![]() |
![]() |
ชื่อท้องถิ่น |
ย่านาง, เครือย่านาง, เถาย่านาง, เถาวัลย์เขียว, ปู่เจ้าเขาเขียว, จ้อยนาง, เถาเขียว, หญ้าภคินี, เครือเขางาม, วันยอ, ย่านนาง, ยานนาง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tiliacora triandra (Colebr.)Diels. |
วงศ์ |
MENISPERMACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ลักษณะ |
ไม้เลื้อยเถาอ่อนเหนียว มีเหง้าใต้ดิน ยอดจะแทงขึ้นมาจากดินเป็นกระจุก ซึ่งจะแตกเป็นเถายาวเถาอ่อนมีขนนุ่ม สีเทา ๆเถาแก่จะเกลี้ยง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก สีเขียวเข้ม กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. รูปโคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวเรียบมัน ดอกออกตามเถาและที่ซอกใบเป็นช่อสั้น ๆ แยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อย รูปวงรี แก่จัดมีสีแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า |
การขยายพันธุ์ |
โดยใช้เถาแก่ที่ติดหัวหรือเมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทุกฤดู มักพบอยู่ในป่าโปร่งทั่วไป เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโดยการปลูกเป็นหลุมหรือยกร่องก็ได้ |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ราก ใบ หัว |
สารเคมีที่สำคัญ |
รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine) |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() ![]() ![]() |
ข้อควรรู้ |
ใบสดใช้ปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารภาคเหนือและภาคอีสาน นิยมใช้แต่งสีเขียวในอาหารคาวเช่นแกงลาว แกงอ่อม ซุปหน่อไม้ ต้มเปรอะ นอกจากจะช่วยแต่งสีเขียวแล้วยังช่วยทำให้น้ำแกงข้นมากขึ้นด้วย |
ยอ | ![]() |
![]() |
![]() |
เร่ว |