นครศรีธรรมราช : ชื่อที่ปรากฏต่างกัน |
|||||
ศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ (หน้า ๑๒) ว่านักปราชญ์ทางโบราณคดีลงความเห็นว่าชื่อเมืองท่าข้างต้นนี้ ตรงกับชื่อที่จีนเรียกว่า "ตั้งมาหลิ่ง" และในศิลาจารึกเรียกว่า "ตามพรลิงค์" คือนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งแต่งในระยะเดียวกันกับคัมภีร์มหานิทเทศ ก็กล่าวถึงชื่อข้างต้นไว้เช่นเดียวกันกับคัมภีร์มหานิทเทศ ก็กล่าวถึงชื่อข้างต้นไว้เช่นเดียวกัน แต่ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวไว้ใน รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรีวิชัย เมื่อพ.ศ.๒๕๒๕ ว่าคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น พระปิฏกจุฬาภัยเถระได้รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ และชื่อข้างต้นนั้น เป็นถ้อยคำของพระมหานาคเสน ยกมาเป็นข้ออุปมาถวายพระเจ้ามิลินท์หรือเมนันเดอร์ (พ.ศ.๓๙๒-๔๑๓) ศาสตราจารย์ซิลแวง เลวี (Sylvain Levy) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า คำว่า "ตมะลี" (Tamali) ที่ปรากฏในที่อื่นๆ เช่น ในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ที่พบที่วัดหัวเวียง (วัดเวียง) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจารึกด้วยอักษรอินเดียกลาย ภาษษสันสกฤต เมื่อ พ.ศ.๑๗๗๓ เป็นต้น ส่วนศาสตราจารย์ ดร.ปรนะวิธานะ (Senarat Paranavitana) นักปราชญ์ชาวศรีลังกามีความเห็นว่า คำว่า ตมะลี (Tamali) ประกอบกับ คม. (gam) หรือ คมุ (gamu) ซึ่งภาษาสันสกฤตใช้ว่า คร.มะ (grama) จึงอาจจะเป็น ตมะลิงคม. (Tamnalingam) หรือตมะลิงคมุ )บัญชีรายชื่อเมืองท่าต่างๆ ที่พระองค์ทรงตีได้และสลักไว้ในศิลาจารึกดังกล่าวนั้น มีเมืองตามพรลิงค์อยู่ด้วย แต่ได้เรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นชื่อ "มัทมาลิงคัม" ตามพรลิงค์ (Tambralinga) เป็นภาษาสันสกฤต คือ เป้นขื่อที่ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ซึ่งพบที่วัดหัวเวียง (ปัจจุบันเรียกว่า วัดเวียง) ตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สลักด้วยอักษรอินเดียกลาย ภาษาสัณสกฤต เมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๓ คำว่า "ตามพรลิงค์" นี้ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร แปลว่า "ลิงค์ทองแดง"(แผ่นดินผู้ที่นับถือศิวลึงค์) นายธรรมทาส พานิช แปลว่า "ไข่แดง" (ความหมายตามภาษาพื้นเมืองปักษ์ใต้) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียก "ในหนังสือสาส์นสมเด็จ" ฉบับวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๘ เพี้ยนเป็น "ตามรลิงค์" (Tamralinga) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงประทานความเห็น (ในหนังสือ สาส์นสมเด็จ ฉบับปลายเดือนพฤศจิกายน และต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗) ว่า "ตามพรลิงค์" แปลว่า "นิมิตทองแดง" จะหมายเอาอันใดที่ในนครศรีธรรมราช น่าสงสัยมาก พบในหนังสือพระมาลัยคำหลวงเรียกเมืองลังกาว่า "ตามพปณยทวีป" แปลว่า "เกาะแผ่นทองแดง" เห็นคล้ายกับชื่อนครศรีธรรมราชที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกว่าตามพรลิงค์จะหมายความว่าสืบมาแต่ลังกาก็ได้กระมัง "ไมตรี ไรพระศก ได้แสดงความเห็นไว้ (ในวารสาร ศิลปวัฒน พลิงควิสัย" (Tambalingavisaya) ไปลังกา " เป็นต้น ชื่อเหล่านี้นักปราชญ์โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อ "ตามพรลิงค์" ที่ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ของไทย กรุงศรีธรรมโศก ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ ๓๕ คือศิลาจารึกดงแม่นางเมือง พบที่แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมืองอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศิลาจารึกภาษามคธและภาษาขอม จารเมื่อ พ.ศ.๑๗๑๐ มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงพระราชาจากกรุงศรีธรรมาโศก ถวายที่ดินหรือกัลปนาอุทิศให้ผุ้ซึ่งเป็นที่เคารพ ดังความตอนหนึ่งว่า " สิ่งสักการะที่มหาราชผู้มีพระนามว่ากรุงศรีธรรมาโศก ถวายแด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมรเตงชคตศรีธรรมาโศก มหาเสนาบดีผู้หนึ่งชื่อศรีภูวนาทิตย์อิศวรทวีปนำกระแสพระราชโองการราชาธิราชมา " แม้ศิลาจารึกหลักนี้จะไม่ได้ระบุที่ตั้งของ "กรุงศรีธรรมาโศก" ไว้อย่างชัดเจน แต่คำว่า "ศรีธรรมาโศก" ในศิลาจารึกนี้สัมพันธ์กับเรื่องราวของนครศรีธรรมราช ซึ่งพบหลักฐานเอกสารสนับสนุนในสมัยหลังอย่างไม่มีปัญหา เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช และตำนานพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชอันเป็นเอกสารโบราณของไทย เป็นต้น ส่วนเอกสารโบราณของลังกาที่เป็นรายงานของข้าราชการสิงหลที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บังเอิญในตอนกลับจากกรุงศรีอยุธยา เรือเสียไปติดอยู่ที่ตลิ่งหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ข้าราชการผู้นั้นชื่อ วิล.