 |
|
 |
|
ชื่อท้องถิ่น |
ขี้มูกมุดสัง ดอกฟุ้งย่าน ดอกฟุ้งเถา |
ชื่อวงศ์ |
ไม่มี |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
ไม่มี |
ลักษณะลำต้น |
เป็นพืชตระกูลหญ้า แตกยอดออกตามกิ่งย่านที่เลื้อยไปตามผิวดินหรือพาดพิงไม้อื่น ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ก้านใบจะติดกับลำต้น |
ลักษณะใบ |
ใบรีปลายแหลม ขนาดประมาณ 1.5x3.5 นิ้ว เส้นใบจะเป็นร่องมองเห็นได้ชัด ขอบใบเป็นหยักแหลม หน้าใบผิวขรุขระเล็กน้อย หลังใบมีก้านใบนูน |
ลักษณะดอก |
ขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกออกตอนปลายยอด เวลาบานดอกสีเหลืองอมแดง |
ลักษณะผล |
ไม่มี |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร |
ยอดอ่อน ใบ |
ใช้เป็นอาหารประเภท |
ยอดใช้เป็นผักเหนาะแกงกะทิ |
รสชาติ |
จืดเย็น กลิ่นหอม คล้ายผักกาดนกเขา หรือหญ้าดอกฟุ้ง |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ |
เมล็ดที่ดอก และใช้ต้นติดราก |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี |
บริเวณป่าเชิงเขา ป่าพรุ |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต |
ตลอดปี |
ส่วนที่เป็นพิษ |
ไม่มี |
สรรพคุณทางสมุนไพร |
ใบและยอดอ่อน แก้พิษแก้บวมตามข้อ แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ
แก้แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด แก้คอตีบ เจ็บคอ ตำพอกแก้ตาปลา แก้ปากเป็นแผลอักเสบรม
แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดเส้นเอ็น เคล็ดยอก บวม แก้โรคเรื้อน
ตำเอาน้ำหยอดแก้หูอักเสบ ลำต้น ต้มดื่มน้ำ แก้โรคกระเพาะอาหาร ราก
คั้นเอาน้ำดื่ม แก้บิด แก้ท้องเสีย ทาตามตัวลดไข้ |
|