![]() |
![]() เป็นงานหัตถกรรมที่มีสืบมาแต่อดีตควบคู่กับการเล่นหนังตะลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เป็นแหล่งที่มีการประกอบหัตถกรรมประเภทนี้มากที่สุด ปัจจุบันประมาณว่ามีช่างแกะรูปหนังทั้ง ๓ จังหวัดนี้รวมกันไม่น้อยกว่า ๑๕๐ คน บางท้องถิ่นอย่างเช่น หมู่ที่ ๕ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการประกอบการเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายครัวเรือน แต่เดิมการแกะรูปหนังจะทำเฉพาะรูปสำหรับเชิดในการเล่นหนังตะลุงเท่านั้น ช่างแกะรูปหนังจึงมีไม่มากทำกันในวงแคบและด้วยใจรักหนังตะลุงเป็นหลัก แต่ระยะหลังคือประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีผู้คิดนำเอากระดาษถุงปูนซีเมนต์มาแกะระบายสีเป็นรูปหนังตะลุงออกจำหน่ายตามตลาดนัดและงานเทศกาลต่างๆ ครั้นช่างแกะหนังเห็นว่าขายดี จึงหันมาแกะรูปหนังด้วยหนังจริงๆ ออกจำหน่ายเป็นเชิงพาณิชย์ ด้านรูปแบบก็ค่อยพัฒนากว้างขวางขึ้น คือ แทนที่จะแกะรูปหนังเชิดเพียงอย่างเดียวก็คิดแกะเป็นรูปจับและรูปหนังใหญ่เพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งฝาผนังอาคารบ้านเรือน ยิ่งในช่วงหลัง พ.ศ.๒๕๑๐ รูปหนังสำหรับตกแต่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จึงมีผู้หันมาประกอบหัตถกรรมแกะรูปหนังมากขึ้นช่างหลายคนได้พัฒนาฝีมือจนผลงานมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะมี ช่างสุชาติ ทรัพย์สิน ช่างเจริญ เมธารินทร์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ช่างอิ่ม จันทร์ชุม อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นต้น ![]() ช่างสุชาติ ทรัพย์สิน
|
![]() ช่างแกะหนังตะลุงมีความสำคัญ เพราะได้ช่วยบันทึกของการเปลี่ยนแปลงให้สังคมของภาคใต้อย่างชัดเจน เช่น การแต่งกาย ทรงผม อาวุธประจำกาย ในสมัยโบราณหนังตะลุงของไทยแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตัวหนังที่เป็นมนุษย์และยักษ์ทรงเครื่อง โบราณสวมมงกุฎเหยียบนาคมีอาวุธประจำกายคือพระขรรค์และคันสร ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูต่อมาเมื่อหนังตะลุงเลิกแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ภาพหนังตะลุงก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย เจ้าเมืองนางเมือง (ราชาราชินี) สวมมงกุฎไม่เหยียบนาค ส่วนพระเอกนางเอกไว้จุกเพิ่มขึ้น กล่าวคือ เนื่องจากสังคมนครศรีธรรมราชยุคนั้น ผู้ชายหวีผมเรียบ ส่วนผู้หญิงไว้ผมปันหยี คือตัดสั้นเสมอติ่งหู ไส่ตุ้มหูน้ำค้างย้อย ภาพหนังตะลุงก็เปลี่ยนตามไปด้วย ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงกันมากที่สุดก็คือ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้ประชาชนแต่งสากลตามแบบตะวันตก