ชื่อท้องถิ่น

ถั่วพู ,บอบ่ะปะหลี (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Psophocarpus Letragonlobus(L.) DC.

วงศ์

Leguminosae

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้เถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว ใบออกจากลำต้นแบบสลับ สีเขียว ปลายใบแหลม มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่ป้อมดอกเป็นดอกย่อย สีขาวอมม่วง ฝักแบนเป็นเหลี่ยม มี 4 ปีก ตามความยาวของฝัก เมื่อแก่แล้วฝักส่วนมากจะแตก มีหลายเมล็ด

การขยายพันธุ์

ใช้เมล็ด การนำมาปลูกเป็นรั้ว โดยเพาะเมล็ด 2-3 เมล็ดลงในหลุม ให้มีระยะห่างระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร รดน้ำทุกวันจนงอกและตั้งตัวได้ดี เมื่ออกยอดขึ้นมาควรจัดยอดที่แตกใหม่ให้เลื้อยไปตามรั้วให้เหมาะสม

ส่วนที่นำมาเป็นยา

หัวถั่วพู

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

วิตามิน เอ, ซี, อี , คาร์โบไฮเดรท ,โปรตีน, ไขมัน และฟอสฟอรัส

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   แก้อ่อนเพลีย เป็นยาบำรุงกำลังของคนป่วยหนัก :   นำหัวถั่วพูตากแห้ง หั่นคั่วไฟให้เหลืองหอม ชงน้ำดื่ม

   ยาระบาย :   คั้นน้ำจากหัวถั่วพูใช้ดื่ม

ข้อระวัง

-

เตยหอม สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ถั่วเหลือง