หน้าแรก

 http://www.tungsong.com 

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี(พ.ศ.2552-2554)

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์เร่งด่วน ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ

แนวทางการพัฒนา

บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนอย่างคุณภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการให้ยั่งยืนโดยบูรณาการการพัฒนาด้านกายภาพและด้านกระบวนการทางสังคมอย่างเชื่อมโยงและต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาเมืองทุ่งสงให้มีคุณภาพการศึกษา และอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม

1.1 การพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม

1.2 การศึกษาเพื่อชีวิต ชีวา และอาชีพ

1.3 พัฒนาประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

1.4 พัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรทางการศึกษา

1.5 การอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.6 การมีส่วนร่วมจัดการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเมืองทุ่งสงให้มีระเบียบ สะอาด สวยงามสิ่งแวดล้อมดีและยั่งยืน

2.1 จัดระบบจราจร ให้มีระเบียบ และมีประสิทธิภาพ

2. 2.ร่วมกันบริหารจัดการ จัดระเบียบและปรับปรุงตลาด ร้านค้าแผงลอยให้สะอาด ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ ได้มาตรฐาน เป็นตลาดผู้บริโภคอย่างแท้จริง

2.3 จัดระบบการรักษาความสะอาด ถนน ตรอก ซอย คูระบายน้ำให้สะอาด อยู่เสมอ ครอบคลุมทุกชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้าน ความสะอาดชุมชน สร้างจิตสำนึกการรักษาความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่ อาศัยของตนเอง จัดระบบบริหารดูแลตรวจสอบความสะอาด และความเป็น ระเบียบ

2.4 จัดระบบและพัฒนาระบบการจัดการขยะและน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพโดยประชาชนมีส่วนร่วม

2.5 รณรงค์ส่งเสริมการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ

2.6 ร่วมกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปรับภูมิทัศน์ และปรับปรุงสวนสาธารณะเพื่อเป็นปอดของเมืองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ

2.7 ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคนให้มีสุขภาพดี กีฬาเด่น ร่วมพลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด(เมืองกีฬาปลอดยาเสพติด)

3.1. ส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพให้กับประชาชนและเยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และร่วมกับสถาบันการกีฬาและสถาบันการศึกษา ชุมชน พัฒนาเด็กและเยาวชน ประชาชนให้มีพื้นฐานการกีฬาที่ดี นำไปสู่ความเป็นเลิศและกีฬาอาชีพ

3.2. พัฒนาศักยภาพของศูนย์กีฬาเทศบาลให้เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนากีฬาที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ครบครันโดยมีผู้ชำนาญกีฬาและครูฝึกกีฬาที่มีประสิทธิภาพ

3.3. จัดและส่งเสริมการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

3.4. ฟื้นฟูและส่งเสริมกีฬาพื้นบ้านโดยให้ชุมชนเป็นแกนนำในการดำเนินการ

3.5. จัดให้มีระบบสารสนเทศด้านสุขภาพและระบบประกันสุขภาพให้องค์กรชุมชนดูแลสุขภาพของประชาชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพและพัฒนาการให้บริการด้านสาธารณสุขของเทศบาล

3.5.1 จัดให้มีระบบสารสนเทศด้านสุขภาพและระบบประกันสุขภาพ

3.5.2 สนับสนุนองค์กรชุมชน (อบช.) ดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบและประสานงานการบริการ สุขภาพ

3.5.3 พัฒนาการให้บริการด้านสาธารณสุขของเทศบาล

3.6. ดูแลสุขภาพของประชาชนโดยเน้นการป้องกันให้ความรู้ด้านป้องกันโรคโภชนาการ

3.7. ส่งเสริมสนับสนุนการใช้มาตรการเกี่ยวกับมาตรฐาน สุขอนามัยสินค้าเกษตรและอาหาร และสนับสนุนโครงการอาหารปลอดภัย

3.8.เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพการพัฒนาคน ให้ความรู้คู่สมรสจนตั้งครรภ์และเข้าโรงเรียน

3.9.สกัดกั้นอบายมุขและสิ่งเสพติดทั้งหลายด้วยยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน (เน้นการป้องกัน ปราบปราม และบำบัด)

3.10. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่ผู้สูงอายุ

 

             หน้าต่อไป