แนวทางปฏิบัติราชการ

ด้านอำนวยการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

แนวทางปฏิบัติราชการเพื่อบริการประชาชน

กองการเจ้าหน้าที่

 

เรื่อง  การประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการและลูกจ้างประจำ

และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในระบบเปิด

 

ลำดับ
ที่

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

ระยะเวลา
ในการปฏิบัติ

หน่วยงาน/
ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
(กฎหมาย/ระเบียบ/
หนังสือสั่งการฯลฯ
)

1

การประเมินฯ ครั้งที่ 1 (.. – มี..)

ดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อใช้ประกอบการ

พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 เม..ของทุกปี

-  ข้าราชการ

ระดับ  8  ลงมา

ทุกคน / ลูกจ้างประจำ

1. หนังสือสำนักงาน ก.. ที่ นร   0708.1/16  ลว. 7 ..2540

หน่วยงานรับผิดชอบในส่วนกลาง

กองการเจ้าหน้าที่ โทร.0-2241-9012, 0-2241-9013

 

1.       ข้าราชการ / ลูกจ้างประจำซึ่งเป็นผู้ขอรับการประเมินบันทึกผลการปฏิบัติงานของตนเองลงในแบบประเมิน (ตอนที่ 2 ครั้งที่ 1)  และรายงานให้ผู้บังคับบัญชา     ชั้นต้น

-      ข้าราชการระดับ 7 – 8 ใช้ แบบ 1

-      ข้าราชการระดับ  6  ลงมา / ลูกจ้างประจำใช้ แบบ  2

 

2.       ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

 

- ผู้บังคับบัญชา

ชั้นต้น

 

 

3.       ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปกลั่นกรอง

4.       การประเมิน

 

- ผู้บังคับบัญชา

เหนือขึ้นไป

 

 

5.               ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นแจ้งผลการประเมินแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ

 

- ผู้บังคับบัญชา

ชั้นต้น

 

 

6.               สำนัก / กอง / กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดประกาศรายชื่อผู้อยู่ในระดับ ดี/  ดีเด่น   (แบบ 3)  และจัดเก็บแบบประเมินไว้ที่งานธุรการของหน่วยงานต้นสังกัด

 

- สำนัก / กองและกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

 

 

 

 

 

2

การประเมินฯ ครั้งที่  2 (เม.. – ..)

ดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ..  ของทุกปี

- สำนัก / กองและกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

หน่วยงานรับผิดชอบในส่วนกลาง

กองการเจ้าหน้าที่โทร.0-2241-9012, 0-2241-9013

 

1.               หน่วยงานต้นสังกัดจัดส่งแบบประเมินให้แก่ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำซึ่งเป็นเจ้าของแบบประเมิน

 

 

 

 

2.               ข้าราชการ / ลูกจ้างประจำซึ่งเป็นผู้ขอรับการประเมินบันทึกผลการปฏิบัติงานของตนเองลงใน แบบประเมิน  (ตอนที่ 2 ครั้งที่ 2) และ รายงานให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น

 

-ข้าราชการระดับ 8 ลงมาทุกคน / ลูกจ้างประจำ

 

 

3.               ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นประเมินและสรุปผลปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและสรุปผลคะแนนจากการประเมินครั้งที่  1  และ  2

 

- ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น

 

 

4.               ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปกลั่นกรองการประเมิน

 

- ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป

 

 

5.               ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นแจ้งผลการประเมินแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ

 

- ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น

 

 

6.               สำนัก / กอง  และกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดประกาศรายชื่อผู้ อยู่ในข่ายเสนอพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้นครึ่ง  และ  2  ขั้น (แบบ 4)

 

- สำนัก / กองและกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

 

7.               สำนัก / กอง และกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดส่งแบบ ประเมินเฉพาะตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ระดับ 7 – 8 (แบบ  1)  และแบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี  (แบบ 5)  ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำหรับตำแหน่งระดับ  6 ลงมา  และลูกจ้างประจำให้จัดเก็บไว้กับ  ..7  ทั้งนี้  หากข้าราชการผู้รับการประเมินผู้ใดได้รับ คำสั่งแต่งตั้ง / โยกย้ายระหว่างรอบการประเมิน ให้พิจารณาจากระยะเวลาการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้นว่ามีระยะเวลาการปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ที่ใดให้ผู้บังคับบัญชาในช่วงระยะเวลานั้นเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานและให้นำแบบประเมินแนบไปพร้อมกับหนังสือส่งตัว

 

- สำนัก / กองและกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

 

เรื่อง  การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ข้าราชการ

 

ลำดับ
ที่

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

ระยะเวลา
ในการปฏิบัติ

หน่วยงาน/
ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
(กฎหมาย/ระเบียบ/
หนังสือสั่งการฯลฯ
)

1

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

 

 

 

1.  เมื่อสำนัก /กอง /กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด  ได้รับการแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปีจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแล้ว  ให้ดำเนินการดังนี้

มกราคม -

  มีนาคม

สำนัก / กอง /

กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย  .. 2536

 

1.1       ปฏิบัติตามแนวทางและกำหนดระยะเวลาในหนังสือสั่งการตามข้อ 1.

