ชื่อท้องถิ่น

สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียด (เหนือ) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่) สีเสียดหลวง สีเสียดลาว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Acacia catechu (Linn.f.) Willd.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่อสามัญ

Catechu Tree / Cutch Tree

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น สูง 10 -15 เมตร กิ่งมีหนามเป็นคู่ เปลือกสีเทาคล้ำ หรือสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างขรุขระ ผิวเปลือกลอกออกเป็นแผ่นยาว ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 9-17 ซม. ใบย่อยมีจำนวนมากขอบขนาน ขนาดเล็ก ใบมีขนประปราย หรือเกลี้ยง ไม่มีก้าน ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ อัดกันแน่นช่อยาวคล้ายหางกระรอก รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน หรือ ขาวอมเหลือง ไม่มีก้านดอก ผลเป็นฝักยาว แบนตรง รูปบรรทัด หัวและท้ายฝักเรียวแหลม ฝักแก่สีน้ำตาลดำ ผิวเป็นมัน แตกด้านข้างตามยาว ภายในเมล็ด 3-7 เมล็ด

การขยายพันธุ์

โดยเพาะเมล็ดให้ได้ต้นกล้า สูง 30-50 ซม. ขุดหลุมกว้างและลึก 50-75 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม นำต้นกล้าลงปลูก กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นแข็งแรงแล้วไม่ต้องการน้ำมาก

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เปลือกต้น เมล็ด

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ก้อนสีเสียดประกอบด้วย catechin 2-20% catechu-tannic acid 20-50% epicatechin,dicatechin

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ท้องเดิน :   นำเปลือกต้นชงกับน้ำเดือด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

   ใช้ล้างแผลหัวนมแตก ใช้ล้างแผลแก้แผลเปื่อยรื้อรัง :   นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ แล้วใช้ล้างแผล

   แก้โรคหิด :   นำเมล็ดในฝักมาฝน ใช้ทาบริเวณที่เป็น

   รักษาน้ำกัดเท้า :   นำยางที่สกัดได้จากแก่นของต้นเอาฝนกับน้ำให้ข้น ๆ แล้วทาบริเวณที่น้ำกัด วันละ 2-3 ครั้ง

ข้อระวัง

-

สับปะรด สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน เสลดพังพอน