http://www.tungsong.com
|
|
|Download Document
|
ส่วนที่หนึ่ง มาตรฐานการควบคุมภายใน 1. ความหมาย วัตถุประสงค์ และแนวคิดของการควบคุมภายใน 2. ความรับผิดชอบของผู้กำกับดูแลและฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน 3. มาตรฐานการควบคุมภายในและการอธิบาย 1. ความหมาย วัตถุประสงค์ และแนวคิดของการควบคุมภายใน การควบคุมภายใน
หมายถึง กระบวนการที่ผู้กำกับดูแล
ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจกำหนดให้มีขึ้น
เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ได้แก่ การดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกัน หรือลดความผดพลาด ความเสียหาย
การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ 2. ความเชื่อถือได้ของการรายงานทางการเงิน
ได้แก่ การจัดทำรายงานทางการเงินที่ใช้ภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
เชื่อถือได้ และทันเวลา 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย
และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ
หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจ รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย
และวิธีการปฏิบัติงานที่หน่วยรับตรวจได้กำหนดขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากการควบคุมภายใน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการควบคุมภายใน
แม้จะอยู่ในวัตถุประสงค์หลักของการควบคุมภายในดังกล่าวข้างต้น
แต่จะแตกต่างกันไปขึ้นกับฝ่ายบริหารให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ใดมากกว่ากัน
กล่าวคือบางหน่วยงานอาจเน้นเรื่องระวังป้องกันการทุจริต การรั่วไหล
บางหน่วยงานเน้นการบรรลุวัถตุประสงค์ทางการบริหาร
บางหน่วยงานอาจเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากร
บางหน่วยงานอาจเน้นเรื่องการรายงานถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องของนโยบาย ทัศนคติ
ลักษณะหน่วยงาน หรือทุกเรื่องผสมผสานกัน
ในการจัดวางระบบการควบคุมภายในจึงควรให้ความสำคัญกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการควบคุมที่กำหนดและปรับปรุงการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลอยู่เสมอ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการควบคุมภายในนอกจากจะลดความผิดพลาด
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแล้ว
ยังทำให้การใช้ทรัพยากรและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน จากความหมายของการควบคุมภายในข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
ดังนี้ 1. การควบคุมภายในเป็นส่วนประกอบที่แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ การควบคุมภายในมิใช่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
และมิใช่ผลสุดท้ายของการกระทำแต่เป็นกระบวนการ (Process) ที่ต่อเนื่อง
และแทรกหรือแฝงอยู่ (Built in) ในการปฏิบัติงานตามปกติของหน่วยรับตรวจ
ฝ่ายบริหารจึงควรนำการควบคุมภายในมาใช้โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารงาน
ซึ่งได้แก่ การวางแผน (Planning) การดำเนินงาน (Executing)
และการติดตามผล (Monitoring) 2. การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของหน่วยรับตรวจ
บุคลากรทุกระดับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้มีการควบคุมภายในเกิดขึ้นในหน่วยรับตรวจ
ฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี
โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ วางกลไกการควบคุมและการกำหนดกิจกรรมต่างๆ
รวมทั้งการติดตามผลการควบคุมภายใน
ส่วนบุคลากรอื่นของหน่วยรับตรวจรับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดขึ้น 3. การควบคุมภายในให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ถึงแม้ว่าการควบคุมภายในจะออกแบบไว้ดีเพียงใดก็ตามก็ไม่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์
เพราะยังมีปัจจัยอื่นซึ่งมีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจ เช่น
กรใช้ดุลพินิจผิดพลาด การสมรู้ว่าร่วมคิดกัน การปฏิบัติกฎหมาย
ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้
นอกจากนี้การวางระบบการควบคุมภายในจะต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกันว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากการควบคุมภายในจะคุ้มค่ากับตันทุนที่เกิดขึ้น
2. ความรับผิดชอบของผู้กำกับดูแลและฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน ผู้บริหารภาครัฐมีภาระผูกพันที่จะต้องบริหารงาน
บริหารเงินที่ได้รับจัดสรรให้เป็นไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ดังนั้นผู้กำกับดูแลและฝ่ายบริหารภาครัฐจึงไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อผู้มอบหมาย หรือผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังต้องรับผิดชอบต่อประชาชนผู้เสียภาษีอากรซึ่งเป็นเจ้าของเงินอีกด้วย ในการบริหารงาน
ผู้กำกับดูและฝ่ายบริหารจำเป็นต้องให้เทคนิคการควบคุมภายใน
เพื่อช่วยให้การดำเนินงานรวมถึงการใช้ทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ตัวอย่างของการควบคุมภายใน เช่น การกำหนดนโยบาย และวิธีการต่างๆ
เพื่อให้ความมั่นใจว่าการดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ซึ่งรวมถึงความมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน การปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และในท้ายสุดผู้กำกับดูแลและฝ่ายบริหารต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
เพื่อให้การตัดสินใจและการจัดทำรายงานถูกต้องน่าเชื่อถือด้วย
ผู้กำกับดูและฝ่ายบริหารจึงมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการควบคุมภายใน
แต่มีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ผู้บริหารในระดับต่างกันย่อมมีบทบาทและความรับผิดชอบต่อการควบคุมในระดับที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตามบุคลากรทุกคนในหน่วยรับตรวจล้วนมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในทั้งสิ้น
