 |
|
 |
|
ชื่อท้องถิ่น |
แก้มช่อน |
ชื่อวงศ์ |
ไม่มี |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
ไม่มี |
ลักษณะลำต้น |
เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดกลาง เป็นไม้เนื้อแข็ง สูงประมาณ 5-7 เมตร |
ลักษณะใบ |
มนรีปลายแหลม ผิวเรียบ ขอบเรียบ คล้ายใบชะมวง หน้าและหลังใบมันลื่น |
ลักษณะดอก |
คล้ายดอกพริกไทย สีขาวอมเขียวและคล้ายผลดอกเข็มเป็นช่อ ขนาดหัวไม้ขีด |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร |
ยอดอ่อน ใบเพสลาด |
ใช้เป็นอาหารประเภท |
ผักเหนาะ |
รสชาติ |
ฝาด มัน |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ |
ต้นอ่อน ติดราก |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี |
ที่ราบหรือที่ชื้นแฉะ(เจริญเติบโตดี) |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต |
ยอดออกช่วงฤดูแล้ง |
ส่วนที่เป็นพิษ |
ไม่มี |
ประโยชน์ใช้สอย |
ลำต้นใช้ปลูกสร้างขนำ |
สรรพคุณทางสมุนไพร |
ทั้งต้นต้มเอาน้ำดื่มและอาบแก้เด็กเป็นฝีตานซาง แก้พิษตานซาง แก้ตัวร้อน ยอดอ่อนช่วยเจริญอาหาร สมานแผล |
|