![]() |
แหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ |
|
![]() วัตถุดิบ คือ ต้นกระจูดขนาดต่าง ๆ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของนาหรือผู้ประกอบการจะไปถอนมาจากบริเวณที่มีกระจูด การถอนนิยมถอนทีละ 2 - 5 ต้น วันหนึ่งคนหนึ่งจะถอนได้ประมาณ 10 - 15 กำป่า (1 มัดกระจูดที่มัดมาจากแหล่งกระจูดเรียก 1 กำปา โตขนาดลำต้นตาลโตนด) 1 กำปา นำมาแยกเป็นกำผืนได้ประมาณ 4 - 5 กำผืน (มัดกระจูดที่มี ปริมาณพอสานเสื่อได้ 1 ผืน เรียก 1 กำผืน) |
|
หมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ คือ |
|
1. หมู่บ้านทะเลน้อย ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งผลิตที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีการผลิตเครื่องกระจูดออกจำหน่ายตลอดปี มีการปลูกกระจูดขึ้นใช้เองในหมู่บ้านด้วย มีเนื้อที่ปลูกกระจูดไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ตำบลทะเลน้อย เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 5,000 คน ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมทะเลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา เรียกว่า "ทะเลน้อย" ตำบลทะเลน้อยเคยเป็นที่ตั้งอำเภอมาก่อน ชื่ออำเภอพนางตุง ต่อมาภายหลังได้ย้ายอำเภอไปตั้งที่ตำบลควนขนุน จึงเปลี่ยชื่อเป็นอำเภอควนขนุน อาชีพที่สำคัญของชาวทะเลน้อยคือการประมงน้ำจืดในทะเลสาบทะเลน้อย และการทำไร่ทำนาบริเวณที่ราบเหนือทะเลน้อยขึ้นไป ปลาน้ำจืดที่มีชุกชุมในทะเลน้อยคือ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาชะโค ในปัจจุบันนี้ การสานเสื่อกระจูด กำลังจะกลายเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวทะเลน้อย นอกเหนือไปจากอาชีพสำคัญสองประการที่กล่าวมาแล้ว การสานเสื่อกระจูดของชาวทะเลน้อยนั้นจะเริ่มสานกันมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏแต่มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมา การสานเสื่อกระจูดเป็นงานของผู้หญิงและคนแก่ในยามว่าง ในขณะที่ผู้ชายออกไปหาปลาและทำไร่ผู้หญิงและคนแก่จะทำงานบ้าน และสานเสื่อในยามว่างสำหรับเก็บไว้ใช้ในครอบครัว หรือสานเป็นกระสอบสำหรับใส่ข้าวสาร |
|
2. หมู่บ้านควนยาว ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งและเป็นที่ที่มีกระจูดขึ้นตามธรรมชาติมาก เคยเป็นแหล่งวัสดุของหมู่บ้านทะเลน้อย ก่อนที่จะมีกระจูดขึ้นใช้เอง |
|
3.หมู่บ้านบ่อกรัง ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพูนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้ผลิตไม่มากนัก ส่วนใหญ่นำกระจูดซึ่งมีมากไปจำหน่ายให้กับหมู่บ้านอื่นที่มีการประกอบการมาก |
|
4.หมู่บ้านสะกอม ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นแหล่งผลิตที่รับวัสดุมาจากหมู่ บ้านอื่นในเขตอำเภอจะนะและเทพาซึ่งมีกระจูดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ |
|
5. หมู่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นทั้งแหล่งผลิตและแหล่งวัสดุ |
![]() ประเภทผลิตภัณฑ์ |
![]() อุปกรณ์เครื่องมือ |