 

 

 

 

1.2       ตรวจสอบและกลั่นกรองผู้พึงได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้อยู่ในหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่จะเสนอขอพระราชทานฯ ตามระเบียบฯ  โดยเคร่งครัด

 

 

 

 

1.3       รวบรวมรายชื่อผู้มีคุณสมบัติและอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานฯ โดยจัดพิมพ์ลงในแบบบัญชีที่กำหนด ส่งไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและจัดส่งไปยังกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการต่อไป

 

 

 

2

การขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา

 

 

 

 

1. เมื่อสำนัก /กอง /กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดได้รับการแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาประจำปี  จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแล้ว  ให้ดำเนินการ  ดังนี้

มกราคม -     

  มีนาคม

สำนัก / กอง /กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา  ..2484 

แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  ..2485 (ฉบับที่ 3)  ..2507

 

1.1       ปฏิบัติตามแนวทางและกำหนดระยะเวลาในหนังสือสั่งการตามข้อ  1.

 

 

 

 

1.2       ให้ผู้ที่จะขอพระราชทานจัดทำบัญชี  รายการประวัติของตนเอง  (ตามแบบที่กำหนด)  โดยให้ลงรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้อง  (ประวัติตาม  ..7)  เรียงลำดับปีตั้งแต่เข้ารับราชการจนถึงปัจจุบัน  พร้อมทั้งลงชื่อเจ้าของประวัติ  จำนวน  3  ชุด

 

 

 

 

1.3       ตรวจสอบความถูกต้องของรายการ      ประวัติและหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ..2484  ฯลฯ  ของผู้   จะขอพระราชทาน  โดยเคร่งครัด

 

 

 

 

1.4       รวบรวมบัญชีรายการประวัติของผู้อยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทาน ส่งไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและจัดส่งไปยังกระทรวงมหาดไทยดำเนินการต่อไป

 

 

หน่วยงานรับผิดชอบในส่วนกลาง กองการเจ้าหน้าที่โทร. 0-2241-9012, 0-2243-6631

 

 

 

 

 

 

เรื่อง    ขั้นตอนการสอบสวนข้าราชการกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

 

ลำดับ
ที่

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

ระยะเวลา
ในการปฏิบัติ

หน่วยงาน/
ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
(กฎหมาย/ระเบียบ/
หนังสือสั่งการฯลฯ
)

1

เมื่อข้าราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้มีอำนาจ  สั่งบรรจุ   (อาทิ                 ปลัดกระทรวง, อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น l )  สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ   สอบสวนจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนจำนวน      อย่างน้อยสามคนโดยประธานกรรมการต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูก     กล่าวหาและอย่างน้อยหนึ่งคนต้องดำรงตำแหน่งนิติกรหรือผู้ได้ปริญญาทางกฎหมายหรือมี   ประสบการณ์ด้านวินัย

270  วัน

- กองการเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานวินัย  โทร. 0-2241-9011

-  กลุ่มส่งเสริม

การปกครอง

ท้องถิ่นจังหวัด

1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  ..2535

2. กฎ  .. ฉบับที่  18(..2540)  ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา

§    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยอย่างไม่    ร้ายแรง  การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและการสั่งลงโทษ ข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดตั้งแต่ระดับ  7  ลงมา   ยกเว้น หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการ     ปกครองท้องถิ่นจังหวัด  ตามมาตรา  102, 103  และ  104  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ..2535(ตามคำสั่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ที่  19/2545  เรื่อง  มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน  ลงวันที่  31  ตุลาคม  2545)

 

 

 

 

 

2

ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาและคณะกรรมการสอบสวนทราบ

 

 

 

 

 

 

 

 

3

เมื่อประธานกรรมการรับทราบคำสั่งให้ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวางแนวทางการสอบสวนและแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาตาม แบบ ส..2 ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่ากระทำการใด เมื่อใด  อย่างไร ภายใน 15  วัน นับแต่วันประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

