![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น |
ตะไคร้แกง(ภาคกลาง) จะไคร(ภาคเหนือ) หัวสีไค (ภาคอีสาน) ไคร (ภาคใต้) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cymbopogon citratus (DC.) Stapf |
วงศ์ |
GRAMINAE (POACEAE) |
ชื่อสามัญ |
Lemon Grass |
ลักษณะ |
เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี มักขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวล หรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและข้อไว้แน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ดอก ออกเป็นช่อกระจาย ก้านดอกช่อดอกย่อยออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ ไม่ค่อยติดดอกและผล |
การขยายพันธุ์ |
ลำต้นเหง้า โดยเอาหง้าแก่ที่มีรากมาปักชำไว้ แยกกอโดยตัดต้นและใบออกบางส่วน แล้วนำไปปักดำในบริเวณที่ต้องการปลูก ปลูกง่าย เจริญเติบโตงอกงามดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชปลูกกลางแจ้ง ปลูกได้ตลอดปี (สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหาต้นตะไคร้แยกกอได้ ให้นำต้นตะไคร้ที่ซื้อมาจากตลาดแช่น้ำจนมีรากงอกออกมาก่อน) |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
เหง้า(หัว) ใบสด ต้น และราก |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
มีน้ำมันหอมระเหย ในปริมาณมากและมีสารสำคัญในน้ำมันคือ citral, Linalool, geraniol, methylheptenone |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() ![]() ![]() |
ข้อควรรู้ |
เมื่อนำไปใช้ในการปรุงอาหาร จะทำให้เพิ่มรสชาด ดับกลิ่นคาว ทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม "น้ำตะไคร้" เพิ่มรายได้ให้ครอบครัวได้อีกด้วย |
ดีปลี | ![]() |
![]() |
![]() |
ตำลึง |