมาะสมกับสภาพนิเวศนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง

 

กลไกของการคัดเลือกตามธรรมชาตินั้นพอจะแยกออกได้ดังนี้
  4.1 กลไกที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม (Environmental mechanism) เช่น สภาพอากาศ ความ
ร้อน หนาว ความชื้น น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งจะเกิดขึ้นตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลหรือจากผลกระทบอื่นที่มีต่อธรรมชาติ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความแห้งแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม ฯลฯ สภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้จะคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอก็จะถูกกำจัดให้หมดไป

 

4.2 กลไกที่เกิดจากความหนาแน่นของประชากร (Density dependent mechanism) อาจ
จะเกิดขึ้นโดยสัตว์ในชนิดเดียวกัน (Intra spicies) หรือต่างชนิด (Inter species) ที่อยู่ในนิเวศเดียวกัน เมื่อประชากรมีเพิ่มมากขึ้นจนปัจจัยในหารดำรงชีพขาดแคลน การแข่งขัน (competition)และการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยให้เพียงพอกับความอยู่รอดย่อมเกิดขึ้นและการแข่งขันและต่อสู้ก็จะคัดเลือกให้สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงกว่าสามารถอยู่ต่อไปได้ สิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอกว่าก็จะถูกทำลายไป

 

4.3 กลไกทางพันธุกรรมย้อนกลับ (Genetic feed back mechanism ) Pimentel, D. (1961a)
ซึ่งกล่าวว่าในขบวนการทางกรรมพันธุ์นั้นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบกันเป็นประชากรในนิเวศใดๆ ก็ตามจะมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในทางแข็งแกร่ง ปานกลางและอ่อนแอ เมื่อประชากรในนิเวศมีมากขึ้นความหลากหลายของพันธุกรรมแข็งแกร่งปานกลางและอ่อนแอจะมีมากขึ้น แต่โอกาสของพันธุกรรมในทางอ่อนแอและปานกลาง จะมีมากกว่าพันธุกรรมที่มีความแข็งแกร่ง ด้วยหลักการทางทฤษฎีพันธุกรรม ฉะนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งที่มีการแข่งขันเพื่ออาหาร ที่อยู่ และการผสมพันธ์ ประชากรที่มีลักษณะพันธุกรรมที่อ่อนแอ หรือบางส่วนของประชากรที่มีลักษณะพันธุกรรมปานกลางก็จะถูกทำลายไปโดยการแข่งขัน ตามหลักการของกลไกที่เกิดจากความหนาแน่นประชากร (density dependent mechanism) และในโอกาสที่สภาพอากาศมีความแปรปรวน เช่น หนาวจัด ร้อนจัด แห้งแล้ง ฯลฯ ประชากรที่มีลักษณะพันธุกรรมอ่อนแอและปานกลางก็จะถูกทำลายไป ตามหลักการของกลไกที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม ด้วยสาเหตุทั้งสองประการนี้ ในที่สุด ประชากรทีเหลือก็จะมีเพียงพวกที่พันธุกรรมแข็งแกร่งในจำนวนที่น้อย ในช่วงนี้ปัจจัยต่างๆ จะมีอยู่อย่างการขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ยีน (gene) ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ที่มีความอ่อนแอซึ่งผสมอยู่กับยีนแข็งแกร่งก็จะเพิ่มมากขึ้นในประชากรที่เพิ่มขึ้นนั้นจนถึงจุดที่มีคุณภาพทางพันธกรรมมีประขากรอ่อนแอและปานกลางเพิ่มมากขึ้นอีก เป็นวงจรที่ย้อนกลับไปมา จึงเรียกว่า กลไกทางพันธุ์กรรมย้อนกลับ

หน้าแรก