4

กรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ  ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้ทราบว่าการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวเป็นความผิดวินัยกรณีใด  หากยังยืนยันรับสารภาพ  ให้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพรวมทั้งเหตุผลในการรับสารภาพ  (ถ้ามี)  และสาเหตุแห่งการกระทำไว้ด้วย  ซึ่งคณะกรรมการจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้หรือหากต้องการทราบข้อเท็จจริง และพฤติการณ์โดยละเอียดจะทำการ  สอบสวนต่อไปก็ได้  ในกรณีไม่ทำการสอบสวนต่อไปให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมพิจารณาว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่และทำรายงานสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่  อย่างไรถ้าผิดเป็นความผิดวินัย  กรณีใด  มาตราใด ควรได้รับโทษสถานใด

 

 

 

5

กรณีผู้ถูกกล่าวหาไม่รับสารภาพ หรือรับสารภาพ  แต่คณะกรรมการประสงค์จะทำการสอบสวนต่อไปให้รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาและประชุมพิจารณาพยานหลักฐานว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใดและเป็นความผิดวินัยกรณีใด          ให้แล้วเสร็จภายใน  60  วัน  นับแต่วันได้ดำเนินการตามข้อ 4  เสร็จ

 

 

 

6

แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามแบบ สว.3  ไม่ว่าพยานหลักฐานจะรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง ภายใน 15  วัน นับแต่วันที่ได้  ดำเนินการตามข้อ  5  เสร็จ

 

 

 

7

เมื่อแจ้ง  สว.3  แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนถาม  ผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือไม่      ถ้าประสงค์จะยื่นเป็นหนังสือต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันแจ้ง  สว.3  แล้ว  และจะให้ถ้อยคำเพิ่มเติมหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาอีกก็ได้  หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์ยื่นเป็นหนังสือให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อ  กล่าวหาโดยเร็ว  การดำเนินการตามข้อนี้ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน  นับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามข้อ  6  เสร็จ

 

 

 

8

เมื่อทำการรวบรวมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาเสร็จ  ให้ประชุมพิจารณาลงมติว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่  ถ้าผิดเป็นความผิดวินัย
กรณีใด  ตามมาตราใด  และควรได้รับโทษสถานใด  พร้อมกับรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายใน  30 วันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามข้อ 7 เสร็จ

 

 

 

9

ในการประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง  เว้นการประชุมเพื่อพิจารณาว่าพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด  เมื่อใดอย่างใด  และเป็นความผิดกรณีใด  ตามมาตราใด  (ก่อนแจ้ง สว.3)  หรือประชุมเพื่อลงมติว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่  ต้องมีกรรมการสอบสวนการประชุมไม่น้อยกว่าสามคน  และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

 

 

 

10

ในกรณีคณะกรรมการสอบสวนไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนใด ให้ทำรายงานเหตุที่ไม่เสร็จและขอขยายเวลาการสอบสวนแต่ละขั้นตอนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้ไม่เกินครั้งละ  60  วัน  หากทำการสอบสวนไม่แล้วเสร็จภายใน 270 วันให้ประธานกรรมการรายงานเหตุให้ผู้สั่งแต่งตั้งทราบเพื่อรายงาน อ...กระทรวง ทราบต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพขยาย



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           

 

 

แนวทางปฏิบัติราชการเพื่อบริการประชาชน

กลุ่มประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

เรื่อง  การตรวจราชการ

 

ลำดับ
ที่

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

ระยะเวลา
ในการปฏิบัติ

ตัวชี้วัด
ผลการปฏิบัติงาน

หน่วยงาน/
ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
(กฎหมาย/ระเบียบ/
หนังสือสั่งการฯลฯ
)

1

การจัดทำแผนการตรวจราชการ

ภายในเดือนกันยายนของทุกปี

มีแผนการตรวจราชการประจำปีและใช้แผนฯ เป็นตัวกำหนดประเด็นการตรวจราชการ

.ปสจ. โทร.

0-2243-2226 ต่อ 129

คำสั่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ 49/2545 เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

- แจ้งสำนัก/กองต่างๆ กำหนดภารกิจที่จะให้ ก.ปสจ. ออกตรวจติดตามผล

 

- จัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี เสนออธิบดี เพื่อให้ความเห็นชอบ

 

 

 

 

- แจกจ่ายแผนการตรวจราชการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2

การตรวจราชการ

ทุกเดือน

กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดและท้องถิ่นทุกแห่ง ปฏิบัติราชการตามนโยบายแบบแผนของทางราชการ รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความพึงพอใจในผลการปฏิบัติราชการ

 

 

 

- แจ้งกำหนดการตรวจราชการตามแผนแยกเป็นรายเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวม 12 เขต ให้จังหวัดและท้องถิ่นทราบ

 

 

 

 

- ออกตรวจราชการตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3

การรายงานและผลประเมิน

ทุกสิ้นเดือนและทุกรอบครึ่งปี (มี.. และ ก..)

