ความหมาย |
 |
ตามพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 |
สมุนไพร น. ผลิตผลธรรมชาติได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยาหรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค
บำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม น้ำผึ้ง รากดิน(ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กำมะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น |
 |
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 |
"สมุนไพร เป็นยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งได้ผสมปรุงแปรสภาพ" |
พืชสมุนไพร |
การใช้พืชสมุนไพรในปัจจุบัน คือการนำเอาส่วนต่าง ๆ ของพืช มาใช้ โดยมีวิธีการเก็บ การแปรสภาพ และการเก็บรักษา ดังนี้ |
|
ช่วงการเก็บ
|
ราก เหง้า(หัว) |
ให้เก็บช่วงที่พืชหยุดเจริญเติบโต ใบดอกร่วงหมด หรือช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน |
 |
ใบ กิ่ง |
ควรเก็บช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุดหรือบางชนิดอาจระบุช่วงเวลาการเก็บที่ชัดเจน |
 |
ดอก |
โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน |
 |
ผล |
สามารถเก็บได้หลากหลาย แล้วแต่ชนิดของพืช เช่นช่วงผลยังไม่สุก หรือช่วงที่ผลแก่เต็มที่แล้ว |
 |
เมล็ด |
สามารถเก็บได้หลากหลาย แล้วแต่ชนิดของพืช เช่นช่วงผลยังไม่สุก หรือช่วงที่ผลแก่เต็มที่แล้ว |
|
เปลือกต้น |
โดยมากเก็บระหว่างช่วงฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน |
|
เปลือกราก |
โดยมากเก็บระหว่างช่วงฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน |
 |
ลำต้น |
ควรเก็บช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุดหรือบางชนิดอาจระบุช่วงเวลาการเก็บที่ชัดเจน |
|
|
การแปรสภาพ |
|
ทำได้โดยการหั่น ผึ่งแดด ผึ่งในร่ม อบแห้ง |
|
การเก็บรักษา |
|
ก่อนเก็บจะต้องแน่ใจว่าพืชสมุนไพรเหล่านั้นแห้งสนิท เพื่อป้องกันการขึ้นรา
และการเปลี่ยนแปลงลักษณะ โดยแบ่งแยกการเก็บให้เป็นสัดส่วน ในที่ซึ่งหนอน หนู หรือแมลงต่าง ๆ ไม่สามารถมาทำลายได้ |
ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพร |
|
ใช้ให้ถูกต้น ใช้ให้ถูกส่วน ใช้ให้ถูกขนาด ใช้ให้ถูกวิธี ใช้ให้ถูกกับโรค |
|
 |
ใช้ให้ถูกต้น เพราะสมุนไพรมีชื่อพ้องและซ้ำกันมาก และบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน ผู้ใช้จึงต้องรู้จักสมุนไพรเป็นอย่างดี ลำต้นอย่างใด มีลักษณะแบบไหน เรียกชื่อว่าอะไร |
|
 |
ใช้ให้ถูกส่วน ทั้งนี้เพราะต้นสมุนไพรไม่ว่าเป็นราก ดอก ใบ เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ต่างกัน จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้ |
|
 |
ใช้ให้ถูกขนาด พบว่าหากใช้สมุนไพรน้อยไปก็รักษาไม่ได้ผล มากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้ |
|
 |
ใช้ให้ถูกวิธี พืชสมุนไพรบางชนิดจะต้องใช้สด บางชนิดต้องใช้ปนกับเหล้า บางชนิดต้องต้ม จึงต้องรู้วิธีใช้ และใช้ให้ถูกวิธี |
|
 |
ใช้ให้ถูกกับโรค เช่นหากท้องผูกต้องใช้พืชที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ไม่ใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝานสมาน เพราะจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น |
ความหมายที่ควรรู้ |
|
ใบเพสลาด ่ |
หมายถึง ใบไม้ที่จวนแก่ |
|
ทั้งห้า |
หมายถึงส่วนของราก ต้น ผล ใบ ดอก |
|
เหล้า |
หมายถึงเหล้าโรง (28 ดีกรี) |
|
แอลกอฮอล์ |
หมายถึงแอลกอฮอล์ชนิดสีขาว สำหรับผสมยา ห้ามใช้แอลกอฮอล์ชนิดจุดไฟ |
|
น้ำปูนใส |
หมายถึงน้ำที่ทำขึ้นโดยการนำปูนที่กินกับหมาก มาละลายน้ำสะอาดตั้งทิ้งไว้ในภาชนะแล้วนำรินน้ำใสที่อยู่ด้านบนมาใช้ |
|
ต้มเอาน้ำดื่ม |
หมายถึงต้มสมุนไพรด้วยการใส่น้ำพอประมาณ หรือสามเท่าของปริมาณที่ต้องการใช้ ต้มพอเดือดอ่อน ๆ ให้เหลือ 1 ส่วนจาก 3 ส่วน ข้างต้น รินเอาน้ำดื่มตามขนาด |
|
ชงเอาน้ำดื่ม |
หมายถึงใส่น้ำเดือดหรือน้ำร้อนจัด ลงบนสมุนไพรที่อยู่ในภาชนะเปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงใช้ดื่ม |
|
1 กำมือ |
มีปริมาณเท่ากับสี่หยิบมือหรือสองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือเพียงข้างเดียวกำโดยให้ปลายนิ้วจรดอุ้งมือโหย่ง ๆ |
|
1 กอบมือ |
มีปริมาณเท่าสองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือสองข้างกอบเข้าหากันให้ส่วนปลายของนิ้วแตะกัน |
|
1 ถ้วยแก้ว |
มีปริมาตรเท่ากับ 250 มล. |
|
1 ถ้วยชา |
มีปริมาตรเท่ากับ 75 มล. |
|
1 ช้อนโต๊ะ |
มีปริมาตรเท่ากับ 15 มล. |
|
1 ช้อนคาว |
มีปริมาตรเท่ากับ 8 มล. |
|
1 ช้อนชา |
มีปริมาตรเท่ากับ 5 มล. |
|
 |