|

ประวัติศาสตร์ |
โบราณสถาน,วัตถุ
|
ศาสนา,ความเชื่อ
|
ภูมิศาสตร์
|
ชาติพันธุ์ วรรณกรรม
|
วัฒนธรรมประเพณี
|
อื่นๆ |
|
บริษัท
แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด
สาขาทุ่งสง |
|
 |
 |
ภาพอาคารหลังปัจจุบัน |
ภาพอาคารก่อนปัจจุบัน |
|
บริษัท
แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด
ได้วางรากฐานการขยายสาขาไปสู่ภูมิภาค
ซึ่งภาคใต้เป็นเป็นภาคแรกที่มีการตั้งสาขาขึ้น ในวันที่ 12
สิงหาคม พ.ศ.2463 บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด
ได้เปิดสาขาขึ้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นสาขาในเขตภูมิภาคแห่งแรกของธนาคาร
ปัจจัยสู่การขยายสาขาไปยังทุ่งสงก็คือการขยายการเดินรถไฟภาคใต้ไปจนถึงทุ่งสง
ทำให้มีการพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นชุมชนสองข้างทางรถไฟ
สถานีรถไฟทุ่งสงจึงเป็นสถานีชุมทางรถไฟที่สำคัญในภาคใต้
เพราะเป็นต้นทางแยกไป กันตัง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช
และเป็นศูนย์กลางธุรกิจโดยเฉพาะกิจการเหมืองแร่ของภาคใต้
ดังที่นายอาภรณ์ กฤษณามระ
ผู้จัดการสาขาทุ่งสงได้กล่าวไว้ในหนังสือที่ระลึกวันเปิดสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด 19 สิงหาคม 2514 "...กิจการธนาคารที่ทุ่งสง
เมื่อแรกเปิดนั้น
โดยที่ทุ่งสงเป็นอำเภอซึ่งรถไฟหลวงไปสุดทางที่นั้น
กิจการของเหมืองแร่ซึ่งอุดมมากในแดนนั้นมาอยู่ที่ธนาคาร
ธนาคารทำกำไรได้เป็นอย่างดี..." |
ที่ทำการของสาขาทุ่งสง
เป็นตึกแถวสองห้องที่เช่ามาจากกรมรถไฟหลวง
ลักษณะห้องทำงานของธนาคารมีเคาร์เตอร์ มีลูกกรง
มีช่องรับเงิน-จ่ายเงิน
นอกจากนั้นธนาคารยังมีบ้านพักเรือนไม้ใต้ถุนสูง พร้อมที่ดิน
ซึ่งธนาคารซื้อต่อจากบริษัทบอร์เนียว
สำหรับเป็นที่พักของผู้จัดการ ในบันทึกบางตอนของนายอาภรณ์
กล่าวถึงสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพไว้ดังนี้
"...ที่ทำการคือตึกแถว 2 ห้อง
ซึ่งธนาคารเช่าจากกรมรถไฟหลวง
และบ้านพักเรือนไม้ใต้ถุนสูงพร้อมที่ดิน
ซึ่งธนาคารซื้อจากบริษัทให้เป็นที่พักของผู้จัดการสาขาที่ทุ่งสงนั้น
ธนาคารได้เช่าตึกแถวอยู่ 2 ห้องด้วยกัน
ตึกแถวนั้นยังอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ มีผู้ประกอบการค้าที่นั่น
อยู่ติดกับธนาคาร 2 ห้างด้วยกัน ห้างหนึ่งคือ ยิบอินซอย
อีกห้างหนึ่งคือ บั้นทินหลำ
ห้องทำงานของธนาคารเป็นอย่างที่เรียกว่าพอใช้การได้
มีเคาร์เตอร์ มีลูกกรง มีช่องรับเงิน-จ่ายเงิน ตอนที่จะไป
ผมรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่ง แต่เมื่อไปถึงเข้าแล้ว
แลดูสภาพก็ยังคงพอใจอยู่นั่นเองที่ผมได้ถูกเรียกว่า
"เสมียนห้าง" เพราะว่าตัวผู้จัดการสาขา ซึ่งขณะนั้นเรียกกันว่า
"เอเย่นต์" อยู่ใต้บันไดเกือบจะไม่มีที่ๆ
จะกระดิกตัวไปไหนได้เลย
เพราะว่าจะต้องนั่งคุมบานประตูห้องเก็บเงินอยู่ตลอดเวลา