ขณะที่ผู้ชายแต่งสากลสวมหมวก ผู้หญิงก็ต้องนุ่งกระโปรง สวมหมวก ภาพหนังตะลุงก็มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นี่สะท้อนให้เห็นว่าสภาพสังคมมีอิทธิพลต่อช่างแกะหนังตะลุง ตัวตลกแต่ละตัวของหนังตะลุงเราสามารถศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านแต่ละยุคได้เป็นอย่างดี เช่น ไอ้ยอดทองนุ่งผ้าโจงกระเบน ทำให้เราพอจะรู้ได้ว่าคนในยุคนั้นนุ่งผ้าโจงกระเบน ส่วนไอ้เท่งและไอ้หนูนุ้ยนุ่งผ้าถุง ก็คงเป็นเพราะชาวบ้านนิยมนุ่งผ้าถุง การที่ไอ้หนูนุ้ยถือกรรไกรหนีบหมากก็ย่อมรู้ได้ว่าชาวบ้านในชนบทนิยมกินหมากแทบทุกครัวเรือน ไอ้คงและไอ้อุนถือมีดพร้า ก็รู้ได้ว่าเป็นชาวสวน ผู้ใหญ่พูนถือลูกขวาน ก็เพราะในสมัยนั้นผู้นำในท้องถิ่นนครศรีธรรมราชใช้ลูกขวานเป็นอาวุธประจำกาย ส่วนคนจีนที่อยู่ในนครศรีธรรมราช ก็ถูกหนังตะลุงนำมาเป็นตัวตลก เช่น ไอ้ซ้งและไอ้จีนจ้ง ไอ้จีนจ้งมีอาชีพขายเนื้อหมู ช่างแกะหนังก็ตัดรูปไอ้จีนจ้งให้นุ่งกางเกงขาก๊วยสวมเสื้อคอจีนอาวุธประจำกายคือมีดหั่นหมู ไอ้ซ้งมีอาชีพถากไม้ซุ้งด้วยขวานทอยเตา ช่างแกะหนังก็ออกแบบให้ไอ้ซ้งถือขวานทอยเตาเป็นอาวุธประจำกาย วิวัฒนาการของงานแกะหนัง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตหนังตะลุงได้ เริ่มมีขึ้นในช่วง พ.ศ. 2503 กล่าวคือการผลิตหนังตะลุงสมัยโบราณ ช่างแกะหนังตัดรูปให้นายหนังนำไปแสดงเพียงอย่างเดียว ช่างแกะหนังตะลุงจึงมีน้อย ช่างแต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ในการแกะหนังตะลุงของตัวเอง โดยมีการลอกเลียนกันเหมือนในปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมามีชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้นภาพหนังตะลุงกลายเป็นสินค้าที่ระลึกสำคัญของภาคใต้และประเทศไทย ทำรายได้ให้ประเทศปีละนับร้อยล้านในขณะที่การแสดงหนังตะลุงซบเซาลงไป แต่การผลิตหนังตะลุงยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เห็นคุณค่าของตัวหนังตะลุง ได้นำไปตกแต่งบ้านเรือนช่างแกะหนังจึงมีเพิ่มขึ้น |
![]() ความสำคัญของการแกะหนังตะลุงที่คนโบราณบันทึกไว้ สะท้อนถึงประเพณีวัฒนธรรมของนครศรีธรรมราชมาก ดังข้อความในโองการพระเวทบทไหว้ครูที่ว่า |
สิบนิ้วข้าไหว้เล่า | พระพุทธเจ้าทั้งสิบทิศ | |
เทวัญชั้นอกนิษฐ์ | ช่วยป้องปิดกันโรคภัย | |
หนบูรณ์พระปทุมุทธ | บริสุทธิ์ฤทธิ์เกีรยงไกร | |
พระเรวัตรผู้เป็นใหญ่ | อยู่อาคเนย์หนทิศา | |
ทักษิณกัสสะโป | พระเจ้าอยู่บ่มิคลา | |
หรดีอรหันตา | สุมังคลาอยู่ช้านาน | |
ฝ่ายทิศประจิมมี | พุทธสักขีผู้ทรงญาณ | |
พายัพคือองค์ท่าน | เมธังกรอยู่รักษา | |
อุดรศากยราช | มีอำนาจทรงศักดา | |
อีสานพระพุทธา | มีนามว่าสรณังกร | |
ปัถวีสรรเพชญ์ | องค์สมเด็จกกุกสินธร | |
