![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น |
ก้างปลาแดง ปู่เจ้าเฝ้าคลอง |
ชื่อวงศ์ | EUPHORBIACEAE |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
- Secuorinega Lencopyrus Muell Arg., - Breynia angustifolia Hook.f. |
ลักษณะลำต้น | เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เมื่อลำต้นโตสูงก็จะไปพาดพิงกับต้นไม้อื่น |
ลักษณะใบ | ใบมีลักษณะกลมมน กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมันทั้งหน้าและหลัง ขอบใบเรียบยอดสีแดงเรื่อๆ |
ลักษณะดอก | ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ๆ ออกดอกจากโคนก้านใบ |
ลักษณะผล | มีลักษณะคล้ายพริกไทย สีแดงเข้มออกจากลำกิ่งระหว่างก้านใบตลอดแนว |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ยอด |
ใช้เป็นอาหารประเภท | ผักเหนาะ(กินสด) |
รสชาติ | ฝาด เจือขม อมเปรี้ยวนิด ๆ |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ | เมล็ดแก่ ใช้ปลูกเป็นไม้ดัด |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี | ทุกสภาพพื้นที่ |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต | ตลอดปี |
ส่วนที่เป็นพิษ | ไม่มี |
ประโยชน์ใช้สอย | นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดัด ลำต้น ใช้ทำขนงไซดักปลา |
ความเชื่อ | จากประสบการณ์ชาวบ้านเล่ากันว่า ถ้าก้างปลาติดคอให้เอาลำต้น ใบ กิ่งหรือยอด มาต้มแล้วเอาน้ำดื่มก้างปลาที่ติดคอจะหลุดออก |
สรรพคุณทางสมุนไพร | ลำต้นมีสรรพคุณแก้ไข้ร้อนเย็น ใช้ลำต้นมาต้มกับน้ำ น้ำ 3 ส่วนเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน กินก่อนอาหารเช้าเย็นครั้งละประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่มแก้ไขสันนิบาตตาแดง ผู้ที่เป็นไข้นี้จะมองเห็นวัตถุต่างๆ เป็นสีแดงไปหมด ราก ปรุงเป็นยาดับพิษร้อนในดับพิษไข้หวัดทุกชนิด |