นครศรีธรรมราช : ชื่อที่ปรากฏต่างกัน

 

นครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่าแก่ มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา และการค้ามาแต่โบราณ เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างอินเดียและตะวันออกกลางกับอินโดจีน ตลอดไปถึงประเทศจีน จากความเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ทำให้ชนชาติที่ผ่านดินแดนนี้ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นหลักฐาน กล่าวเฉพาะชื่อเมืองกว่าจะถึงนาม "นครศรีธรรมราช" ได้ปรากฏชื่ออื่นๆ มาหลายชื่อ ได้แก่ ตามพรลิงค์ ตังมาหลิง กรุงศรีธรรมาโศก ศรีธรรมราช สิริธัมมนคร โลกัก ปาฎลีบุตร และลิกอร์ และชื่อที่กล่าวนี้ แต่ละชื่อก็ยังเพี้ยนสำเนียงออกไปอีก ในที่นี้จะได้ประมวลชื่อเรียก นครศรีธรรมราชในอดีตมากล่าวไว้โดยสรุปดังนี้

ตม.พลิง..คม. หรือ "ตาม.พลิง.คม. หรือ "กมลี" หรือ "ตมลี" หรือ "กะมะลิง" หรือ "ตะมะลิง" เป็นภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหานิทเทศ (คัมภีร์ปาลีติ ส.สเมต.เตย.ยสุต.ต นิท.เทศ ขุน.ทกนิกาย มหานิท.เทศ) ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ คัมภีร์นี้เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณ กล่าวถึงการเดินทางของนักเผชิญโชคเพื่อแสวงหาโชคลาภยังดินแดนต่างๆ อันห่างไกลจากอินเดีย คือบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ระบุชื่อเมืองท่าดังกล่าวข้างต้นไว้ด้วย ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส กล่าวไว้ในหนังสือ ประชุม

(Tamalingamu) ในภาษาบาลีก็เป็นคำว่า "ตม.พลิงค" (Tambalinga) และเป็น "ตาม.พรลิง.ค" (Tambralinga) ในภาษาสันสกฤต

ตัน-มา-ลิง (Tan-ma-ling) หรือ "ตั้ง-มา-หลิ่ง" เป็นชืท่อที่เฉาจูกัว (Chao-Ju-Kua) และวังตาหยวน (Wang-Ta-Yauan) นักจดหมายเหตุจีน ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ เตา-อี-ชี-เลี้ยว (Tao-I-Chih-lioh) เมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๙ ความจริงชื่อตามพรลิงค์นี้ นักจดหมายเหตุจีนรุ่นก่อนๆ ก็ได้เคยบันทึกไว้แล้ว ดังเช่นที่ปรากฎอยู่ในหนังสือสุงชี (Sung-Shin) ซึ่งบันทึกไว้ว่า เมืองตามพรลิงค์ได้ส่งฑูตไปติดต่อทำไมตรีกับจีนเมื่อ พ.ศ.๑๕๔๔ โดยจีนเรียกว่า "ตัน-เหมย-หลิว" (Tam-mei-leou) ศาสตราจารย์พอล วีทลีย์ (Paul Wheatley) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Golden Khersonese ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ (หน้า ๖๖-๖๗) ว่าชื่อ "Tan-mei-leou" นั้น ต่อมานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนชาวฝรั่งเศสและอังกฤษได้ลงความเห็นว่า คำนี้ที่ถูกควรจะออกเสียงว่า Tan-mi-liu หรือ Tan -mei-liu

มัทมาลิงคัม(Madamalingam) เป็นภาษาทมิฬปรากฎอยู่ในศิลาจารึกที่พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑ ในอินเดียภาคใต้โปรดให้สลักขึ้นไว้ที่เมืองตันชอร์ (Tanjore) ในอินเดียภาคใต้ระหว่าง พ.ศ.๑๕๗๓-๑๕๗๔ ภายหลังที่พระองค์ได้ส่งกองทัพเรืออันเกรียงไกรมาปราบเมืองต่างๆ บนคาบสมุทรมลายูจนได้รับชัยชนะหมดแล้ว ใน

ธรรม ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ พ.ศ.๒๕๒๓) ว่า "ตามพรลิงค์" น่าจะหมายความว่า "ตระกูลดำแดง" คือหมายถึงผิวของคนปักษ์ใต้ ซึ่งมีสีดำแดงและอาจจะหมายถึงชื่อชนชาติ มิใช่ชื่อเมือง และศาสตราจารย์โอ คอนเนอร์ (Stanley J.O"Connor) มีความเห็น (ใน Journal of the Siam Society, Vol. LVI,pt. I (January 1968) หน้า ๔ และ ใน Journal of the Siam Society, Vol.63. pt. I (January 1975) หน้า ๑๖๑-๑๗๕) ว่าชื่อ"ตามพรลิงค์" นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ เพาะศาสนาพราหมณ์เจริญสูงสุดในนครศรีธรรมราช จึงได้ค้นพบโบราณวัตถุในลัทธิไศวนิกาย (Virasaivas) ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือแพร่หลายในอินเดีย ภาคใต้ก็ได้พบเป็นจำนวนมากในเขตนครศรีธรรมราชก็รองรับอยู่แล้ว

ตมะลิงคาม (Tamalingam) หรือ "ตมะลิงโคมุ" (Tamalingomu) เป็นภาษาสิงหล ปรากฎอยู่ในคัมภีร์สิงหลชื่อ Elu-Attanagalu-vam-sa ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๒๕ นอกจากนี้ในเอกสารโบราณประเภทหนังสือของลังกา ยังมีเรียกแตกต่างกันออกไปอีกหลายชื่อ เช่น "ตมะลิงคมุ" (Tamalingamu) ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ชื่อปูชาวลี (Pujavali), "ตม.พลิงคะ" (Tamalinga) ปรากฎอยู่ในหนังสือชื่อ วินยะ-สน.นะ (Vinaya-Sanna) และในตำนานจุลวงศ์ (Chula-Vam-sa)ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "…พระเจ้าจันทภานุบังอาจยกทัพจาก "ตัม.

