![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น |
กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว(ภาคกลาง), ผักเก็งเค็ง, ส้มพอเหมาะ, ส้มเก็งเค็ง(ภาคเหนือ), แกงแดง, ส้มตะเลงเครง, ส้มปู |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Hibiscus Sabdariffa Linn. |
วงศ์ |
MALVACEAE |
ชื่อสามัญ |
Roselle, Jamaican Sorrel |
ลักษณะ |
เป็นพืชล้มลุก อายุเกินหนึ่งปี เป็นไม้พุ่มสูง 50-180 ซม.ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดงอมม่วง ใบเดี่ยวออกสลับกัน ตัวใบเว้าเป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ 3-5 แฉก ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ดอกออกตรงซอกระหว่างใบและกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีชมพู เมื่อกลีบดอกร่วงกลีบเลี้ยงจะขยายใหญ่ กลีบหนา แข็ง สีแดงอมม่วง มีรสเปรี้ยว ผลสีแดง รูปไข่ ปลายแหลม มีขน มีกลีบเลี้ยงและใบประดับหุ้มอยู่ ผลเมื่อแก่จะแห้งและแตก |
การขยายพันธุ์ |
ใช้เมล็ดปลูกห่างกันครึ่งเมตร |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ใบประดับ และกลีบเลี้ยง กลีบรองดอก ใบ |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
กลีบเลี้ยงมีสีแดง ซึ่งเป็นสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ยอดอ่อนและกลีบเลี้ยงประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิด |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() ![]() ![]() |
ข้อระวัง |
จากการทดลองมีรายงานแสดงผลว่าการดื่มน้ำกระเจี๊ยบมีการขับกรดยูริคออกมาในปัสสาวะลดลง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าส์ซึ่งมีปริมาณกรดยูริคในเลือดสูง และต้องขับออกมาให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ตกตะกอนในร่างกาย |
![]() |
![]() |
กระชาย |