สภาพเช่นนี้ท่านคงจะวาดภาพได้เองว่าการนั่งทำงานอยู่ใต้บันไดนั้นมีความรู้สึกประการใด
ความภูมิใจย่อมไม่มีเป็นแน่ |
ส่วนบ้านที่ให้อยู่นั้น มองข้างนอกใหญ่โต เข้าไปข้างในก็ใหญ่โต
เป็นเรือนใต้ถุนสูง แต่ละห้องใหญ่มาก แต่ไม่มีสี
มองไปทางไหนมีแต่กะดำกะด่าง เพราะใช้น้ำมันดินทากันปลวก |
ห้องนอนนั้นใช้มุ้งอย่างแบบก่อนๆ นี้เพียงแต่ว่าเป็นมุ้ง
ซึ่งเกือบจะไม่ได้ผึ่งแดดเลย แต่เมื่อนึกถึงฐานะของตนเองแล้ว
เห็นว่าเหมาะสม |
นายอาภรณ์ กฤษณามระ ยังได้กล่าวถึงการปฏิบัติงานหน้าที่ไว้ว่า
"...ที่นี้ผมจะพูดถึงการปฏิบัติหน้าที่บางอย่าง โดยมากเงินสด
ที่มีสำหรับใช้จ่ายที่ทุ่งสงไม่พอเพียง
จำเป็นต้องของเงินสดจากกรุงเทพฯ ซึ่งสำนักงานใหญ่
ได้ส่งไปโดยทางไปรษณีย์ตอนที่ไปรับเงินจากไปรษณีย์นี้ดูๆ
เป็นที่น่าตื่นเต้น ผมยังเสียดายที่มีมีโอกาสให้คนถ่ายภาพไว้
เจ้าหน้าที่ของเรามีอยู่ 4 คน ด้วยกัน คือ ตัวผมเอง
หัวหน้าเสมียนคนหนึ่ง (แต่ว่าหัวหน้าเสมียนไม่มีเสมียนลูกน้อง
ตัวเองเป็นทั้งหัวหน้าและลูกน้อง) พนักงานรับใช้คนหนึ่ง
และยามคนหนึ่ง ซึ่งในสมัยก่อนนี้ยามเราใช้แขก
เมื่อถึงเวลาไปรับเงินจำเป็นต้องปิดธนาคารชั่วคราว
และในขณะเดียวกันได้ขอร้องให้ยิบอินซอยและบั้นทินหลำ
ช่วยดูแลสำนักงานของสาขาไว้ด้วย
แล้วก็ตรงไปยังไปรษณีย์ขอรับเงินที่ส่งมานั้น การเดินทางไปรับ
เงินสดนี้น่าดูมาก แขกยามถือพลองนำหน้า
พนักงานเอาถุงใส่ธนบัตรพาดไหล่เดินตามหัวหน้าเสมียน
และผมเดินเป็นอันดับสุดท้าย
การอยู่หัวเมืองโดยมากมักจะถือไม้เท้ากัน
ผมเองก็ถือไม้เท้าเป็นอาวุธ ป้องกันเดินตามหลัง
การเดินทางกลับนั้น ถึงแม้จะไม่สู้ไกลนัก
แต่ถ้ามีคนมาคอยดูก็อุ่นใจ เพราะว่าปลอดภัยแน่
แต่ถ้าตอนไหนไม่มีคนอยู่ ใจคอไม่สู้ดีเหมือนกัน
ภาพเดินนี้ถ้ามานึกเทียบกับสมัยปัจจุบันแล้ว
คงจะเป็นภาพประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน..." |
ในเวลาต่อมา ภายหลังเปิดบริการได้สิบกว่าปี
กรมรถไฟหลวงได้เปิดเส้นทางสายใต้ขยายการเดินทางต่อไปถึงอำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา รวมทั้งได้ขยายไปเชื่อมกับหัวเมืองมลายู
ทำให้ปริมาณธุรกิจและการค้าขายที่ทุ่งสงลดลงตามลำดับ
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 คณะกรรมการอำนวยการบริษัท
แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด
จึงได้มีมติให้ปิดสาขาทุ่งสงในปีนั้น ซึ่งนายอาภรณ์ กฤษณามระ
ได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้จัดการการสาขาทุ่งสง
ได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่ปิดสาขานั้นได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"...แต่ก่อนมารถไฟได้ขยายเส้นทางเดินไปจนถึงปาดังเบซาร์เชื่อมกับมลายู
เมื่อผมไปรับหน้าที่ ณ สาขานั้นงานเกือบไม่มี
เพราะเมื่อมีรถไฟแล้วคนแทนที่จะมาที่ทุ่งสงก็มักจะเลยไปมลายู
ดังนั้น
เมื่อผมไปอยู่ที่นั้นต้องทำหน้าที่เลิกสาขานั้นตามคำสั่งที่ได้รับไปจากกรุงเทพฯ..." |
|
|
 |
|