โดยเป็นทั้งผู้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในและผู้ปฎิบัติตามระบบควบคุมภายใน ผู้บริหารระดับสูง
หรือผู้รับตรวจมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดให้มีการควบคุมภายใน
และประเมินผลการควบคุมภายในขึ้นในระดับรวมทั้งองค์กรหือทั้งหน่วยรับตรวจโดยต้องรับผิดชอบจัดให้มีระบบการควบคุมภายในของส่วนงานที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลในระดับที่น่าพอใจอยู่เสมอ
รวมทั้งการสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดี
และกำหนดบทบาทในการปฎิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์
ความมีคุณธรรมและ
จริยธรรมของผู้บริหารควรกำหนดบทบาทของหน่วยตรวจสอบภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการควบคุมภายใน
โดยทำหน้าที่สอบทานหรือประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจอย่างเป็นอิสระ (Independent Assessment) เพื่อให้ความมั่นใจว่าหน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอที่จะบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
และมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจอยู่เสมอ ผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ เช่น หัวหน้าส่วนงานต่างๆ
ในองค์กรทุกระดับ มีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมภายในของส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ เช่น
ผู้บริหารฝ่ายการเงิน
หรือหัวหน้างานการเงินรับผิดชอบการควบคุมภายในด้านการเงินการบัญชี
ผู้บริหารฝ่ายพัสดุรับผิดชอบการควบคุมภายในด้านพัสดุของส่วนงานที่รับผิดชอบ
กล่าวโดยสรุปผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับขององค์กรมีหน้าที่ทั้งการจัดให้มีการควบคุมภายในของส่วนงานที่แต่ละคนรับผิดชอบซึ่งต้องสอดคล้องกับการควบคุมภายในที่องค์กรกำหนด
และสอบทานการปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมที่ใช้บังคับในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
โดยอาจใช้กระบวนการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง (Control Self-Assessment) และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการควบคุมภายในให้มีความรัดกุม
รวมถึงการปลูกฝังให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย
และจิตสำนึกที่ดีในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในด้วย เกี่ยวกับการนำมาตรฐานการควบคุมภายในภาครัฐไปใช้เป็นแนวทางจัดวางระบบการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน
พ.ศ.
2544 นั้น
เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารของหน่วยรับตรวจที่จะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับลักษณะ
ขนาด และความซับซ้อนของหน่วยรับตรวจ
และมีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในและปรับปรุงการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล เป็นที่น่าพอใจอยู่เสมอ โดย : 1. พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างหรือรูปแบบการควบคุมภายในว่าจะปรับปรุงระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่เดิม
หรือออกแบบระบบการควบคุมภายในขึ้นใหม่
โดยจัดให้มีการประเมินระบบการควบคุมภายในที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งอาจจะเริ่มจากการประเมินความเสี่ยง 2. รายงานความก้าวหน้าในการจัดวางระบบการควบคุมภายในต่อผู้กำกับดูแลและ/หรือ ผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการตรวจสอบทุก 2 เดือน
ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 5 3. ตัดสินและกำหนดโครงสร้าง
หรือรูปแบบการควบคุมภายในที่มีมาตรฐานไม่น้อยกว่ามาตรฐานการควบคุมภายในที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด 4. นำระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไปสู่การปฏิบัติโดยอาจกำหนดการควบคุมเป็นนโยบายวิธีการ
แนวทางปฏิบัติงาน หรือ ระเบียบปฏิบัติ
กรณีมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมภายในจำนวนมากทั้งระเบียบของทางราชการและระเบียบภายใน
หน่วยรับตรวจอาจใช้วิธีอ้างอิงถึงระเบียบที่เกี่ยวข้อง 5. จัดให้มีการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง (Control
Self-Assessment) โดยประเมินการควบคุมภายในของส่วนงานทุกระดับของหน่วยรับตรวจ
และประเมินผลการควบคุมภายในอย่างอิสระ (Independent Assessment) เพิ่มเติมจากการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง 6. รายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามที่กำหนดในระเบียบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน
พ.ศ.
2544 ข้อ 6 3. มาตรฐานการควบคุมภายใน และคำอธิบาย มาตรฐานการควบคุมภายในที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดประกอบด้วย
5 องค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน
คือ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control
Environment) 2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and
Communications) 5. การติดตามประเมินผล (Monitoring) องค์ประกอบทั้ง 5 ประการ
มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมเป็นรากฐานที่จะทำให้องค์ประกอบอื่นๆ
ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการควบคุมภายในเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้มีการปฏิบัติตามองค์ประกอบอื่นๆ
องค์ประกอบทั้ง 5 นี้จะถือว่าเป็นมาตรฐานการควบคุมภายในเนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดและยังเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการควบคุมภายใน
ซึ่งจะเป็นรากฐานไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน 3 ประการคือ - เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน - สร้างความเชื่อถือของรายงานทางการเงิน - ทำให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการควบคุมภายใน ![]() |
ที่มา : www.wbc.msu.ac.th/chk/m01.htm |
Home |