![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ปรัชญาเบื้องหลังการพัฒนา ที่ประเทศไทยยึดเป็นหลัก | |
ดังได้กล่าวมาบ้างแล้วว่าหลักคิดหรือปรัชญาเบื้องหลังของการพัฒนากระแสหลักในโลก และประเทศ |
|
ไทยก็รับเอาปรัชญาดังกล่าวมาก็คือปรัชญาเสรีนิยม หรือเศรษฐกิจเสรี (laissez faire) คือเป็นปรัชญาที่เชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรจะเกี่ยวข้องแทรกแซงเศรษฐกิจการค้าจะต้องปล่อยให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องของเอกชน โดยที่รัฐเป็นผู้ดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและถ้าหากทำได้เช่นนั้นแล้วประเทศก็จะมั่งคั่ง ประชาชนก็จะมีความสุขเพราะได้ซื้อหาสินค้าในราคายุติธรรม เพราะผู้ผลิต (นายทุน) ก็ดี พ่อค้าก็ดีต้องแข่งขันกันขาย จึงไม่มีใครกล้าตั้งราคาสินค้าของตนให้สูงกว่าผู้อื่นหากคุณภาพเท่าเทียมกัน เพราะผู้บริโภคจะรู้เท่าทันและจะไม่ซื้อสินค้าที่คุณภาพไม่ดี หรือมีราคาแพงเกินควร นี้คือปรัชญาอย่างย่อ ๆ ของหลักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาของยุโรปเมื่อปลายปีคริสตศวรรษที่ 18 นักปรัชญาสำคัญของสำนักนี้คือ อดัม สมิธ (Adam Smith) ปรัชญานี้นักวิชาการบางสำนักก็ขนานนามว่า "ลัทธิทุนนิยม" (Capitalism) | |
บทความนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะถกเถียงในรายละเอียดของปรัชญานี้ เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า |
|
นับแต่คริสตวรรษที่ 18 จนกระทั่งปัจจุบันปรัชญญานี้ได้แผ่อิทธิพลไปแทบจะทั่วทุกมุมโลกจนกระทั่งกลายเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามว่าดีหรือไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลเสียอะไรบ้าง และปรัชญานี้จะยังคงเป็นเครื่องชี้นำชีวิตของมนุษย์และธรรมชาติไปได้นานอีกสักเท่าใดหรือตลอดไป เพราะปรัชญานี้คือ สัจจธรรม ไปเสียแล้ว หรือใครก็ตามที่ตั้งคำถามมีข้อสงสัย หรือคัดค้านคือผู้ขัดขวางการพัฒนาต่อต้าน เหนี่ยวรั้งความเจริญ ความทันสมัยกระนั้นหรือ | |
ปัจจุบันโลกทั้งโลกและประเทศไทยเริ่มมองเห็นปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นและ |
|
ชัดเจนมากขึ้น แต่ก็มีน้อยคนนักที่จะตั้งคำถามไปที่รากเหง้าของปัญหา คือปรัชญาเบื้องหลังของการพัฒนา ส่วนใหญ่แล้วมักจะโยนความผิดไปให้กับวิธีการหรือกลไกของระบบเช่น กล่าวว่า พ่อค้านายทุนบางคนก็ย่อมไม่ดี บ้างเป็นธรรมดา หรือไม่ก็อธิบายว่าผู้ที่แข็งแรงกว่าเช่นบริษัทใหญ่กว่าประเทศใหญ่กว่า ทุนมากกว่า เทคโนโลยีดีกว่า ฯลฯ ก็ย่อมได้เปรียบเป็นธรรมดา หรือในกรณีของปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ก็มักอ้างว่าสิ่งที่สูญเสียไปเป็นของเล็กน้อยไม่มีประโยชน์อะไรทางเศรษฐกิจ หรือไม่ก็จะอ้างหลักการว่า ทุกอย่างได้มาก็ต้องแลกกับอีกอย่างหนึ่ง (trade off) เข้าทำนอง จะเอาคนหรือจะเอาป่า ถ้าจะเอาไฟเอาน้ำก็ต้องสร้างเขื่อน แม้จะสูญเสียป่าและความหลากหลายทางชีวภาพก็ต้องยอมเพราะ ไฟ น้ำ สำคัญต่อมนุษย์มากกว่า ดังนี้เป็นต้น | |
อนึ่งจะเห็นได้ว่าปรัชญานี้ทึกทักเอาว่า ความสุข ของมนุษย์คือการมีกำลังซื้อสินค้ามาบริโภคใน |
|
