ชื่อท้องถิ่น

หาด(ภาคกลาง), หาดหนุน, หาดขนุน(พายัพ), กาแย, ตาแป, ตาแปง (นราธิวาส), หาดใบใหญ่ ,มะหาดใบใหญ่ (หาดใหญ่), ขนุนป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์

Artocarpus lakoocha Roxb.

วงศ์

MORACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น เปลือกลำต้นหยาบสีเทาแกมน้ำตาล หรือน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด ลำต้นสูงประมาณ 30 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปวงรี กว้าง 8-10 ซ.ม. ยาว 10-20 ซ.ม. หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสาก ดอกช่อออกที่ซอกใบ ค่อนข้างกลม ก้านสั้น แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ผล เป็นผลรวม รูปกลม สีเหลือง ผิวขรุขระ มีขนนุ่ม

การขยายพันธุ์


ส่วนที่นำมาเป็นยา

แก่น

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

เตตร้าไฮดรอกซี่ สติลบีน (Tetrahydroxystibene)

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   ยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน และตัวตืดสำหรับเด็ก :    ผงปวกหาด (ใช้แก่นมาหั่นเป็นชิ้น ๆ ประมาณ ครึ่งปี๊ป หรือ10 ลิตร ต้มเคี่ยวด้วยน้ำจนเกิดฟอง ช้อนเอาฟองมาตากแห้ง จะได้เป็นผงสีเหลือง เรียกว่าผงปวกหาด) 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 3-4 กรัม ละลายน้ำเย็น (อาจบีมนำมะนาวลงไปด้วยก็ได้) กินตอนเช้ามืดขณะท้องว่าง จากนั้น 2 ชั่วโมงให้กินยาถ่าย(ดีเกลือ) ตาม
   แก้คัน :   ใช้ผงปวกหาด ละลายน้ำทาบริเวณที่คัน

ข้อควรรู้

การรับประทานปวกหาดกับน้ำร้อนจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น

มะแว้งต้น สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มังคุด