ชื่อท้องถิ่น

ถั่วพระเหลือง,ถั่วแระ,ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) ; มะถั่วเน่า(ภาคเหนือ) ; อึ่งตั่วเต่า,เฮ็กตั่วเต่า(จีน - แต้จิ๋ว) ; โซยา บีน (อังกฤษ) ; โซยุ (ญี่ปุ่น)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Glycine max (L.) Merr.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนยาวคลุมอยู่ทุกส่วนของลำต้น ใบ ติดกับลำต้นแบบสลับ มีใบย่อย 3 ใบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ ปลายแหลม ใบมีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกเป็นดอกเล็ก สีขาวอมม่วง ฝักแบนยาว มีเมล็ด 2-3 เมล็ด

ขยายพันธุ์

ด้วยเมล็ด เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ไม่ควรเตรียมดินให้มีความละเอียดมากนักเพราะเมื่อฝนตกจะทำให้หน้าดินแข็งจับกันแน่นต้นอ่อนไม่สามารถดันดินขึ้นมาได้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เมล็ด เปลือกเมล็ด ใบสด ดอก

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

วิตามินซี ,โปรตีน ,ไขมัน ,แป้ง , chrysanthemin , delphinidin - 3 -monoglucoside และ folic acid

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ลดโคเรสเตอรอล, ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มฮอร์โมนแก่สตรีวัยหมดประจำเดือน :  ใช้รับประทานเป็นอาหาร

  การรักษาแผลที่เกิดจากฝีดาษ :  ใช้ถั่วเหลืองเผาแล้วบดเป็นผง ผสมน้ำมันหอมทาบริเวณที่เป็น

  แผลมีหนองเรื้องรัง :  นำถั่วเหลืองมาแช่น้ำให้พอง ใช้ตำพอกบริเวณที่เป็น

  เลือดออกง่าย :  ใช้ใบ 1 กำมือ ใส่ในน้ำพอประมาณ ต้มให้น้ำงวดเล็กน้อย

  งูกัด :  ใช้ใบสดตำพอก เปลี่ยนยาวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ถั่วเหลืองเพาะให้แตกราก ต้มให้สุก กินจืดๆ วันละ 3 มื้อ กินจนอิ่มติดต่อกัน 3 วันเป็น 1 รอบของการรักษา ในระหว่างที่กิน ไม่ต้องกินอาหารอื่น งดเว้นอาหารที่มีน้ำมันมากด้วยหลังจากนั้นวันที่ 4 ให้กินอาหารเป็นปกติ กินอาหารถั่วเหลืองงอกเป็นอาหารเสริม

  ระบบย่อยอาหารไม่ดี :  ช้ถั่วเหลือง 500 กรัม ฮ้วยติ้ง 5 กก. โดยใช้ฮ้วยติ้งต้มเอาน้ำ แล้วใส่ถั่วเหลืองต้มให้เดือดนาน 20 นาที เอากากออกระเหยน้ำจนแห้ง บดเป็นผง ทารกให้กินครั้งละ 0.5 - 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง

ข้อควรระวัง

ถั่วเหลืองกินมากทำให้อืดแน่น มีเสมหะ ไอ น้ำหนักเพิ่ม หน้าเหลือง มีแผล มีหนอง

ถั่วพู สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ทองพันชั่ง