![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น |
ชะเลือด ชะเรือด สาบเรือด ปือตาปลาแล (นราธิวาส) |
ชื่อวงศ์ |
CAESALPINIOIDEAE |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Caesalpinia mimosoides lamk., Premna obtusifolia R.Br. |
ลักษณะลำต้น |
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นมีหนามงอขึ้นถี่ ตลอดทุกส่วนตั้งแต่ลำต้นถึงกิ่งและยอด เป็นไม้เลื้อยพาดพิงไม้อื่น |
ลักษณะใบ |
มีลักษณะคล้ายใบมะขามแต่ใบเล็กกว่า แตกก้านใบออกมาจากลำต้นมีหนาม ยอดอ่อนงอคู้ |
ลักษณะผล |
ออกฝักคล้ายฝักมะขามอ่อนมีเมล็ดอยู่ใน 4-6 เมล็ด |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ยอด |
ใช้เป็นอาหารประเภท | ใช้เป็นผักเหนาะ (กินสด) |
รสชาติ | หอมร้อนและมีกลิ่นฉุน |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธ์ | เมล็ดแก่ในฝัก |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต | ตลอดปี |
ส่วนที่เป็นพิษ | ไม่มี |
ความเชื่อ | เชื่อกันว่าถ้ามีตัวเรือดอยู่ตามบ้านหรือที่นอนให้นำใบชะเลือดไปใส่ไว้ใต้เสื่อ ที่นอน หมอน มุ้ง จะสามารถไล่ตัวเรือดได้ |
สรรพคุณทางสมุนไพร | แก้โรคเกิดเพื่อโลหิต โรคเกิดเพื่อลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับผายลม |