![]() |
![]() |
ชื่อท้องถิ่น |
ชุมเห็ดเทศ, ขี้คาก, ลับมือหลวง, เล็บมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ, ส้มเห็ด, จุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ตะลีพอ, ตุ๊ยเฮียะเต่า, ฮุยจิวบักทง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Senna alata (L.) Roxb. (Cassia alata L.) |
วงศ์ |
CAESALPINIACEAE |
ชื่อสามัญ |
Candelabra Bush, Ring Worm Bush, Seven - Golden - Candle - Sticks |
ลักษณะ |
เป็นไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอก : ออกเป็นช่อที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองทอง ดอกย่อยมีใบประดับสีเหลืองแกมน้ำตาล กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ ผล : เป็นฝัก มีครีบ 4 ครีบ ภายในมีเมล็ดสีดำอยู่จำนวนมาก เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม |
การขยายพันธุ์ |
เมล็ด ปลูกง่ายในดินเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำและดินที่ชุ่มชื่น ไม่ชอบร่ม ปลูกโดยการเพาะกล้าก่อน หรือปลูกโดยตรงก็ได้ |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ดอกสด ใบสด หรือแห้ง |
สารเคมีและสาร อาหารที่สำคัญ |
มีสารแอนทราควิโนน กลัยโคซานด์ หลายชนิดได้แก่ emodin, aloe - emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำใส้ใหญ่ |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() |
![]() |
|
![]() ใบแห้งบดเป็นผงปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีกอาการท้องผูก ใช้ใบสด 8-12 ใบ อังไฟให้เหลือง หั่นเป็นฝอย ต้มกับน้ำ 1 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย รินเอาแต่น้ำ ใช้สำหรับดื่ม |
|
ข้อควรระวัง |
- ใบชุมเห็ดเทศถ้าไม่คั่วเสียก่อน จะเกิดอาการข้างเคียง คืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วความร้อนจะช่วยให้สารที่ออกฤทธิ์ทำให้คลื่นไส้อาเจียนสลายไป - ส่วนต่าง ๆ ของชุมเห็ดเทศมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์ระบายโดยการกระตุ้นบีบตัวของลำไส้ใหญ่ จึงไม่ควรกินติดต่อกันนานเพราะเมื่อไม่ได้รับยาจะทำให้ลำไส้ไม่ทำงานตามปกติ |
คูน | ![]() |
![]() |
![]() |
ชุมเห็ดไทย |