คุณภาพและราคาที่ยุติธรรม ยิ่งบริโภคมากก็แสดงว่ามีความสุขมาก ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่ปรัชญานี้นำไปสู่การเร่งระดมเร่งกันผลิต แย่งกันขาย สินค้าไม่ดี ไม่มีประโยชน์ก็ใช้เทคนิคการโฆษณาและกลเม็ดต่าง ๆ ทางด้านการตลาด ทั้งชอบด้วยกฎหมายและผิดกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายแต่ผิดศีลธรรมจรรยา หรือผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรมจรรยา ผลที่ตามมาคือเกิดลัทธิบริโภคนิยม (consumerism) เกิดแบบแผนพฤติกรรมที่เรียกว่า วัฒนธรรมกินทิ้งกินขว้าง (throw away culture) ที่ทรัพยากรหลายอย่างนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็ทิ้งขว้างเป็นขยะ เช่น บรรดาเครื่องดื่มประเภท แคน (can) บรรจุกระป๋องหรือขวด ดื่มเสร็จขว้างกระป๋องทิ้งตามถนนรนแคม เป็นต้น | |
การใช้ทรัพยการอย่างสิ้นเปลืองปรากฏการณ์ที่ควบคู่กับปรัชญาหรือวัฒนธรรมทุนนิยมอย่างแยก |
|
ไม่ออก ทั้งนี้เพราะระบบเศรษฐกิจสังคมที่วางอยู่บนปรัชญานี้จะดำรงอยู่และเติบโตได้ก็ต่อเมื่อมีการบริโภคอย่างไม่หยุดยั้ง มิหนำซ้ำยังจะต้องบริโภคให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือสังคมใดยิ่งบริโภคมาก ฟุ่มเฟือยมาก ใช้พลังงานมาก ใช้ทรัพยากรมากกลับถือกันว่าเป็นดัชนีชี้ความเจริญของสังคมนั้น นักวิชาการไทยบางคนบางกลุ่ม ถึงกับประกาศในที่ประชุมทางวิชาการว่า ประเทศที่พัฒนาเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีตัวเลขการใช้กระดาษสูงที่สุดในโลก ฉะนั้นการใช้กระดาษมากคือดัชนีระดับการพัฒนา โดยนัยดังกล่าว ประเทศไทยกำลังใช้กระดาษมากขึ้นทุกวันฉะนั้นก็นับได้ว่าเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยนัยดังกล่าว ประเทศไทยกำลังใช้กระดาษมากขึ้นทุกวันๆ ฉะนั้นก็นับได้ว่าเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เราจึงจำเป็นจะต้องปลูกสร้าง สวนป่า เพื่อปลูกไม้โตเร็วป้อนอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ | |
บทความนี้เห็นว่าวิธีคิดดังกล่าวเป็นความเข้าใจเรื่องการพัฒนาที่ไม่อาจบอกได้ว่าตื้นเขิน เพราะ |
|
เป็นการหลงทางอย่างสิ้นเชิง ด้วยว่าการพัฒนาที่แท้จริงไม่สามารถวัดกันด้วย (อย่าว่าแต่) ปริมาณการใช้กระดาษเลยแม้กระทั่งตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (GNP) ก็ไม่สามารถวัดการพัฒนาที่แท้จริงได้ การพัฒนาน่าจะหมายถึง การทำให้มนุษย์ในสังคมมี ความสุข และความสุขในที่นี้แน่นอนที่สุดย่อมไม่ใช่มาจากการครอบครองเป็นเจ้าของวัตถุแต่ประการเดียว ความสงบ สันติ ร่มเย็น สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทำงานที่เหมาะสมกับความเป็นคนมีเวลาสำหรับการพักผ่อน ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ศิลปดนตรีมีชีวิตอยู่กับผู้คนร่วมครอบครัว ร่วมหมู่บ้าน ร่วมชุมชน ร่วมประเทศและร่วมโลก ผู้มีมิตรจิตมิตรใจซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนทั้งต่อมนุษย์ด้วยกันและสิ่งมีชีวิตร่วมโลกโดยเฉพาะ ในกรณีหลังนี้อย่างเกินความจำเป็น สิ่งเหล่านี้เราหาได้หรือไม่ในสังคมที่เราเรียกว่า กำลังพัฒนา นี้ | |
นี้หรือคือการพัฒนา การพัฒนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร คือคำถามหลักที่จะต้องช่วยกันแสวงหาคำตอบ |
|
และผลักดันสังคมให้เข้าสู่เส้นทางที่ถูกต้องต่อไปในอนาคต | |
![]() |
ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาประเทศ | BACK | ยุทธวิธีของการพัฒนาเป็นการแยกแยะวิถีชีวิต | ![]() |