ชื่อท้องถิ่น ผักเอื้อง เอื้องนา
ชื่อวงศ์ ไม่มี
ชื่อวิทยาศาสตร์ ไม่มี
ลักษณะลำต้น เป็นพืชล้มลุกอยู่ในน้ำลักษณะเป็นเถา และมีปล้องคล้ายผักบุ้ง
ลักษณะใบ ใบยาวเรียวปลายแหลมกว่าเอื้องช้างใบ และเถามีขนอ่อนตลอดแนว ใบสีเขียวอ่อน
ลักษณะดอก เป็นช่อสีขาว เหมือนดอกฝอยทองออกจากปลายยอด
ลักษณะผล -
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ลำต้นอ่อนและยอด เก็บกินได้เฉพาะหน้าน้ำ โดยจะรูดใบจากส่วนบนลงล่างแล้วหักที่โคนมัดไว้ เวลาปรุงอาหาร ใช้วิธีลอกเปลือกจากโคนไปหายอดแล้วหักเป็นท่อนๆ ไม่ใช้มีดตัด
ใช้เป็นอาหารประเภท แกงส้ม แกงทะทิ ลวกจิ้มน้ำพริก หรือเป็นผักเหนาะสด
รสชาติ หวานเจือฝาด
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ดจากดอกแก่
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ที่ดินน้ำท่วมขัง
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ไม่มี
ความเชื่อ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใบสด ผสมกับใบจันทน์ หอมสด คั้นเอาน้ำ หยอดตาเจ็บ ตาแดง ตำพอกท้องแก้ปวดท้อง ทั้งต้นต้มแก้ขับโลหิตระดู ขับลมในลำไส้ แก้เป็นเถาเป็นดานในท้อง (นาโนช วามานนท์,พนิตนาฎ ลัคนาโฆษิต, วีณาพร สำอางศรีม สมชาย สี่สิน)