อธิบดีรับทราบปัญหาและความต้องการของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มในกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดและท้องถิ่น สามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหา ความต้องการดังกล่าวให้เหมาะสมเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

- สรุปรายงานผลและข้อเสนอแนะให้อธิบดี

 

 

 

- ดำเนินการติดตามผลตามที่อธิบดีสั่งการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่อง  การนิเทศงาน

 

ลำดับ
ที่

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

ระยะเวลา
ในการปฏิบัติ

ตัวชี้วัด
ผลการปฏิบัติงาน

หน่วยงาน/
ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
(กฎหมาย/ระเบียบ/
หนังสือสั่งการฯลฯ
)

1

การจัดทำแผนการนิเทศงาน

ภายในเดือนกันยายนของทุกปี

มีแผนการตรวจนิเทศงานประจำปี และใช้แผนฯ เป็นตัวกำหนดประเด็นการนิเทศงาน

กลุ่มประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดโทร. 0-2243-2226 ต่อ 129

- คำสั่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ 49/2545เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

- แจ้งสำนัก/กองต่างๆ กำหนดภารกิจที่จะให้ ก.ปสจ. ออกนิเทศงานร่วมกัน

 

 

 

 

2

การนิเทศงาน

ตามแผนการนิเทศงาน

กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดและท้องถิ่นทุกแห่ง มีความรู้ ความเข้าใจในแนวทาง นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ประชาชนมีความพึงพอใจในผลการปฏิบัติราชการ

กลุ่มประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

 

- แจ้งกำหนดการนิเทศและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกนิเทศงานตามแผนฯ

 

 

- ออกนิเทศงานตามแผนฯ

 

3

การรายงานและผลการประเมิน

เมื่อเสร็จสิ้นการนิเทศงาน

อธิบดีรับทราบผลการนิเทศงาน

กลุ่มประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

 

 

- สรุปรายงานและประเมินผลการนิเทศงานให้อธิบดีทราบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่อง  การตรวจสอบภายใน

 

ลำดับ
ที่

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

ระยะเวลา
ในการปฏิบัติ

ตัวชี้วัด
ผลการปฏิบัติงาน

หน่วยงาน/
ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
(กฎหมาย/ระเบียบ/
หนังสือสั่งการฯลฯ
)

1

การวางแผนการตรวจสอบ การจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี

ภายในสัปดาห์แรกของเดือนกันยายนของทุกปี

แผนการตรวจสอบประจำปี

หน่วยตรวจสอบภายใน

0-2241-9028

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ..2542 ข้อ15

 

 

 

 

 

 

2

เสนอแผนตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นก่อนเสนอ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติ

เสนอให้คณะกรรมการฯให้ความเห็นภายใน 15 วัน

สามารถเสนอคณะกรรมการภายใน  25 ..

”

”

 

 

 

 

 

 

3

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อนุมัติให้ความเห็นชอบ

3  วัน

สามารถอนุมัติได้ภายใน 27 ..

”

”

 

 

 

 

 

 

4

จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานตรวจสอบ

-  การกำหนดวัตถุประสงค์

-  กำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน

-  การจัดสรรทรัพยากร

7 – 10  วัน

แนวทางการตรวจสอบแล้วเสร็จก่อนการปฏิบัติงานตรวจสอบ

”

มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

 

 

 

 

 

 

5

การปฏิบัติงานตรวจสอบ

-  การรวบรวมข้อมูล

-  การวิเคราะห์และการประเมิน

-  การบันทึกข้อมูล

-  การควบคุมการปฏิบัติงาน

15 วันต่อหน่วยรับตรวจ

ตรวจสอบได้ตามกำหนด

”

”

 

 

 

 

 

 

6

การรายงานผลการปฏิบัติงาน

ภายหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบ หรืออย่างน้อยทุก  2 เดือน

รายงานฯได้ภายใน  15 วัน         หลังตรวจเสร็จ

”

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ..2542 ข้อ15 วรรค 2

 

 

 

 

 

 

7

การติดตามผลการตรวจสอบ

ตามเหตุผลและความจำเป็น

”

”

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ..2542  ข้อ12 (4)

 

 

 

 

 

 

 

Back