อากาศมุนีวรณ์ | ทิปังกรอยู่ดั่งหมาย | |
คุณครูประสาทเวย์ | เรืองฤทธิ์เดชดังนารายณ์ | |
เดชะข้ากราบไหว้ | ยกคุณไว้เหนือเกศี | |
คุณครูคุณบิดุมารดา | คุณน้าป้าข้ามากมี | |
ช่วยคุ้มกันไพรี | หลบหลีกหนีนิราศไกล |
นะชัยๆ โมชัยๆ พุทชัยๆ ธงชัยๆ ยะชัยๆ กันจัญไร ทั้งแสนโกฏิ
หนีไกลไปพ้นโยชน์ ทั้งผีโภตบ่ทานทน เบิกเพนียดเบิกบาดาล ทอดสะพานพูนถนน ขุดบ่อาหล่อพระทศพล ปิดทำนบหามศพเดิน ขุดคลองหนองบึงสระ ทำรูปพระนั่งและยืน ปลูกเรือนผีเป็นที่เทิน เบิกที่ทางกลางมรรคา คุณครูให้ข้าตั้ง "สลักหนัง" ฝังเบญจา ต่อโลงและโกษฐา สอดยอดเมรุเอนให้ตรง เดชะพระอาจารย์ เป็นประธานช่วยดำรง ให้แข็งแรงมั่นคง ดั่งชายเพชรเจ็ดชั้นตรึง ความเจ็บอย่ามาใกล้ ทั้งความไข้อย่ามาถึง คุณครูเป็นที่พึ่ง สรรพชัยประสิทธิ์เม |
![]() 1. รูปก่อนเรื่อง เป็นรูปเหมือนจริง คือ รูปฤาษี รูปพระอิศวรทรงใด รูปปรายหน้าบท (รูปมนุษย์ผู้ชายแทนตัวนายหนัง) และรูปบอกเรื่องจะเป็นตัวตลกตัวใดตัวหนึ่ง 2. รูปมนุษย์ (รูปนุด) เป็นรูปพระ รูปนาง รูปเจ้าเมือง รูปมเหสี พระโอรสธิดานิยมแกะให้เหมือนตัวจริงที่สุด แล้วลงสีสันอย่างสวยงาม เพื่อดึงดูดใจผู้ชมหน้าจอ 3. รูปยักษ์เป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม การแต่งกายของยักษ์มักเหมือนกันทุกคณะ คือ มีอาวุธหรือกระบองประจำตัว รูปเหล่านี้มีอยู่ทุกแผง 4. รูปกาก เป็นรูปตัวตลก รูปทาสาและทาสีซึ่งไม่มียศศักดิ์สำคัญ แต่รูปกากบางตัวถือว่าเป็นตัวสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้หนังตะลุง บางครั้งจัดให้เป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ของคณะหนังนั้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นรูปสีดำหรือสีดั้งเดิมของหนังที่นำมาแกะสลัก และไม่ค่อยมีลวดลาย 5. รูปเบ็ดเตล็ด ได้แก่ รูปผี รูปต้นไม้ ภูเขา ยานพาหนะ บางคณะอาจจะพลิแพลงออกไปตามสมัยนิยมได้ เช่น รูปรถถัง รูปเครื่องบิน งานแกะรูปหนัง ไม่ว่าจะเป็นรูปหนังตะลุงสำหรับเชิดหรือรูปสำหรับประดับตกแต่ง มีกรรมวิธีและขั้นตอนดำเนินการเหมือนกันดังนี้ ในการเตรียมหนัง ช่างจะนำหนังสดๆ ที่เพิ่งชำแหละมาใหม่ๆ มาขึงกับกรอบไม้สี่เหลี่ยม โดยใช้เชือกหรือลวดดึงหนังทุกด้านให้ตึงใช้มีดตัดเนื้อเยื่อและพังผืดของหนังด้านในออกตากหนังทิ้งไว้ ๒-๓ วัน เมื่อหนังแห้งสนิทแล้วจึงแก้ออกจากกรอบไม้นำมาฟอก การฟอกหนัง ในสมัยโบราณนิยมใช้หนังสัตว์มาหมักไว้ในโคลนตม ประมาณ 15 วัน เพื่อให้ผังผืดด้านใน และผิวด้านขนเปื่อย ใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก ขูดแต่งให้ผิวเรียบทั้งสองข้างใช้งวงตาลเผาไฟ นำเอาขี้เถ้าผสมน้ำมาแช่หนังจนหมดกลิ่นเหม็นล้างด้วยน้ำจนสะอาด ผึ่งลมจนแห้ง จึงนำมาตัดเป็นรูปหนังตะลุงได้ |
![]() กรรมวิธีแกะหนัง |