ชื่อท้องถิ่น

แมงคุด(ไทย), เมงค็อพ (พม่า)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Garcinia mangostana L.

วงศ์

GUTTIFERAE

ชื่อสามัญ

Mangosteen

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวลำต้นเรียบ สีน้ำตาลถึงดำ ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. ขอบใบเรียบเนื้อในหนา หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเหลืองอ่อน ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้านผลสีม่วงคล้ำ เปลือกหนา เมล็ดมีเนื้อสีขาวหุ้ม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง มังคุดเจริญเติบโตช้ามากจากการเพาะเมล็ด ต้องกินเวลา 15 ปี กว่าจะให้ผล ชอบที่มีแดดรำไร รดน้ำเช้าและเย็น

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เปลือกผลแห้ง

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ผลอุดมด้วยวิตามิน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก เปลือกผลมีสารพวกแทนนิน สารแมงโกสติน สารแซนโทน

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้บิด :   ใช้เปลือกผลแห้งครึ่งผล (ประมาณ 4 กรัม ) ย่างไฟให้เกรียมบดเป็นผงละลายน้ำหรือฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว ใช้ดื่มทุก 2 ชั่วโมง

  รักษาบาดแผล น้ำกัดเท้า แผลเปื่อยพุพอง :  ใช้เปลือกผลแห้งฝนกับน้ำปูนใส พอข้น ทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง หลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว
        ล้างแผลเปื่อยใช้เปลือกผลสด หรือแห้ง ต้มน้ำเคี่ยวให้งวดเล็กน้อย นำมาล้างแผล วันละ 2-3 ครั้ง

  แก้อาการท้องเสียเรื้อรัง,โรคลำไส้ :   ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งครึ่งลูก ย่างไฟ หรือต้มกับน้ำ นำมาฝนกับน้ำปูนใส รับประทานทุก 2 ชั่วโมง

ข้อควรรู้


มะหาด สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน แมงลัก