![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น | จิกง่วงนอน จิกหาวนอน จิงเหานอน |
ชื่อวงศ์ | BARRIGNTONIACEAE |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Barringtonia acutangula Gaerth Barringtonia augusta Kurz |
ลักษณะลำต้น | เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ขนาดกลางสูงกว่าจิกนา เป็นไม้เนื้ออ่อน |
ลักษณะใบ | ใบยาวรีคล้ายใบมะม่วง ใบบางกว่าจิกนา ยอดอ่อนสีแดง ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ขอบใบเรียบ หน้าใบเขียวเรียบมันหลังใบก้านนูน ก้านใบเป็นร่องลึกโคนก้านใบยาวออกจากกิ่งประมาณ 2-3 นิ้ว |
ลักษณะดอก | เป็นช่อยาว เหมือนดอกจิกนาแต่โตกว่า ช่อหนึ่งประมาณ 40-50 ดอก ลักษณะดอกเหมือนชมพู่มะเหมี่ยวแต่สีขาวอมแดง ขนาดดอกตูม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร บานแล้ว (รวมพู่) ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว |
ลักษณะผล | ผลเป็นเหลี่ยมพูคล้ายผลชมพู่มะเหมี่ยว |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ยอดอ่อน |
ใช้เป็นอาหารประเภท | ผักเหนาะ |
รสชาติ | ฝาด เจือมัน |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ | ผลสุก |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี | ป่าเขา |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต | ตลอดปี |
ส่วนที่เป็นพิษ | กินมากง่วงนอน |
ประโยชน์ใช้สอย | ใช้ลำต้นทำเป็นเสารั้ว |
ความเชื่อ | ชาวบ้านเชื่อกันว่า ถ้าถูกยางของต้นรักป่า ทำให้เกิดแผลเปื่อย พุพอง จะต้องมาแก้ผ้ารำใต้ต้นจิก พร้อมกับร้องว่า "ต้นจิก ต้นจัก ต้นรักขี้หนู รักนี้ขบกู รำใต้ต้นจิก" จะทำให้แผลหาย |
สรรพคุณทางสมุนไพร | ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น สรรพคุณใช้ล้างแผน ช่วยสมานแผลเรื้อรัง โดยนำเปลือกแก่ 3 กำมือ มาต้มใส่น้ำให้ท่วม เคี่ยวให้งวด เอานิ้วไปชะล้างแผน เนื้อไม้เป็นยาขับระดูขาว เมล็ด แก้แน่นท้อง |