ตำนานความเป็นมา

         เครื่องถมนครศรีธรรมราช เป็นศิลปหัตถกรรมสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดมาตั้งแต่สมัยโบราณ คำว่า "เครื่องถม" จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้นิยายคำ "ถม" ว่า "เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมน้ำประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางามว่าเครื่องถมหรือถม เช่น ถมนคร ถมเงิน ถมทอง"

        "เครื่องถม" คือวัตถุที่ทำหรือประกอบขึ้นด้วยโลหะเงินและลงยาถม คำว่า "ยาถม" หมายความว่าสารเคมีที่มีโลหะเงินและเป็นส่วยผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘ ของน้ำหนัก

        เครื่องถมนครมีกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ราว พ.ศ.2061 แต่เรื่องที่มายังเห็นแย่งกันอยู่ บ้างว่าได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวโปรตุเกสเพราะชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่ได้รับอนุญาติให้เข้ามาทำการค้าขายในราชอาณาจักรไทยได้ 4 เมือง คือ กรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี และมะริด สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีความเห็นว่า ชาวนครศรีธรรมราชได้รับรู้เรื่องเครื่องถมจากชาวอินเดีย ศาสตราจารย์วิศาลศิลปกรรมว่า ยาถมไทยมิได้รับต้นตำรับจากประเทศใด เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยแท้ คือเกิดที่นครศรีธรรมราช และบ้างว่ารับมาจากอิหร่านบ้าง จากกรีกบ้าง จึงยังยุติไม่ได้

        .ในอดีต เครื่องถมนั้นถือว่าเป็นของสูงเหมาะจะเป็นเครื่องราชูปโภคของกษัตริย์หรืออย่างน้อยก็เป็นเครื่องยศของขุนนางชั้นสูง ทั้งยังใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการสำหรับกษัตริย์ต่างประเทศด้วย ทั้งนี้เพราะเครื่องถมแต่ละชิ้นนั้นเป็นเงินแท้ ทำด้วยกรรมวิธีที่สลับซับซ้อน ต้องใช้ความละเอียดประณีตมาก

        เท่าที่มีหลักฐาน ไทยเราใช้เครื่องถมเป็นเครื่องยศขุนนางมาตั้งแต่สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยพระนารายณ์มหาราชก็มีหลักฐานปรากฏว่ามีรับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจัดหาช่างถมที่มีฝีมือเข้าไปทำเครื่องถม ณ กรุงศรีอยุธยา เพื่อส่งไปบรรณาการแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรม แสดงว่าเครื่องถมนครนั้นมีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางเป็นอย่างน้อย

        เครื่องถมเมืองนครรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้นำพระเสลี่ยงหรือพระราชยานถม และพระแท่นถมสำหรับออกขุนนางขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) ก็ได้นำเรือพระที่นั่งกราบถม กับพระเก้าอี้ถมซึ่งใช้เป็นพระที่นั่งถัทรบิฐขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายครั้นมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) ทำพระแท่นพุดตานถมถวาย สำหรับตั้งในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาประสาท

        เครื่องถมนครที่ทำด้วยเงินแท้ นั้นมีอยู่ 2 ชนิดคือ ถมดำและถมทอง ถมดำนั้นมีลวดลายยเป็นสีเงินบนพื้นดำ ส่วนถมทองก็มีลวดลายเป็นสีทอง ซึ่งเกิดจากการใช้ทองคำผสมกับปรอททาบนผิวเครื่องถมแล้วนำไปรมความร้อนให้ปรอทระเหยไปหมด ทองคำก็จะติดกับเนื้อเงินแน่นเป็นลวดลายตามต้องการ ไม่หลุดลอก ส่วนพื้นที่ถมลงไปก็ยังเป็นสีดำเหมือนเดิม เครื่องถมของนครศรีธรรมราชนั้นเป็นเครื่องถมคุณภภาพเยี่ยมโดยแท้

        การทำเครื่องถมนครมี 2 แบบ "ลงยาถม" ที่เรียกว่า "ถมเงิน" อย่างหนึ่ง และแบบ "ลงยาสี" ที่เรียกว่า "ถมทอง" หรือ "ถมตะทอง" อีกอย่างหนึ่ง โดยแบบแรกทำมาแต่โบราณส่วนแบบหลังเพิ่งมีในชั้นหลัง


ขั้นตอนการทำ