พาเค (Vilbage) ได้กล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้นไว้อย่างน่า สิริธรรมนคร หรือ สิริธัมมนคร ชื่อนี้พบว่าใช้ในกรณีที่เป็นชื่อของสถานที่ (คือเมืองหรือนคร) เช่นเดียวกับชื่ออื่นๆ ที่กล่าวมา แต่หากเป็นชื่อของกษัตริย์มักจะเรียกว่าพระเจ้าสิริธรรม หรือพระเจ้าสิริธรรมนคร หรือพระเจ้าสิริธรรมราช ชื่อสิริธรรมนครปรากฎในหนังสือบาลีเรื่องจามเทวีวงศ์ ซึ่งพระโพธิรังสี พระเถระชาวเชียงใหม่ เป็นผู้แต่งขึ้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ นอกจากนี้ยังปรากฎอยู่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระรัตนปัญญา พระเถระชาวเชียงใหม่เป็นผู้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ และมีผู้อื่นแต่งต่ออีกจนเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๑ ส่วนในหนังสือสิหิงคนิทานซึ่งพระโพธรังสี พระเถระชาวเขียงใหม่ได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อราว พ.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๘๕ ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกนหรือพระเจ้าวิไชยดิสครองราชย์ในนครเชียงใหม่แห่งล้านนาไทย เรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมราช โลแค็ก หรือ โลกัก (Locac, Lochac) เป็นชื่อที่มาร์โคโปโล เรียกระหว่างเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕ โดยออกเดินทางจากเมืองท่าจินเจาของจีน แล่นเรือผ่านจากปลายแหลมญวนตัดตรงมายังตอนกลางของแหลมมลายู แล้วกล่าวพรรณนาถึงดินแดนในแถบนี้แห่งหนึ่ง ชื่อโลแค็ก ซึ่งเข้าใจกันว่าน่าจะเป็นลิกอร์หรือนครศรีธรรมราช ปาฏลีบุตร (Pataliputra) เป็นชื่อที่ปรากฎในเอกสารโบราณของลังกา ซึ่งเป็นรายงานของข้าราชการสิงหลที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งได้กล่าวถึง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้เรียกชื่อ เมืองตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ชื่อลึงกอร์นี้ ชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันและเมืองใกล้เคียงใช้เช่นเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าชาวไทยมุสลิมในบริเวณดังกล่าวนี้ไม่เคยเรียกชื่อตามพรลิงค์ว่า "นครศรีธรรมราช" เลยแม้แต่ในสมัยโบราณ ยิ่งกว่านั้นแม้แต่คำว่า "นคร" เขาก็ไม่ใช้ เราะเขามีคำว่าเนการี หรือเนกรี (Negri) อันปมายถึงเมืองใหญ่หรือหครใช้อยู่แล้ว ปัจจุบันชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง ๓ จังหวัด ยังคงเรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชว่า ลึงกอร์อยู่ ด้วยเหตุนี้ชื่อ "ลิกอร์" ที่ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และยุโรปชาติอื่นๆ ใช้เรียกชื่อตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช อาจจะเรียกตามที่ชาวมาเลย์และชาวพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยทั้ง ๓ จังหวัดใช้ก็ได้ เพาะชาวยุโรปคงจะอาศัยชาวมาเลย์เป็นคนนำทาง หรือเป็นล่ามในการแล่นเรือเข้ามาค้าขายกับเมืองท่าต่างๆบนแหลมมลายูตอนเหนือหรือคาบสมุทรไทย ลิกอร์ (Ligor) เป็นชื่อที่พ่อค้าชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือ ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๑ นับเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยใช้เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช และพบว่าที่ได้เรียกแตกต่างกันออกไปเป็น "ละกอร์" (Lagor) ก็มีนักปราชญ์สันนิษฐานว่า คำว่า ลิกอร์ นี้ชาวโปรตุเกสคงจะเรียกเพี้ยนไปจากคำว่า "นคร" อัน ละคร หรือ ลคร หรือ ละคอน คงจะเป็นชื่อที่เพี้ยนไปจากชื่อ "นคร" อันอาจจะเกิด ขึ้นเพราะชาวมาเลย์และชาวตะวันตกเรียกเรียกเพี้ยนไปแล้ว คนไทยก็กลับไปเอาชื่อที่เพี้ยนนั้นมาใช้ เช่นเดียวกันกับที่เคยมีผู้เรียกนครลำปางว่า "เมืองลคร" หรือ "เมืองละคอน" เป็นต้น และคงเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังหลักฐานที่ปรากฎในเอกสารโบราณของทูตสิงหลที่รายงานไปยังลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๔ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในชื่อ "ปาฎลีบุตร" ข้างต้นนั้น นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่าที่ได้เรียกเช่นนี้ เพราะว่าเมืองนครเคยมีชื่อเสียงทางการละครมาแต่โบราณ แม้แต่สมัยกรุงธนบุรี เมื่อเมืองหลวงต้องการฟื้นฟูศิลปะการละคร ยังต้องเอาแบบอย่างไปจากเมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช เป็นชื่อที่อาจารย์ตรี อมาตยกุล และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (Gorge Coedes) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า เป็นชื่อที่คนไทยฝ่ายเหนือเรียกขนานนามราชธานีของกษัตริย์ "ศรีธรรมราช" ตามนามอิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ ซึ่งถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาหลายพระองค์ จนเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป และเป็นเหตุให้มีการขนานนามราชธานีนี้ ตามชื่ออิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ซึ่งได้ใช้เรียกขานกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อยตราบจนปัจจุบัน |