|
|
|

|
|
หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้จัดให้สอดคล้องตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางปัญญา โดยการบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์
ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ทั้งในและนอกห้องเรียน
|
|
ธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีของบุคคล
|
|
บทบาทของครู
|
|
1. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยการศึกษาค้นคว้า วิจัยให้สามารถจัดการเรียนรู้
2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
4. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยยึดหลักว่า ทุกสถานที่ ทุกแห่ง เป็นแหล่งเรียนรู้ และทุกสิ่งที่พบล้วนเป็นสื่อการเรียนรู้
5. ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ความคิด ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
|
|
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
|
รูปแบบการสอน
1. แบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด
2. แบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม
3. แบบการสอนที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม
|
|
1. แบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด |
|
การใช้กระบวนการแก้ปัญหา |
|
หลักการ
1. ทำความเข้าใจปัญหา
- ต้องการรู้อะไร
- มีข้อมูลใดที่เกี่ยวข้อง |
|
2. การวางแผนแก้ปัญหา
นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาวางแผนกำหนดวิธีการหาคำตอบ
|
|
3. การดำเนินการตามแผน
เป็นขั้นปฏิบัติตามแผนโดยใช้ทักษะที่เคยเรียนมา
|
|
4. การตรวจคำตอบ
พิจารณาว่า ได้แก้ปัญหาเรียบร้อย ครบถ้วนหรือไม่ (P.D.C.A)
|
|
2. การเรียนรู้ "ฉลาดรู้" |
|
เป็นรูปแบบที่ได้จากการสังเคราะห์แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการเรียนรู้
โดยมีหลักการ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเกิดความสมดุลทั้งทางกาย ปัญญา คุณธรรม และทักษะการใช้ชีวิต จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย มีเป้าหมาย สามารถคิดใคร่ครวญด้วยตนเอง จากการปฏิบัติฝึกฝนจนชำนาญ พัฒนาลักษณะการเรียนรู้ที่รู้จริง รู้แจ้ง รู้ลึกซึ้ง และเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งให้ผู้เรียนเกิด |
|
1. ความมุ่งมั่นด้วยศรัทธา
2. ใฝ่หาความรู้คู่คุณธรรม
3. นำไปใช้อย่างฉลาด
4. ไม่ประหมาด หมั่นตรวจสอบพัฒนา
|
|
(3) การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความคิด
- อาศัยหลักการ เรียนรู้ คิด ทำ นำไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
- ยุทธวิธีการเรียนรู้ ใช้การตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ
|
|
(4) การสอนตามแนวพุทธวิธี
1. วิธีสอนแบบอุปมา อุปไมย
สอนโดยการบรรยายเนื้อหาเปรียบเทียบกับคน สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมองเห็นภาพ เกิดมโนทัศน์ชัดเจน และสมจริง
2. วิธีสอนแบบปุจฉา วิสัชนา
วิธีสอนที่ใช้การถาม ตอบ โดยผู้สอนเป็นผู้ถาม นักเรียนตอบ หรือนักเรียนถาม นักเรียนเป็นผู้ตอบ (ครูจะตอบคำถามเอง แต่จะเร้า ส่งเสริมให้นักเรียนช่วยกัน)
3. วิธีสอนแบบธรรมสากัจฉา
วิธีสอนที่ผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาของการปฏิบัติศีล หรือการขาดหลักธรรม ให้ นักเรียนสนทนาจนได้ข้อสรุปความรู้ทางธรรม โดยมีลักษณะการสนทนา ดังนี้
|
|
(1) อภิปรายตามหัวข้อธรรมในหมู่นักเรียน จนนักเรียนสรุปหลักธรรมได้
(2) ซักถามกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู โดยนักเรียนเป็นฝ่ายถาม
|
|
4. วิธีสอนแบบอริยสัจ 4 |
|
(1) กำหนดปัญหา หรือขั้นทุกข์ ครูช่วยนักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยความรอบคอบ และพยายามกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งนักเรียนจะต้องหัดแก้ไขได้ |
|
(2) ขั้นตั้งสมมุติฐาน หรือขั้นสมุทัย
(??) ครูช่วยนักเรียนให้ได้พิจารณาตัวเองว่า สาเหตุของปัญหาที่ยกขึ้นมาในขั้นที่ 1 มีอะไรบ้าง
(??) ครูช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจว่า ในการแก้ปัญหาใด ๆ จะต้องกำจัดหรือจับที่ต้นตอ หรือแก้ที่สาเหตุของปัญหาเหล่านั้น
(??) ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่าการแก้ที่สาเหตุนั้นอาจทำอะไรได้บ้าง กำหนดสิ่งที่กระทำเป็นข้อ ๆ
|
|
(3) ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล หรือนิโรธ
(ก) ขั้นทำให้แจ้ง ครูต้องสอนให้นักเรียนได้กระทำ หรือทำการทดลองด้วยตนเอง ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 2 ข้อ (ค)
(ข) เมื่อทดลองได้ผลประการใด ต้องบันทึกการทดลองแต่ละอย่าง หรือที่เรียกว่าข้อมูล
|
|
(4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล หรือมรรคผล
วิเคราะห์สรุปผลดังวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผล แก้ปัญหาได้จริง ๆ แล้วสรุปการกระทำที่ได้ผลนั้นเป็นข้อ ๆ
|
|
(5) วิธีสอนแบบไตรสิกขา
(1) ขั้นศีล (ศีลสิกขา) คือ การควบคุมให้นักเรียนอยู่ในระเบียบ วินัย ทั้งกาย วาจา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นปกติ พร้อมที่จะเรียน
(2) ขั้นสมาธิ (จิตสิกขา) คือการฝึกสมาธิขั้นต้น ในการควบคุมสติ รวมจิตใจความคิดแน่วแน่เป็นจุดเดียว
(3) ขั้นปัญญา (ปัญญาสิกขา) คือขั้นนักเรียนใช้สมาธิ ทำความเข้าใจในปัญหา การหาสาเหตุ พิจารณาผลที่เกิดขึ้น เกิดปัญญาญาณ มีมโนทัศน์
|
|
สรุป ตนจะเกิดปัญญาเกิดจากการฝึกกำลังใจให้แน่วแน่ มีสมาธิ |
|
ผลผลิต คือ ผู้เรียน ความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ |