![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
การพัฒนากับการทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับมหภาค | |
ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่น้อยคนจะปฏิเสธได้ก็คือ แมลงทุกตัวทุกชนิดก็ดี ทุกหย่อมหญ้าของพืชต่างๆ |
|
ที่เราดูด้วยความด้อยความรู้ความเข้าใจ ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจ หรือทุกๆ เมล็ดของข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่แท้จริงแล้วล้วนแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดและอยู่ดีกินดีของมนุษย์ทั้งมวลในโลก ทั้งๆ ที่ทราบกันดีดังกล่าวแล้วแต่การรื้อทิ้งทำลาย ระบบการเลี้ยงดูชีวิต ในโลกทีละระบบๆ ก็ยังดำเนินไปอย่างเสี่ยงต่อการแตกดับและไม่มีท่าทีว่าจะหยุดยั้งในนามของการ พัฒนา และที่น่าตระหนกตกใจอย่างยิ่งก็คือ นโยบายการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในโลกรวมทั้งประเทศไทย ในช่วง 4-5 ปี ทศวรรษที่ผ่านมา โดยการสนับสนุนขององค์กรการเงิน และช่วยเหลือทางเทคนิควิชาการระดับโลก ซึ่งเป็นบรรษัทข้ามชาติต่างๆ ร่วมอยู่ด้วยได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของโลกลงอย่างมากมายหลากหลายรูปแบบและวิธีการ ตั้งแต่การตัดไม้จากป่า การเปลี่ยนแปลงชนิดและพันธุ์ของพืชธัญญาหารต่างๆ ของชาวนาในโลกที่สาม สนับสนุนให้พวกเขาเหล่านั้นละทิ้งพืชพันธุ์พื้นเมืองนับร้อยๆ พันๆ สายพันธุ์แล้วหันมาปลูกธัญพืชจำนวนไม่กี่พันธุ์ที่นักวิทยาศาสตร์สังกัดองค์กร หรือสถาบันดังกล่าวผสมขึ้นมาใหม่ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตอาหารของโลก เพื่อเป็นการแก้ไขความอดอยาก ยากจน เราเรียกกิจกรรมนี้ว่า การปฏิวัติเขียว (The green revolution) | |
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากกิจกรรมการปฏิวัติเขียวได้ดำเนินอย่างน้อยสามทศวรรษ |
|
ก็เริ่มเป็นที่ตระหนักและยอมรับกันมากขึ้น(ยกเว้นในหมู่ภาครัฐของประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยด้วย) ว่าการปฏิวัติเขียวล้มเหลวทั้งในแง่ของการเพิ่มผลผลิต การแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาความอดยากและปัญหาทุโภชนาการ และประเด็นสำคัญที่สุดก็คือก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบทางสภาพแวดล้อมนานาชนิดที่รุนแรงตามมาอย่างคาดไม่ถึง และผลกระทบที่เป็นจุดสนใจหลักของบทความนี้คือการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพทั่วทุกถิ่นฐาน ไม่ว่าเป็นในป่าเขาลำเนาไพร ในเรือกสวนไร่นา มหาสมุทร ทะเล ห้วยหนอง คลอง บึง หมู่บ้าน ชุมชนและในเขตเมือง | |
![]() |
![]() |
ยุทธวิธีในการป้องกันรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ | BACK | ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาประเทศกับความจำเป็น | ![]() |