|
ชื่อท้องถิ่น |
กิเกีย ,หน่อปะหน่ำเหน่อ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ; ชุมเห็ดเขาควาย,ชุมเห็ดนา ,ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมืนน้อย(ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี); |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Senna tora (L.) Roxb.(Cassia tora L.) |
วงศ์ |
LEGUMINOSAE (FABACEAE) , CAESALPINIOIDEAE |
ชื่อสามัญ |
Foetid Cassia |
ลักษณะ |
เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 50 - 100 ซ.ม. แตกกิ่งด้านข้างเป็นพุ่ม ใบ เป็นใบประกอบแบบขน นกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 คู่ รูปไข่กลับ กว้าง 1.5 - 2.5 ซม. ยาว 2 - 4 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบตอนปลายกิ่งเป็นกระจุก 2-4 ดอก กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝัก เมล็ด รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว |
การขยายพันธุ์ |
เมล็ด จะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ราบลุ่ม |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
เมล็ด ใบ และต้น |
สารเคมีและสาร อาหารที่สำคัญ |
- เมล็ด
พบ anthraqinone, emodin, chrysarobin, chrysophanic acid-9-anthrone, chrysopthanol, rhein, aloe-emodin
- น้ำมันจากเมล็ด พบ linoleic acid, oleic acid, palmitic acid, stearic acid
- ใบ พบ chrysophain acid, emodin และ 1,6,8-trihydroxy-3 methyl anthraqul-mome
|
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
โรคตาฝ้ามัว (ที่ไม่ได้เกิดจากโรคติดเชื้ออื่น):
ใช้เมล็ดแห้งบดเป็นผงกินกับข้าวต้มเป็นประจำ ห้ามกินร่วมกับปลา ต้นหอม และซิงไฉ่
ลดความดันโลหิต:
ใช้เมล็ดแห้ง 30 กรัม คั่วให้หอม ชงกับน้ำกินแทนน้ำชา
โรคตาลขโมยในเด็ก:
ใช้เมล็ดแห้ง 10 กรัม ตับไก่ 1 คู่ บดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ปั้นเป็นก้อนนึ่งให้สุก ให้เด็กรับประทาน
ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด :
ใช้ใบหรือต้นแห้ง 15 - 30 กรัม (ถ้าใบหรือต้นสด ให้เพิ่มอีก 1 เท่าตัว) ผสมชะเอม แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม
เป็นยาระบาย ช่วยให้นอนหลับ และขับปัสสาวะ:
นำเมล็ดแห้ง 100 กรัม คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนร้อน กระเทาะเปลือกออก แล้วคั่วอีกครั้งจนเหลืองเข้มเกือบเป็นสีน้ำตาลและส่งกลิ่นหอม ห่อด้วยผ้าขาวบางหย่อนลงไปในหม้อน้ำเดือด แช่ในน้ำเดือดสักครู่ โดยสังเกตุน้ำในหม้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน จึงยกห่อเมล็ดชุมเห็ดขึ้นจากหม้อ เติมน้ำตาลทรายชิมรสหวานตามชอบ ซึ่งสามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น
รักษาอาการท้องผูก: ใช้เมล็ดแห้ง 2 - 2 1/2 ช้อนโต๊ะ (10-15 กรัม) คั่วให้หอม แล้วนำมาต้มหรือชงกับน้ำร้อนดื่ม (อาจมีอาการง่วงนอนร่วมด้วย)
|
ข้อควรรู้และควรระวัง |
- คนที่ธาตุอ่อน ท้องเสียง่าย หรือขณะที่ท้องเสียห้ามกิน
- คนที่ไตไม่ปกติ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับไตห้ามกิน
|