สนใจหลายประการ (ดู P.E.E. Fernando, "An Aaccount of the Kandyan Mission Sent to Siam in1750", The Ceylon Journal of Historical and Social Studies, Vol. 2, No. 1, January, 1959 หน้า ๖๗-๘๒) ตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า "…ในใจกลางของเมืองนี้มีพระสถูปเจดีย์องค์หนึ่งใหญ่ทัดเทียมกับพระสถูปเจดีย์รุวันแวลิ (Ruvanvali) แห่งเมืองโบโลนนารุวะ (King Sri Dharmasoka) เป็นผู้ทรงสร้างโดยทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในพระสถูปเจดีย์องค์นี้ด้วย…" ข้อความที่คัดมานี้ วิล.พาเค ได้เขียนขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๒๙๔

ศรีธรรมราช เป็นชื่อที่ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ซึ่งพบที่วัดหัวเวียง (วัดเวียง) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศิลาจารึกภาษาสันสกฤตหลักนี้สลักขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๓ และได้กล่าวไว้ว่าสลักขึ้นในรัชสมัยของเจ้าผู้ครองแผ่นดินทรงมีอิสริยศว่า "ศรีธรรมราช" ผู้เป็นเจ้าของตามพรลิงค์ (ตามพรลิงเคศวร) ต่อมาชื่อ "ศรีธรรมราช" นี้ได้ปรากฎอีกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งสลักด้วยอักษรไทยและภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕ ดังความบางตอนในศิลาจารึกหลักนี้ เช่น " …เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรยหลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา…"

ลึงกอร์นี้ชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันและเมืองใเมืองนี้ไว้ในตอนเที่ยงกลับเพราะเรือเสียที่ตลิ่งหน้าเมือง โดยเรียกคู่กันในเอกสารชิ้นนี้ว่า " เมืองปาฎลีบุตร" ในบางตอน และ "เมืองละคอน" (Muan Lakon-ชาวสิงหลฟังคำที่มี "ง" สะกดเป็น "น" สะกดเสมอ ดังนั้นคำว่า "เมือง" (Muang) เขาจะจดเป็น "มุอัน"-Muan) ในบางตอน (ดู P.E.E. Fernando, "An Account of the Kandyan Mission Sent to Siam in 1750," " The Ceylon Journal of Historical and Social Sutdies, vol. 2, No.1, (January, 1959), หน้า ๖๗-๘๒) เช่น "..ในวันอังคารที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๒๙๔ ในขณะที่เขากำลังมาถึงเมืองละคอน (Muan Lakon) ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งของสยาม เรือก็อับปางลง แต่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายและทุกคนได้ขึ้นฝั่งยังดินแดนที่เรียกกันว่า เมืองละคอน ในดินแดนนี้มีเมือง (city) ใหญ่เมืองหนึ่งเรียกว่า "ปาฎลีบุตร" (Pataliputra)ซึ่งมีกำแพงล้อมรอบทุกด้าน…" และในโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ของนายสวนมหาดเล็กก็เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชว่า "ปาตลีบุตร"เช่นกัน ดังที่ปรากฎในโคลงบางบทว่าดังนี้

ปางปาตลีบุตรเจ้า นัครา

แจ้งพระยศเดชา ปิ่นเกล้า

ทรนงศักดิ์อหังกา เกกเก่ง อยู่แฮ

ยังไม่ประนตเข้า สู่เงื้อมบทมาลย์ ฯ

ลึงกอร์ เป็นขื่อที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓ จังหวัด คือ เป็นคำเรียกชื่อย่อของเมือง"นครศรีธรรมราช"ทั้งนี้เพราะชาวโปรตุเกสไม่ถนัดในการออกเสียงตัว "น" (N) จึงออกเสียงตัวนี้เป็น "ล" (L) ดังนั้นจึงได้เรียกเพี้ยนไปดังกล่าว แล้วในที่สุดชื่อ "ลิกอร์" นี้จึงกลายเป็นชื่อที่ชาวตะวันตกรู้จักกันดี ในจดหมายเหตุของวันวลิต (Jeremais Van Vliet) พ่อค้าชาวดัตช์ ซึ่งเป็นผุ้จัดการห้างฮอลันดาและเข้ามาในประเทศไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ก็ได้เรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า "ลิกูร์" (Lijgoor, Lygoor) ในสมัยพระบาทสามเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จอห์น ครอเฟิด (John Crawfurd) ทูตชาวอังกฤษที่เป็นตัวแทนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยก็เรียกนครศรีธรรมราชว่า "ลิกอร์" แม้แต่ในปัจจุบันชาวตะวันตกก็ยังใช้ชื่อนี้กันอยู่อย่างชื่อจารึกหลักที่ ๒๓ ที่พบ ณ วัดเสมาชัย (คู่แฝดกับวัดเสมาเมือง ต่อมารวมกันเป็นวัดเสมาเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ชาวตะวันตกรู้จักกันในนาม "จารึกแห่งลิ

กอร์" (Ligor Inscription) นอกจากนี้ยังเรียกด้านที่ ๑ ของจารึกหลักนี้ว่า "Ligor A.W" และเรียกด้านที่ ๒ ว่า "Ligor B." ดังนั้นนอกจาก "ตามพรลิงค์" แล้วชื่อเก่าของนครศรีธรรมราชอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในระยะหลังคือ "ลิกอร์"


......Next   ......Back