ชื่อท้องถิ่น

ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ ลอกอ หมักหุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Carica papaya L.

วงศ์

CARICACEAE

ชื่อสามัญ

Papaya

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูง 3 - 6 เมตร ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวง ไม่มีแก่น ผิวขรุขระเป็นร่องตามยาว ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อ ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2 - 3 ดอก สีนวล ผลเป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม เนื้ออ่อนนุ่ม เมล็ดมีสีดำ หรือสีน้ำตาลดำ

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผล ราก ก้านใบ และยาง

สารเคมีที่สำคัญ

ผลสุกมีธาตุเหล็ก แคลเซียม ไวตามินเอ บี ซี Pectin.ในยางมีเอนไซน์ papain และ chymopapain

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน :  รับประทานผลมะละกอ
 ขับพยาธิเเส้นด้าย : ใช้ยางสดของมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมไข่ไก่ 1 ฟอง ทอดกินตอนเช้าขณะท้องว่าง
         ใช้ยางสดมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำร้อน 3-4 ช้อนโต๊ะ กินครั้งเดียวจนหมดเมื่อครบ 2 ชั่วโมง กินน้ำมันละหุ่ง 2-3 ช้อนชา ตาม กินติดต่อกัน 2 วัน
         ใช้เมล็ดมะละกอแก่ ๆ สด หรือ แห้ง 1-2 ช้อนชา คั่วแห้งบดละเอียด เติมน้ำผึ้งพอสมควร กินติดต่อกัน 2-3 วัน

ข้อควรรู้

ยางจากผลดิบ สามารถนำมาใช้ย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อยได้ และใช้ผสมในเครื่องสำอางลบรอยฝ้าและจุดด่างดำบนใบหน้า

มะพร้าว สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มะแว้งเครือ